นวัตกรรมกับการทำงานเพื่อพนักงานบริการ ??


นวัตกรรมกับการทำงานเพื่อพนักงานบริการ ??

 

หลายครั้งที่ เราโดนตั้งคำถามว่า อะไรคือ นวัตกรรม ของการทำงานเพื่อพนักงานบริการ ?? จากหน่วยงานหลายหน่วยงานทั้งที่เป็นหน่วยงานให้ทุนและหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน ทั้งที่เป็นภาครัฐและเอกชน ?? เมื่อเราโดนตั้งคำถามแบบนี้ หลายครั้ง เราก็ต้องทำหน้างง  ๆ กลับไปแทนที่จะให้คำตอบ ..

งานที่ทำเพื่อจัดเพื่อ พนักงานบริการ นั้น โดยส่วนตัวมองว่า หากใคร หรือ องค์กรใด หน่วยงานใด คิดริเริ่มลงมือทำและทำอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ นวัตกรรม เพราะ การสร้างทัศนคติใหม่ ๆ หรือ ความพยายามที่จะเปลี่ยนมุมมองที่มีมาอย่างหนาและเกาะแน่นยิ่งกว่าสนิมในหัวในกรอบคิดของใครหรือองค์กร หน่วยงานใด นั้น เป็นเรื่องยากมาก นวัตกรรม บางชนิด อาจเกิดขึ้น และ ใช้เวลานาน กว่าจะเป็นที่ยอมรับ และ กลายเป็นเรื่องเก่าล้าสมัย ?? แต่กับการทำงานกับคน ดดยเฉพาะอย่างยิ่ง พนักงานบริการด้วยแล้ว เรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไปไม่มีวันเก่า มันยังคงสภาพความเป็นนวัตกรรมต่อไปอย่างยาวนาน จนกว่า คนจะเลิกมองพนักงานบริการแบบแบ่งชนชั้น หรือ ตั้งท่าทีกันท่า

เมื่อสังคมเปลี่ยนไปรูปแบบการเข้ามาเป็นพนักงานบริการกลับไม่เปลี่ยนไปเท่าไหร่ ที่จะเปลี่ยน ก็เห็นทีจะเป็นเรื่องของช่องทางสื่อสารเสียมากกว่า แต่สิ่งที่ใช้ได้ดีกับการทำงานเพื่อให้เข้าถึงพนักงานบริการกลับต้องใช้วิธีการเดิม ๆ คือการเข้าหา พูดคุยแบบจับเข่าคุย ยิ่งรุกเข้าถึงตัวมากเท่าไหร่ ยิ่งทำงานได้ประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

บางทีหลายคนหลายหน่วยงานอาจจะกำลังหลงทาง เอามาตรฐานการคิดค้น การเกิดขึ้นของนวัตกรรมจากที่อื่น ๆ มาวางบนมาตรฐานที่แตกต่างกันในสังคม โดยจะใช้มาตรฐานเดียวกันนั้นในบางครั้งอาจจะไม่สามารถทำได้เสียทีเดียว เพราะ ความแตกต่างของวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม และ สภาพแวดล้อม ความกดดันต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ความ้องการย่อมแตกต่างกันไปด้วย ในกลุ่มพนักงานบริการ งานที่ หลายคนกำลังพยายามทำ พยยามเริ่ม คือ การคิดค้นรูปแบบวิธการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานบริการ ให้ได้รับการยอมรับและมีความเท่าเทียมกับคนในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ภายใต้ แนวคิดที่บอกว่า ทุกอาชีพ ก็คือการเลี้ยงชีพการยังชีพตามปกติของคน ๆ หนึ่งเท่านั้น อาชีพใด ก็ความได้รับการสนับสนุนคุ้มครองในด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกั

นวัตกรรมที่จะนำมาใช้กับการทำงานเพื่อพนักงานบริการ อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญเสียทีเดียว แต่ที่สำคัญมากยิ่งกว่า คือ โอกาสที่จะเปิด จะหยิบยื่นให้เกิดการทำงานในกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำงานเพื่อพนักงานบริการ ทั้งพนักงานบริการที่ลุกขึ้นมาทำงานเพื่อเพื่อนกันเอง หรือ องค์กรหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ความสนและก้าวเข้ามาทำงานเพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานบริการ ดังนั้นจึ้งไม่ควรหลงทางและเรียกร้องหานวัตกรรมในขณะที่ ทัศนคติของสังคมยังไม่เปลี่ยนแปลง จะมัวมารอให้นวัตกรรมเกิดขึ้นแล้วตายลงในขณะที่ ยังไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมให้คนที่ทำงานอยู่เดิมได้ใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ครบถ้วนตามกระบวนการตามขั้นตอนเสียก่อน ซึ่มันอาจจะช้าเสียหน่อย แต่ก็ต้อเข้าใจตามหลักการทฤษฎีของการทำงานกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ดดยเฉพาะประเด็นท้าทายคือ การทำงานเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคนเพื่อให้เกิดการยอมรับและให้โอกาสอย่างเปิดกว้างและอดทนรอด้วยความใจเย็นเพื่อรอดูการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแม้ว่าจะช้าไปบ้างก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 282582เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท