ก.สาธารณสุขแนะ วัคซีนหวัด2009


ยรัฐ 28 กรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "สธ.ชงของบเพิ่ม 626 ล้าน รับมือหวัดระบาด" ผู้เขียนขอนำมาเล่ากันฟัง [ ไทยรัฐ ]

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากบทความนี้ เรียนเสนอให้แวะไปชมเว็บไซต์ "ไทยรัฐ" เพื่อให้กำลังใจสื่อมวลชนไทยที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ กันครับ [ ไทยรัฐ ]

...

[ ข้อความคัดลอก ] > [ ไทยรัฐ ]

กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.  ขอเพิ่มงบกลาง 626 ล้านบาท ระดมทำกิจกรรมรับมือหวัดใหญ่ 2009  ขณะ สถานการณ์หวัดมรณะ ซาอุฯ สังเวยแล้วคนแรก... [ ไทยรัฐ ]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 ก.ค. กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน หรือ จำเป็น

... 

เพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมป้องกัน และควบคุมแก้ไขสถานการณ์ระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 วงเงิน 626,074,570 บาท 

กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว

... 

ทำให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ต้องระดมสรรพกำลัง ในการร่วมลดความรุนแรง และความสูญเสียจากการแพร่ระบาด

โดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาพยาบาล ยุทธศาสตร์การควบคุมป้องกันโรค และยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ 

...

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า งบกลางจำนวน 626,074,570 บาท จะนำไปใช้เตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ดังนี้

1. การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  2009 ให้แก่หน่วยงานส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 121,662,720 บาท หน่วยงานส่วนภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข  จำนวน 335 ล้านบาท และหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อีก 57,198,550 บาท

... 

2. จัดซื้อยา Relenza  20,000 ชุด ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสใช้สำรองไว้กรณีที่มีการดื้อยา และ 3. การประชาสัมพันธ์การสื่อสารสาธารณะ จำนวน 103,213,300 บาท มีกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไป และประชานกลุ่มเสี่ยง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง

โดยเป็นค่าใช้จ่ายผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โรงภาพยนตร์ เอสเอ็มเอส อินเตอร์เน็ต ข่าวสั้น บทความ ฯลฯ และค่าใช้จ่ายในการผลิต ซื้อ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประกาศ แผ่นพับ โปสเตอร์ และ การจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบ วีซีดี ดีวีดี เป็นต้น

...

ส่วนสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ ล่าสุด เมื่อ 27 ก.ค.สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการป้องกันการระบาดของไวรัส 2009 ในช่วงพิธีฮัจญ์ 

ในเดือน ก.ย. ซึ่งจะมีชาวมุสลิมทั่วโลกประมาณ 2 ล้านคน เข้าร่วม และปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อแล้ว 300 คน

... 

เผยว่า พบผู้เสียชีวิตจากไวรัสมรณะคนแรกของประเทศ เป็นเพศชาย วัย 30 ปี จากเมืองด้านตะวันออกของประเทศ ถูกนำส่งโรงพยาบาล เมื่อวันพุธ 22 ก.ค. ด้วยอาการไข้สูงและปอดบวม เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ แม้ได้รับยาทามิฟลูแล้ว

ทางด้าน กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย ยืนยันมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสมรณะคนที่สองของประเทศ เป็นเพศชาย วัย 46 ปี ทำงานอยู่ในเบลเยียม แต่เพิ่งกลับมาพักผ่อนกับครอบครัวเมื่อต้น ก.ค.

... 

เขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม และภาวะระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันอาทิตย์หลังถูกนำส่งโรงพยาบาลเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน ผู้เสียชีวิตติดเชื้อไวรัสมรณะ เมื่อวันจันทร์ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ มี 1,124 คน

ด้านสหรัฐฯ ซึ่งมีการระบาดรุนแรงที่สุดในโลก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรียกร้องผู้คนหลายพันคน ร่วมการทดสอบวัคซีน 2 ชนิด ซึ่งตั้งเป้าทราบผลภายใน 2 เดือน เพื่อที่ว่า จะเริ่มใช้วัคซีนได้ในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงใน ต.ค.

... 

โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะประชุมฉุกเฉิน ในวันพุธ 29 ก.ค. เพื่อร่างแผนปฏิบัติการ และคัดแยกกลุ่มเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ เคยมีประสบการณ์เลวร้ายเกี่ยวกับวัคซีนมาแล้วในปี 2519 หลังตรวจพบไวรัสมรณะระบาดในกองทัพ และเจ้าหน้าที่เกรงจะระบาดหนักคล้ายไข้หวัดสเปนในปี 2461 (1918) ทำให้ทางการสหรัฐฯ เร่งให้วัคซีนชาวอเมริกัน 40 ล้านคน

... 

ผลที่เกิดขึ้น คือ ไวรัสไม่ได้ระบาด แต่กลับมีชาวอเมริกัน 500,000 คน มีอาการข้างเคียงจากวัคซีน เกิดอาการอักเสบของระบบประสาท ที่รู้จักในชื่อว่า “จิลเลียน-แบร์ ซิโดรม” (GBS) ซึ่งทำให้ผู้รับวัคซีนเป็นอัมพาตและเสียชีวิตด้วย 25 คน  

สำหรับ “GBS” นั้น เป็นโรคที่มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย อันเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ และไปทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนที่ประสาทส่วนปลายเลี้ยง หรือ สั่งการสูญเสียหน้าที่การทำงาน

... 

ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการชาและเดินเซ เป็นต้น บางรายที่อาการรุนแรง อาจหายใจลำบาก

เนื่องจาก เส้นประสาทที่ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด จากภาวะหายใจล้มเหลว

...

ขณะเดียวกัน การที่รัฐบาลชาติต่างๆ เร่งสั่ง หรือ จัดซื้อวัคซีนต้านไวรัสมรณะ คิดเป็นหลายร้อยล้านโดสในปัจจุบัน ทำให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ออกมาเตือนว่า

ชาติยากจนอาจประสบปัญหา และไม่สามารถหาวัคซีนมาเก็บสต็อกไว้ใช้ในประเทศ เนื่องจากถูกกลุ่มชาติร่ำรวยสั่งซื้อล่วงหน้าไว้แล้ว

... 

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เคยประมาณการณ์ไว้ว่า ห้องแล็บ และบริษัทยาทั่วโลก สามารถผลิตวัคซีนได้ปีละ ประมาณ 900 ล้านโดส แม้กลุ่มบริษัทผู้ผลิตยาจะยังมั่นใจ สามารถผลิตได้ทันและเพียงพอความต้องการ

กระนั้น ข่าวระบุว่า แม้กลุ่มบริษัทยาจะสามารถผลิตวัคซีนมากเป็น 2 เท่า ของตัวเลขคาดการณ์ของ WHO ก็ไม่อาจปกป้องประชากรทั้งโลกที่มี 6,800 ล้านคน ได้กรณีเกิดการระบาดรุนแรงทั่วผืนปฐพี

... 

ด้าน WHO กำลังเจรจา กลุ่มผู้ผลิตยาให้คงการบริจาคหรือขายยาในราคาถูกให้กลุ่มชาติกำลังพัฒนา ส่วนชาติร่ำรวยได้รับการร้องขอให้บริจาคบางส่วนของวัคซีนที่แต่ละชาติเก็บสต็อกไว้ [ ไทยรัฐ ]

[ ข้อความคัดลอก ] > [ ไทยรัฐ ]

หมายเลขบันทึก: 280856เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท