แผนบริหารราชการแผ่นดิน และแผนพัฒนากฎหมายเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร


การมีแผนบริหารราชการแผ่นดิน และการพัฒนากฎหมาย เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้องคาพยพของรัฐ เดินไปในทิศทางเดียวกัน

      แผนบริหารราชการแผ่นดินและแผนพัฒนากฎหมายเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร          

          ช่วงบ่ายของการอบรม นบก. วันที่ 24 เม.ย. 2549 ( 13.00-16.00 น.) เป็นการบรรยายหัวข้อวิชา "แผนบริหารราชการแผ่นดิน และแผนพัฒนากฎหมายเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร"  โดย  ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์..... รุปสาระสำคัญเพื่อการ ลปรร. ได้ดังนี้

                          ศ.ดร.สมคิด  เลิศไพฑูรย์     

  • สาระสำคัญของแผนบริหาราชการแผ่นดิน

        1. ประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนบริหารราชการแผ่นดิน

                  รัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ  ได้ตรา พรฎ. แผนบริหารราชการแผ่นดิน  รัฐบาลทุกรัฐบาล ต้องมีการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน  เดิมไม่ใช่ไม่มีแผน แต่มีแผนของสภาพัฒน์ ซึ่งแผนดังกล่าว รัฐไม่มีส่วน และวางนโยบาย จึงเป็นแผนนิ่ง (Plan แล้วนิ่ง ) ไม่มีการนำไปปฎิบัติ รัฐบาลชุดที่แล้ว จึงได้นำเสนอว่า เพื่อให้ประเทศไทย เดินไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด จำเป็นต้องมีหัวเรือใหญ่ รัฐบาลจำเป็นต้องมีแผนบริหาราชการแผ่นดิน  ฝ่ายประจำก็ต้องมีแผนปฎิบัติราชการ 4 ปี (กระทรวง,กรมฯ)  และแผนปฎิบัติราชการรายปี (งบประมาณ)  โดยแผนบริหารราชการแผ่นดิน ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หลัก 9 ประเด็น คือ  

              1) การขจัดความยากจน

              2) การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ

              3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้

              4) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              5) การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

              6) การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

              7) การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการทางสังคม

              8) การรักษาความมั่นคงของรัฐ

              9) การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตโลก

        2. การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 

            มีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ได้แก่  การปรับปรุงกฎหมาย การพัฒนาระบบราชการ การป้องกันและปราบปราบการทุจริต  การเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้ภาคเอกชนและสังคม

         3. กำหนดให้หน่วยราชการพัฒนากฎหมาย  ปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้ระบบราชการดีขึ้น 

             ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ได้แก่

            1) ขอให้กระทรวงฯ ทบวง กรมฯ ตรวจสอบ กม. ที่อยู่ในความดูแล แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก

            2) กม.ที่ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว ให้ยกเลิก

            3) กม.ที่เขียนขึ้นและสร้างภาระให้กับประชาชนโดยไม่จำเป็น ให้ลด ,ยกเลิก

            4) กม.ที่ควรลดเลิก ควบคุมธุรกิจ ที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ

            5) ลดเลิกกฎหมายที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน

            6) แก้ไขเพิ่มเติม ขจัดความยากจน

            7) ลด เลิก กม. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

            8) ปรับปรุง กม. เพื่อเอื้อต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

            9) แก้ไขปรับปรุง กม. หรือ กระบวนการทุจริตประพฤติมิชอบ

         10) ปรับปรุง กม. ตามนโยบายแห่งชาติว่าด้วย..............

         11) จัดทำระบบตรวจสอบตามความจำเป็นในการตรากฎหมาย

         12) จัดทำระบบการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 7,9 และ 11

         13)  ลด เลิก หรือ แก้ไขกระบวนการหรือขั้นตอนที่ล้าช้า หรือไม่จำเป็นตาม กม.

         14) จัดทำระบบรับฟังความคิดเห็นในการตรา หรือเพิ่มเติม กม. 

         15. จัดทำระบบการทบทวน กม. โดยรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นระยะๆ ตามมาตรา 35

         16. รวบรวมบทบัญญัติ กม. เรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน

         17. ยกเลิกใบอนุญาต  อนุญาตโดยไม่จำเป็น  

          -สิ่งที่รัฐบาลอยากให้ กระทรวง กรมฯ ทำ คือ ช่วยดู กม. /พรฎ /ระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ว่าเข้าข่าย 17 อย่างที่กล่าวมาแล้วหรือไม่  และทำการปรับปรุงแก้ไข

  • สาระสำคัญของพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 

       1. การบริหารราชการส่วนกลาง  

        -กรม  จะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่มีสิทธิหน้าที่เป็นของกรมเอง  สิทธิหน้าที่จะเป็นของกระทรวง  คน งาน เงิน เป็นของกระทรวง  ไม่ใช่ของกรมอีกต่อไป   ยุบเลิกการเป็นนิติบุคคลของกรม  ย้ายการบริหารฐานกรม  ไปสู่  ฐานกระทรวง  ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพขึ้

        2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

           -ก่อนปี 46   ราชการส่วนกลางใหญ่มาก งาน เงิน คน อยู่ที่กรมเยอะมาก  ควรไปอยู่ภูมิภาคมากขึ้น 

            -ควรหาเจ้าภาพมาดูแล  งาน เงิน คน บูรณาการในพื้นที่ให้ได้  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นเจ้าภาพ ( CEO )

        คำถาม     เราควรเป็น CEO   อ่อนๆ หรือ แก่ๆ        

        1 ตค.46  ก่อนมี พรบ. ฉบับนี้  -  เป็น CEO อ่อนๆ   ให้ กระทรวง กรม เอางานให้ผู้ว่าฯ ส่งให้จังหวัดทำ  ออกระเบียบมอบอำนาจ และให้ผู้ว่ามอบต่อส่วนราชการ  แต่งานยังเป็นของกรม แต่ต้องมอบผ่านผู้ว่าฯ ให้ผู้ว่าฯ มอบต่อ   ให้จังหวัดมีงบฯ กลาง  ถ้าจังหวัดมีเงินเหลือ ให้ผู้ว่าใช้เงินเหลือจ่ายได้  ให้ผู้ว่าฯ เสนอแนะกรมได้ เรื่องขั้น เงินเดือน 

         พรบ.ฉบับนี้   -  จาก CEO อ่อนๆ   ต้องแก่ขึ้นอีกหน่อย 

          -มาตรา 59  ระบุ ให้จังหวัดเป็นส่วนราชการด้วย จังหวัดเป็นหน่วยรับงบประมาณ มีงบประมาณของจังหวัดได้

          -มาตร 63  ให้จังหวัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัด  เมื่อแผนได้รับอนุมัติ ให้จัดตั้งงบประมาณให้ชัดเจน

          -มาตรา 59 วรรค 3  ให้ส่วนราชการในจังหวัด เป็นราชการส่วนภูมิภาค

          -มาตรา 61  (6)   ให้ผู้ว่าฯ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาค

          -มาตรา 64 วรรค 1  ให้จังหวัด สามารถแบ่งส่วนราชการได้อีก  จัดตั้งหน่วยบริการของจังหวัด แทนส่วนราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคในเขต จังหวัด  ให้ผู้ว่าฯ ดึงอำนาจ กระทรวง กรม มาได้  ให้นายกฯ ดึงอำนาจของรัฐมนตรีทุกคนมาได้

          -มาตรา 66     ให้ผู้ว่าฯ  มีอำนาจ 1. แต่งตั้งข้าราชการไปดำรงตำแหน่งอื่นที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ที่อยู่ในระดับเดียวกัน และจังหวัดเดียวกันได้  2. พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการในจังหวัด 

  • สาระสำคัญของ ร่าง พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน    

          1. ยกเลิกระบบ ซี  -  ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแทน โดยแบ่งข้าราชการออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  1. กลุ่มบริหาร  ( C 10-11 )   2. กลุ่มอำนวยการ  3. กลุ่มวิชาการ  4.กลุ่มทั่วไป   

          2. การรับสมัครเข้ารับราชการ  -  ปรับปรุงระบบสรรหา บรรจุแต่งตั้ง โดยใช้ระบบสมรรถนะ  และกำหนดให้มีการรับข้าราชการจากคนภายนอกได้ด้วย โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง C10 - C11  

          3. มีระบบการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ แยกจาก ระบบวินัย  เดิม ก.พ. ดูแลทั้ง 2 ระบบ  เปลี่ยนเป็น  ก.พ. ดูแลเรื่องวินัย  กพธ. (คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม  มี 7 คน ) ดูแลเรื่อง การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และสามารุอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดได้เลย    

  • สาระสำคัญของร่าง พรบ.วิธีการงบประมาณ

         1. การจัดสรรงบประมาณ    จัดสรรไปที่กระทรวงเท่านั้น  ไม่จัดสรรไปที่กรม เพราะกรมไม่ได้เป็นนิติบุคคล  มี 2 วิธี  1.1 จัดสรรให้กระทรวง  กระทรวงจัดสรรให้กรม  1.2 จัดสรรให้กระทรวง  แต่ล็อกโควต้าให้กรม  

         2. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดโดยตรง

         3. ในอนาคต จะจัดสรรงบฯ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เดิมมีการจัดสรรผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

         4. จัดสรรงบประมาณให้กระทรวง ทบวง กรม โดยจัดสรรตามยุทธศาสตร์  3  ด้าน   1. นโยบายรัฐบาล 2.อำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม 3. ตามพื้นที่  เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีการจัดสรรงบฯ ตามแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน

          สรุป....การมีแผนบริหารราชการแผ่นดิน และการพัฒนากฎหมาย เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้องคาพยพของรัฐ เดินไปในทิศทางเดียวกัน  ในปี 2 ปีนี้ มีจุดร่วมกัน คือ ให้มีการพัฒนา กม.  ทิศทางโดยรวม เป็นทิศทางที่น่าจะถูกต้อง  แต่อาจจะกระทบต่อท่านที่อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม  การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะดีขึ้น หรือเลวลง  คนจะไม่ค่อยชอบ  การทำงานดีขึ้น แต่ข้าราชการเหนื่อยมากขึ้น ผลประโยชน์คน และองค์กรไม่ได้ไปด้วยกัน  โดยรวมหลักการที่รัฐบาลพยายามพัฒนา กม. เป็นสิ่งที่ดี.....คุณูปการ ของรัฐบาล....  คือ การปฏิรูประบบราชการ....

         

หมายเลขบันทึก: 28294เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท