World cafe ในทรรศนะของผม


World cafe



....................World cafe..................


สวัสดีครับ วันนี้เพิ่งอ่านหนังสือ world cafe ภาคภาษาไทยจบครับ หลังจากสั่งซื้อมาทาง internet เมื่อวันจันทร์ จากสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เขียนโดยฆวนนิต้า บราวน์ และ เดวิด ไอเซคส์

ใน หนังสือได้เล่าถึงวิธีการเตรียมตัวจัดงาน world cafe สิ่งที่ควรปฏิบัติใน world cafe และ ตัวอย่างกรณีศึกษามากมายจากผู้รู้ในองค์กรต่างๆ

แต่ที่ผมอยากจะบอกเล่าหลังจากได้แนวคิดจากหนังสือ คือ ผมลองกลับมามองเมืองไทยของเรา ที่ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีทรับยากรมากมาย เป็นครัวของโลก มีปราชษ์ ผู้รู้ ผู้มีคุณธรรม พ่อแม่ ครูบาอาจารย์มากมาย มีวัฒนธรรมดีงามมากมาย แต่บางทีเราก็จะได้ยินว่า บ้านเราถึงทางตัน บ้านเรากำลังแตกแยก แบ่งเป็นหลายฝ่าย


กำลังเกิดอะไรขึ้น กระแสโลกาภิวัฒน์กระหน่ำเรามากไปหรือ บริโภคนิยมแฟชั่น เศรษกิฐฉุดรั้ง โลกร้อน อากาศแปรปรวน เป็นสาเหตุหรือเปล่า

เราได้ยินคำว่าสามัคคี สมานฉันท์จนคุ้นชิน แต่ทำไมรู้สึกว่าปัญหาต่างๆยังกัดกร่อนประเทศราวสนิมเหล็กที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่ายๆ

หรือว่าสาเหตุ หรือ รากของปัญหาอยู่ที่เราไม่ค่อยคุยกันอย่างมีอารยธรรม ไม่เปิดใจรับฟังกันอย่างแท้จริง ฟังแบบแกนๆ หูฟังแต่ใจกลับไปไกลสุดประมาณ ไม่ดำรงสติเฉพาะหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติ

ผมมองว่า ถ้าเราพูดคุยกันอย่างแกนๆ ทุกปัญหาก็จะกลายเป็นปัญหาส่วนตัว ไม่มีการคิดเชื่อมโยง ยึดติด มานะ อัตตา หรือการไม่รู้เท่าทันการก่อตัวของพายุกิเลสในจิตใจ

แต่ถ้าเราน้อมนำหลักพุทธศาสนา ในเรื่องความเมตตา ไม่มีอคติ ลดละ อัตตา ตัวตน รับฟังกันอย่างลึกซึ้ง อาจไม่ต้องใช้เครื่องมืออย่าง world cafe, dialouge อย่างคล่องแคล่ว เราก็น่าจะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง บริโภคอย่างพอเพียง เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

รับฟังด้วยใจ เปิดประตูใจให้กว้างๆ

คิดอย่างสร้างสรรค์และหาแนวทางปฏิบัติให้เิกิดขึ้นจริง รู้จักปล่อยวางความคิดอคติส่วนตัวให้เป็น ไม่มองผู้อื่นเป็นศัตรู

เกิดสังคมการเรียนรู้ที่ลดความเหลื่อมล้ำได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ทุกปัญหานน่าจะมีทางออกที่ทุกคนพอใจ หรืออย่างน้อยก็ไม่รุนแรงมากเกินไป

ถึงแม้จะเหลื่อมล้ำ แต่ก็พร้อมจะเรียนรู้เติบโตไปด้วยกัน คำว่าความเหลื่อมล้ำก็อาจไม่มีความหมาย

ที่น่าดีใจคือมีผู้รู้ สถานศึกษา ครูบาอาจารย์ สื่อแขนงต่าง และ ชุมชนคนปฏิบัติเริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาที่ผมกล่าวถึงมากขึ้น

ประเทศเราอาจไม่ใช่ประเทศที่พัฒนามากที่สุด แต่เป็นประเทศที่พัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบต่อโลกสีฟ้าของเรา และ พร้อมจะก้าวไปด้วยกันกับประเทศอื่นๆครับ

 

หมายเลขบันทึก: 282203เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ภูมิใจในข้อเสนอของท่านมากครับ
  • ขอเป็นกำลังใจนะครับ

สวัสดีค่ะ

พิมพ์เป็นครั้งที่สองค่ะ โพตส์ไม่ได้...พิมพ์คอมเม้นท์เสียยาวเลย  สงสัยเป็นข้อความที่ตรงเกินไป จึงไม่ควรให้ปรากฎ...55555....

งั้นรวบรัดตัดความค่ะ...

วิทยากรใหม่ ๆ (อาจเก่าแล้วจากประเทศต้นคิด) ที่รับมานั้น ดีทุกศาสตร์ ตั้งแต่ QC ISO PSO KM Contemplative Education สุนทรียสนทนา ....ฯลฯ

เพียงแต่...ให้เราใตร่ตรอง ทำอย่างจริงจัง พัฒนาไม่หยุดยั้ง อย่าทำเพียงแค่ตามนโยบาย ไฟไหม้ฟาง...

ตามมาขอบคุณที่กรุณาให้เกียรติคนไม่มีรากเสนอชื่อติด ๆ กันหลายครั้ง แม้จะไม่เข้ารอบเลย...คงไม่กล้าสัญญาว่าจะพยายามทำให้ดี ไม่ให้คนเสนอชื่อผิดหวัง แต่ส่วนตัวเขียนบันทึกทุกครั้งด้วยสำนึกของความรับผิดชอบต่อข้อเขียนของตัวเอง ไม่ได้คิดที่จะเขียนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน หากต้องขัดกับความรู้สึกนึกคิดค่ะ (อัตตา มานะใหญ่โตจัง)

ขอบคุณทุกเหตุปัจจัยที่ทำให้เราได้สังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

ระลึกถึงค่ะ

(^___^)

ดีจังครับ จะหามาอ่านบ้างเเล้วครับ

เป็นหนังสือที่น่าสนใจครับ

วันนี้ก็จะไปทำ world cafe ให้พี่เลี้ยงสุขภาพเหมือนกันครับ

คงนำแนวคิดที่คุณ Phornphon มา post ไปใช้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท