หลักสูตรการเรียนรู้เรื่องไข้เลือดออกสำหรับนักเรียน


เริ่มแต่เด็ก ๆ น่าจะได้ผลระยะยาว ๆ

สวัสดีครับพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ

         ไม่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบล๊อกของตัวเองมานานมาก  ได้แต่เรียนรู้จากผู้อื่นในช่วงหนึ่งที่ผ่านมา   กำลังเตรียม ๆ เรื่องอยู่ครับ   แต่วันนี้ขอเอาของเก่ามาเล่าก่อน  ผมเรียบเรียงหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกไว้นานแล้วครับ  ได้ใช้แล้วก็เห็นว่า ทำให้การเรียนรู้ของเด็ก ๆ มีสีสันดี

          หลักการก็คือว่า  อยากจะมีหลักสูตรเรียนรู้เรื่องนี้สำหรับเด็ก ๆนักเรียนให้มีความรู้เป็นการปลูกฝังแนวคิดตั้งแต่เด็ก ๆ โตขึ้นจะได้ไม่มาเป็นไม้แก่ดัดยาก   แล้วก็มุ่งที่ความยั่งยืนว่า เริ่มแต่เด็ก ๆ น่าจะได้ผลระยะยาว ๆ ครับ  หลักสูตรเน้นการมีส่วนร่วมและใช้กลวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เข้ามาผสมเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เด็กนักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและท้าทายที่จะเรียนรู้   ( หะคือว่าความเป็นจริงอาจไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่คุยไว้หรอกครับ ต้องพัฒนาปรับปรุงไปให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับบริบทในแต่ละที่ครับ )

หลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก                โดย นายสุมิตรชัย  คำเขาแดง  นักวิชาการสาธารณสุข

 

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคไข้เลือดออก

สาระสำคัญ          

                โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่อาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะโรคนี้มักเกิดแก่เด็กวัยเรียนอายุ 5 – 14 ปี เป็นส่วนใหญ่ จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้เพื่อสามารถปฏิบัติตัวป้องกันอันตรายจากโรค

จุดประสงค์

1.       บอกสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออกได้

2.       บอกอาการของโรคได้

3.       บอกวิธีการป้องกันโรคได้

4.       ปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ถูกต้องเมื่อตนเองหรือผู้อื่นมีไข้และสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้

เวลา ( นาที )

สื่อ

1. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Participatory Learning )โดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ( Experiential Learning ) ซึ่งใช้การบวนการกลุ่ม ( Group process )

  1.1 ผู้สอนบรรยายเรื่องโรคไข้เลือดออกในหัวข้อ ความ    หมาย สถานการณ์ การติดต่อ  อาการ การรักษา

1.2    ผู้สอนสอบถามประสบการณ์ที่นักเรียนเคยประสบด้วยตนเองหรือพบเห็นผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหรือการดำเนินการเพื่อป้องกันโรคในชุมชน

1.3    ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน ปรึกษาและหาข้อสรุปในหัวข้อเรื่อง สาเหตุการเกิดโรค อาการของโรค การป้องกัน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยอาจแบ่ง 1 กลุ่มต่อ 1 หัวข้อ

1.4    ผู้สอนเลือกกลุ่มเพื่ออภิปรายหน้าชั้นเรียน

1.5    ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนสรุปความคิดเห็น และผู้สอนเพิ่มเติมความรู้ตามหัวข้อเรื่องที่อภิปราย

 

 

 

5

 

 

 

10

 

 

 

10

10

10

 

 

 

-          แผ่นพับหรือโปสเตอร์, ยาลดไข้ ,เครื่องมือเช็ดตัวลดไข้

 

-          กระดาษสำหรับสรุปหัวข้อเรื่องที่ปรึกษา

 

 

การประเมินผล

1.       สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มและการรายงาน

2.       ตรวจผลงาน

 

บทที่ 2 ความรู้เรื่องยุงชนิดต่าง ๆ และวงจรชีวิตยุงลาย

สาระสำคัญ          

                ยุงมีหลายชนิด แต่ละชนิดสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่างชนิดกัน ยุงที่นำโรคไข้เลือดออกคือยุงลายซึ่งมี 2 ประเภท คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน ยุงลายบ้านอันตรายที่สุดเพราะมีโอกาสนำโรคไข้เลือดออกแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นบริเวณกว้าง

จุดประสงค์

1.       บอกชนิดของยุง ลักษณะความแตกต่างของยุงแต่ละชนิดได้

2.       บอกชนิดของโรคที่ยุงแต่ละชนิดเป็นพาหะได้

3.       บอกลักษณะวงจรชีวิตของยุงลายได้

4.       บอกลักษณะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้

เวลา ( นาที )

สื่อ

1. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Participatory Learning )โดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ( Experiential Learning ) ซึ่งใช้การบวนการกลุ่ม ( Group process )

  1.1 ผู้สอนบรรยายเรื่องยุงชนิดต่าง ๆ ลักษณะ และการเป็นพาหะนำเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ

1.2    ผู้สอนสอบถามประสบการณ์ที่นักเรียนเคยรู้และสังเกตลักษณะของยุงประเภทต่าง ๆ

1.3    ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน

1.4    ผู้สอนให้กลุ่มทั้งหมดอภิปรายหน้าชั้นเรียน

1.5    ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนสรุปความคิดเห็น และผู้สอนเพิ่มเติมความรู้ตามหัวข้อเรื่องที่อภิปราย

 

 

 

10

 

 

5

10

 

10

 

10

 

 

 

-          แผ่นพับหรือโปสเตอร์ ,รูปวาด

 

 

 

-          ใบงานที่ 1 - 4

 

 

การประเมินผล

1.       สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มและการรายงาน

2.       ตรวจผลงาน

 

 

 

 

 

ใบงานที่ 1

ลักษณะของยุงประเภทต่าง ๆ

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม  กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์จากที่บ้านดังนี้

3.1    ขวดกลมหรือขวดโหลใส

3.2    ผ้าชนิดบางสำหรับปิดปากขวดหรือขวดโหล พร้อมยางหรือเชือกรัดผ้า

3.3    ยุงชนิดต่าง ๆ ที่นักเรียนสามารถจับใส่ในขวดได้ทั้งประเภทที่มีชีวิตอยู่หรือตายแล้วก็ได้

4.       ให้นักเรียนสังเกตยุงแต่ละชนิดแล้วบันทึกไว้ในสมุดส่วนตัว

5.       ให้นักเรียนเลือกตัวแทนกลุ่มอภิปรายผลการสังเกต

 

 

 

ใบงานที่ 2

วงจรชีวิตยุงลาย

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์จากที่บ้านดังนี้

3.1    ขวดกลมหรือขวดโหลใส 2 ขวด ใส่น้ำลงไปครึ่งขวด โดยขวดที่ 1 ใส่น้ำฝน  ขวดที่ 2  ใส่น้ำประปา และเขียนป้ายบอกชนิดของน้ำที่ใส่ไว้ข้างขวด

3.2    ตักลูกน้ำใส่ในขวด ขวดละ 5 ตัว

3.3    ให้นักเรียนนำขวดน้ำที่ใส่น้ำและลูกน้ำแล้ว  วางไว้ในห้องเรียนและสังเกตการเปลี่ยนแปลงทุกวันพร้อมจดบันทึกทุกวันจนครบ 7 วัน

4.       ให้นักเรียนเลือกตัวแทนกลุ่มอภิปรายผลการสังเกต

 

 

 

 

 

 

 

ใบงานที่ 3

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์จากที่บ้านดังนี้

3.1    นำภาชนะ เช่น แก้วน้ำ ขันน้ำ กระป๋อง กะลามะพร้าว จำนวน 3 ภาชนะ ใส่น้ำพอประมาณ วางไว้ที่ต่าง ๆในบ้านนักเรียน ดังนี้  1. ภายในบ้าน 2. บริเวณรอบบ้าน 3. ในห้องน้ำ

3.2    สังเกตการเปลี่ยนแปลงทุกวันจนครบ 7 วัน

4.       ให้นักเรียนเลือกตัวแทนกลุ่มอภิปรายผลการสังเกต

 

 

ใบงานที่ 4

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       เดินสำรวจค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านเรือนและชุมชนที่นักเรียนอยู่อาศัย

4.       บันทึกรายละเอียดภาชนะที่พบเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ตามหัวข้อต่อไปนี้

4.1    ขนาดภาชนะ

4.2    ปริมาณน้ำในภาชนะ

4.3    บริเวณที่ตั้งภาชนะ

4.4    จำนวนลูกน้ำ ให้ระบุว่า  น้อยกว่า หรือ มากกว่า 10 ตัว

5.       ตัวแทนกลุ่มน้ำเสนอด้วยภาพวาดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงประกอบผลการสำรวจค้นหา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 3 การกำจัดยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีต่าง ๆ

สาระสำคัญ          

                การจะป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผล ประการสำคัญคือต้องกำจัดยุงลายไม่ให้มีปริมาณมากหรือต้องไม่พบลูกน้ำยุงภายในบ้านเรือนแม้แต่ตัวเดียว ส่วนการกำจัดยุงลายนั้นมีหลายวิธีทั้งวิธีที่ใช้สำหรับกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย, วิธีกำจัดตัวอ่อนของยุงลาย ( ลูกน้ำ ) รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยุงลายมีโอกาสวางไข่แพร่พันธุ์ในบริเวณที่พักอาศัย

จุดประสงค์

1.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยได้

2.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการกำจัดลูกน้ำยุงได้

3.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการก

หมายเลขบันทึก: 280952เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะน้องซูเปอร์แมน

 

มาอ่านความรู้ เพื่อเตรียมตัวสอบวันพฤหัสนี้ค่ะ อิ อิ  ... 

ดีใจได้อ่านบันทึก และทราบข่าวคราวของซูเปอร์แมนนะคะ

ชื่นชม ยินดีที่น้องหลงรักงานนี้ซะเต็มใจแล้ว ...  มีความสุขมากๆ ค่ะ

 

สวัสดีครับ...

สบายดีใช่ไหม
อ่านแล้วได้แนวคิดที่จะต้องสร้างกระบวนการกับนิสิตหอพัก  คงไม่ใช่แต่เพียงเพราะฉีดพ่น..และจัดการกับที่เพาะพันธุ์ ฯ อย่างเดียว

แต่การรณรงค์ให้นิสิตหอพัก สร้างกระบวนการป้องกันและกำจัดยุงลายด้วยตนเอง น่าจะเป็นทางออกที่ถูกต้องที่สุด

เป็นกำลังใจให้ นะครับ

สวัสดีค่ะน้องซูเปอร์แมน

เป็นไงบ้างเอ่ยคะ การงาน ความรัก และชีวิต

คงสบายดีตามวิถี เช่นเคย เป็นกำลังใจนะคะ

 

หลักสูตรนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออกและมีประโยชนือย่างมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท