6 ปัญหาป่วนสมอง เมื่อเจ้านายไม่ฟังลูกน้อง


บทความ

 6  ปัญหาป่วนสมอง  เมื่อเจ้านายไม่ฟังลูกน้อง

โดย  :   อริญญา  เถลิงศรี

บนโลกการทำงานเรื่องการบริหารคนซับซ้อนมากทุกที  ปัญหาสำคัญ คือ การ

ไม่รับฟังความคิดเห็น  โดยเฉพาะหัวหน้ากับลูกน้องที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมา  ทำให้ไม่ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ในการทำงาน  และนับวันยิ่งใส่ เกียร์ถอยหลัง และ เกียร์ว่าง  แล้วหน่วยงานจะเหลืออะไร ?  

                   ปัญหาอย่างมากในการจัดการทรัพยากรซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม  คือ

ผู้บังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ ไม่ฟังความคิดเห็นของลูกน้อง  โดยอาจจะมาจาก 6 ปัจจัย ดังนี้

                                1.  ลูกน้องไม่เก่งพอ   ทำให้หัวหน้าไม่ค่อยรับฟัง เพราะมีความรู้สึกว่าฟังเท่าไร

ก็ฟังไม่ขึ้น  ดังนั้น  วิธีแก้ไขคือ ผู้บังคับบัญชาต้องคุยโดยตรงและเจาะจงในปัญหาที่ลูกน้องต้องแก้ไข

                                2.  หัวหน้ายึดในประสบการณ์ตนเองอย่างเดียว   เนื่องจากโดยส่วนตัวอาจจะเคย

ทำงานโดยวิธีการเดิมแล้วประสบความสำเร็จ  ทำให้ไม่ค่อยรับฟังความคิดคนอื่น  ซึ่งแก้ไขได้โดยหัวหน้าต้องเตือนตัวเองเสมอว่า  สิ่งที่เคยทำดีแล้วย่อมเป็นแนวทางที่คุ้นเคย แต่มีวิธีอื่นอีกไหมที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกโดยปราศจากทัศนคติของตน

                                3.  หัวหน้าเป็นคน  Perfectionist  กลัวความผิด และไม่ยอมรับความเสี่ยง เมื่อมอบหมายงานจึงต้องลงรายละเอียดปลีกย่อย  แก้ไขโดยผู้บริหารต้องทบทวนตนเองว่า ในรายละเอียดปลีกย่อยที่ตนเองมุ่งเน้นมักมากเกินไปหรือเปล่า  จึงควรปล่อยให้พนักงานทำเองเพื่อความอิสระในการทำงานบ้าง

                                4.  สไตล์หัวหน้าเป็นคนไม่ชอบฟังใคร  เป็นปัจจัยที่แย่มากและต้องใช้เวลาในการแก้ไข  โดยพยายามชี้ให้เห็นถึงข้อดีในการเป็นผู้ฟังที่ดี  ซึ่งหากทำได้จะเป็นแรงจูงใจให้กับบุคลากรอยากทำงานด้วย

                                5.  หัวหน้ามีความเชื่อมั่นในตนเองสูง  เพราะยิ่งมีตำแหน่งมากเท่าไรจะชื่นชมความคิดของคนอื่นน้อยลง หนทางแก้ไข  ผู้บริหารต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดว่า ตนต้องพยายามเรียนรู้ตลอดเวลา และมองให้เห็นข้อดีที่เกิดขึ้นเมื่อลูกน้องเสนอความคิด

                                6.  ปัญหาเรื่องกระบวนการในการฟัง  มีคนบางกลุ่มที่ Hearing  but not Listening

มีปัญหาในกระบวนการย่อยข้อมูล  ทำได้แค่ได้ยินคนอื่น  แต่ไม่มีกระบวนการในการกรองข้อมูล

นำมาคิดเอาไปต่อยอด  เช่น ลูกค้าโทรมาบอกว่าไม่พอใจในการบริการ คนที่ไม่รู้จักกรองข้อมูลก็ไม่คิดอะไร  แต่คนที่รู้จักกรองข้อมูลกลับคิดว่า  ลูกค้าโทรมาไม่พอใจกี่ครั้งแล้ว น้ำเสียงเป็นอย่างไร  วิธีการแก้ปัญหาคือ  บอกผู้มีปัญหาตรง ๆ เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน

 

                                การที่หัวหน้าไม่ฟังลูกน้องอาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุเดียว  แต่ต้องมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาทีละจุด  ขณะที่หัวหน้าต้องมองให้เห็นถึงผลเสียที่ไม่ฟังคนอื่น เพราะหากบรรยากาศในที่ทำงานดีเท่าไร  ย่อมเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากเท่านั้น

 

ที่มา  :  SIAMHRM.COM

คำสำคัญ (Tags): #hr
หมายเลขบันทึก: 282723เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ชีวิต บางครั้ง ต้อง ทำใจ ครับ

ปัญหาระหว่างเจ้านาย กับลูกน้อง ถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงาน เพราะถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมาก้อจะทำให้ การทำงานเกิดปัญหาขึ้นได้ ขอบคุณนะคะสำหรับบทความดีๆ

เจ้านายกับลูกน้องมองกันคนละมุม ยืนกันคนละด้าน ย่อมเกิดปัญหาแน่นอน เพราะเห็นและคิดไม่เหมือนกัน ลองเปลี่ยนวิธีสิ นั่งคู่กัน มองตรงจุดเดียวกัน แล้วช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ปัญหา รับรอง 6 ปัญหาป่วนสมองลูกน้องกับเจ้านายไม่เกิดแน่

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชมผลงานค่ะ

P  P  P P P P

คนเราต้องเชื่อฟังซึ่งกันและกัน งานถึงจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้

ก็ไม่ต้องมีนายจะดีมั๋ยเนี่ย ปวดหัวนะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมผลงานจ้ะ

ใช่เลย ชีวิตของการเป็นลูกน้อง

ที่ทำงานก็เหมือนกันครับความคิดผู้เป็นนายถูกเสมอ ถึงแม้สิ่งนั้นๆที่เค้าสั่งมันจะผิดก็ต้องทำ เหมือนรถติดล่ม ลูกน้องพูดว่าเข้าไม่ได้ดินยุบรถจะติด แต่เค้าบอกขับมาเลยฉันให้ขับเข้า สุดท้ายรถก็ติดเสียเวลาครับ..ฟังควาคิดเห็นลูกน้องบ้างก็ได้ครับ คุณได้ไม่เหนื่อยมาก(คนที่จะเป็นนายคนต้องสร้างทั้งอำนาจและบารมีสิครับ นายเรามีแต่อำนาจบารมีไม่รู้อยู่ไหนครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท