การจัดการความรู้ วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


การจัดการความรู้เป็นหนึ่งในแนวคิดเชิงระบบ จัดทำสำหรับคนในองค์กรให้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือการนำไปใช้

การจัดการความรู้  วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

        การจัดการความรู้เป็นหนึ่งในแนวคิดเชิงระบบ จัดทำสำหรับคนในองค์กรให้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือการนำไปใช้ การจัดการความรู้จะไม่มีความหมาย ถ้าไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และไม่สามารถประเมินผลที่เกิดขึ้นได้  องค์กรที่ยังไม่มีการจัดการความรู้จะมีปัญหาที่ต้องกังวลอยู่เสมอจากการที่พวกเขาไม่สามารถเก็บ จัดการ เรียกใช้ความรู้ที่มีอยู่ของบุคลากรได้ ไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งใดคือแนวทางปฏิบัติงานที่ดี อะไรที่ไม่ดี หากไม่มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบจะเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดความผิดพลาดซ้ำในเรื่องเดิม องค์กรเองก็จะสูญเสียความรู้ที่บุคลากรได้เรียนรู้จากการทำงาน ที่ไม่ได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ คู่ค้า ลูกค้า หรือคู่แข่ง  ปัญหาหลักๆ อย่างแรกของการทำการจัดการความรู้ในวงการธุรกิจก็คือการออกแบบวิธีการที่จะทำให้ให้บุคลากรในองค์กรและทีมงานที่ไม่ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขาไม่สามารถที่จะเข้าถึงความรู้ อันเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรจากแหล่งความรู้ที่ไหนเลย นวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการความรู้ แนวปฏิบัติ และเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บความรู้ อาจจะเป็นคำตอบของปัญหาเหล่านี้

โดยสรุป การจัดการความรู้เป็นพาหนะที่จะขับเคลื่อนระบบที่จะทำเป็นประจำสำหรับช่วยบุคลากร กลุ่มทีมงาน และองค์กร เพื่อ

  • ศึกษาความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล
  • ศึกษาความรู้ที่ผู้อื่นรู้
  • ศึกษาความรู้ที่องค์กรรู้
  • ศึกษาความรู้ที่จำเป็น
  • จัดระเบียบและเผยแพร่ความรู้ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวก
  • ประยุกต์ใช้การเรียนรู้สู่ความพยายามค้นหาความรู้ใหม่ๆ ต่อยอดความรู้

คำศัพท์น่ารู้ในกระบวนการจัดการความรู้

            ในบรรดาทฤษฏีทั้งหลายเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ได้จัดไว้อย่างหลากหลายมาก การเข้าใจในนิยามของการจัดการความรู้ร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ นิยามต่อไปนี้เป็นนิยามที่จะพบให้ได้บ่อยในการจัดการความรู้ มีดังนี้

Explicit knowledge  ความรู้ที่ชัดแจ้ง คือความรู้ที่มีอยู่ในรูปที่เห็นเป็นวัตถุ เช่น เอกสาร กระบวนการทำงาน หรือวีดีโอ ที่สร้างมาเพื่อที่จะเผยแพร่ให้ผู้อื่น จัดเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาขององค์กร

Intangible asset  สินทรัพย์ที่มองไม่เห็น คือสินทรัพย์มีคุณค่าที่บริษัทมีอยู่แต่ไม่ได้ปรากฏเป็นวัตถุ เรียกได้ว่าสินทรัพย์ที่มองไม่เห็น เป็นการยากที่จะติดตามและประเมินคุณค่าได้

Intellectual or knowledge capital  สติปัญญาหรือทุนความรู้ คือสินทรัพย์ที่มองไม่เห็นขององค์กรที่ฝังลึกอยู่เฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับลูกค้า ความภักดี ความรู้ของบุคลากร วัฒนธรรมและคุณค่าขององค์กร ล้วนเป็นส่วนประกอบของทุนความรู้

Intellectual property ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ความรู้ของบริษัทที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย นวัตกรรมหรือสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าอุตสาหกรรม คำรับรองลิขสิทธิ์ถูกต้อง เป็นตัวอย่างของทรัพย์สินทางปัญญา

Knowledge asset  ความรู้ที่มีค่า  คือการรวบรวมความรู้ขององค์กร อย่างมีโครงสร้างในการที่จะหาทางนำเสนอแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ใช้งานที่มีความรู้ในอนาคต ส่วนใหญ่การรวบรวมความรู้ในองค์กรจะใช้เครื่องมือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิคส์

Physical capital  ทุนรูปธรรม  คือ โครงสร้างพื้นฐานและแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์

Tacit knowledge  ความรู้แฝง  คือ ความรู้อะไรก็ตามที่คนรู้ แต่ไม่ชัดเจน แจ่มแจ้ง ที่จะสื่อสารกับผู้อื่น และเกิดขึ้นจากประสบการณ์

Tangible asset  สินทรัพย์ที่เห็นชัด คือ ทุนและสินทรัพย์ที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ แต่จะเสื่อมราคาลงเมื่อถูกใช้งานบ่อยๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ตึก อาคารสำนักงาน

            ขอเริ่มประเดิมบทความทางการจัดการความรู้ด้วยความรู้พื้นฐานดังที่นำเสนอไปนะครับ ผมจะทยอยเรียบเรียงมานำเสนอเป็นระยะๆ ในหนังสือเล่มนี้ได้บอกวิธีการ แนวทางในการจัดการความรู้ได้ค่อนข้างดีและครอบคลุม ผู้เรียบเรียงจะพยายามสอดแทรกประสบการณ์ในการที่ได้มีโอกาสไปทำงานในหน่วยงานรัฐบาลที่กำลังพยามที่จะทำให้องค์กรของตนเองมีการจัดการความรู้ โดยจะแทรกทั้งทฤษฎีและปฎิบัติครับ สวัสดีครับ

****************************************************************************************

วิชิต  เทพประสิทธิ์ เรียบเรียงจาก  Part 1 Chapter 1 : The knowledge management mandate: Performance trough learning.

Carol Gorelick and other, Performance Trough Learning: Knowledge management in Practice. Elsevier Butterworth-Heinemann, UK,2004.

 

หมายเลขบันทึก: 280499เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตัวหนังสือภาษาอังกฤษเล็กไปหน่อยค่ะ

นอกนั้น ดีแล้ว

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท