ตัวแบบนโยบาย


ตัวแบบนโยบาย การศึกษานโยบาย ลักษณะตัวแบบต่างๆ

ตัวแบบนโยบาย  

             นโยบายเป็นแนวทางหรือกรอบที่วางไว้เพื่อการนำมาปฏิบัติซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของนโยบายเพราะจะทำให้บังเกิดผล  ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและเกิดการพัฒนาโดยต้องมีการตรวจสอบหรือประเมินผลความสำเร็จของนโยบาย  ซึ่งแนวทางในการศึกษานโยบายได้มีตัวแบบทางทฤษฏีในการศึกษานโยบายอธิบายได้  7  ตัวแบบดังนี้

  1.ตัวแบบชนชั้นนำ ( Elite  Model ) 

                     นโยบายกำหนดขึ้นมาจากความพึงพอใจหรือผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำหรือชั้นปกครองซึ่งเป็นชนส่วนน้อยแต่เป็นผู้ที่มีอำนาจและมีอิทธิพลในสังคม  โดยมีข้าราชการเป็นผู้นำนโยบายเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติและผู้ได้รับผลของนโยบายมากที่สุดคือประชาชนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ  ภายใต้ความคิดที่ว่าประชาขนส่วนใหญ่เฉื่อยชา ไม่สนใจกิจกรรมทางการเมืองและไม่ได้รับข้อมูลที่ดีพอ   เป็นตัวแบบที่มีลักษณะการพัฒนาจากบนลงล่างในลักษณะระบอบเผด็จการหรืออำนาจนิยม  นโยบายจะสะท้อนความต้องการของชนชั้นนำซึ่งเป็นชนส่วนน้อยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง ตัวอย่างเช่น นโยบายประชานิยม  ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

   2.  ตัวแบบสถาบัน ( Institutional  Model )

                       นโยบายมาจากผลผลิตของสถาบันทางการเมืองซึ่งประกอบด้วย  สถาบันนิติบัญญัติ  สถาบันบริหาร  สถาบันตุลาการ  สถาบันพรรคการเมืองและสถาบันการปกครองท้องถิ่น  โดยมีสถาบันราชการเป็นผู้รับรองความชอบธรรมของนโยบายและเป็นผู้กำหนดแบบแผน  โครงสร้างและการนำนโยบายไปสู่ปฏิบัติ ลักษณะนโยบายจะครอบคลุมประชาชนทั้งสังคม  มีรัฐบาลและสถาบันหลักเป็นผู้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้นโยบาย ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ทั้งหมด  นโยบายปฏิรูประบบราชการ  คำพิพากษาศาลฏีกา

   3. ตัวแบบหลักเหตุผล ( Rational  Model )

                        เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นผลประโยชน์สูงสุดที่มีต่อสังคม  หรือประชาชนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ  นโยบายคำนึงถึงประสิทธิภาพหรือผลประโยชน์ตอบแทนต่อต้นทุนสูงสุด  มีการจัดเก็บข้อมูลครบทุกด้าน วิเคราะห์ครบถ้วนเที่ยงตรงและทันสมัย  โดยพิจารณาแล้วอย่างมีหลักการและเหตุผล  แสวงหาทางเลือกที่สร้างสรรค์  เป็นตัวแบบที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และให้น้ำหนักกับเป้าหมายเชิงปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์  ตัวอย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ   ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง

   4. ตัวแบบกลุ่ม  ( Group  Model )

                       นโยบายมาจากผลของการต่อสู้แข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม  กลุ่มที่มีผลประโยชน์รวมกันหรือผลประโยชน์เป็นไปในทิศทางเดียวกันจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อกดดันและเรียกร้องรัฐบาลอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  นโยบายมาจากกลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่าหรือได้รับความสำเร็จหรือมีเสียงข้างมาก  รัฐและรัฐบาลมีบทบาทเป็นเพียงผู้ประนีประนอม  ไกล่เกลี่ย หรือกำหนดกฎ  กติกา  เป็นผู้บังคับใช้หรือรับนโยบายไปปฏิบัติ

  5. ตัวแบบเชิงระบบ ( System  Model )

                       นโยบายมาจากการตอบสนองทางการเมืองที่มีแรงกดดันมาจากสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า ( Input ) ทั้งภายในระบบสังคมและนอกระบบสังคม  เป็นความต้องการที่หลากหลาย    ข้อเรียกร้อง  หรือแรงสนับสนุน ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกหรือตัดสินใจสู่ปัจจัยนำออก( Output ) ซึ่งข้อตัดสินใจหรือการกระทำอาจมีผลกระทบหรือเกิดการเรียกร้องเพิ่มมากขึ้น  จึงต้องมีกระบวนการป้อนกลับ ( Feedback ) เพื่อพิจารณาหรือเข้าสู่ระบบการเมืองอีกครั้ง  นโยบายจึงมีลักษณะค่อนข้างเป็นระบบ ที่ต่อเนื่องเป็นวงจร นโยบายเป็นผลผลิตจากระบบการเมือง  ให้ความสำคัญกับโครงสร้างของระบบกับสภาพแวดล้อมว่าจะเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของระบบให้มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด ตัวอย่างเช่นพ.ร.บ.สิขสิทธิ์ 2527  พ.รบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542

 6. ตัวแบบกระบวนการ (Process Model )

                        นโยบายมาจากผลลัพธ์ของกิจกรรมทางการเมืองหรือกระบวนการและพฤติกรรมทางการเมืองมีขั้นตอนนโยบายมาจากการะบุถึงปัญหา, การเรียนร้อง ( ปัญหา )  สร้างระเบียบวาระ ( จำแนกลักษณะของปัญหา ) สร้งข้อเสนอนโยบายหรือจัดทำทางเลือกนโยบาย ( ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา ) การให้อำนาจกับนโยบาย ( การเลือก,สนับสนุน ให้ความเห็นชอบหรือกำหนดออกมาเป็นกฏหมาย ) การลงมือปฏิบัติตามนโยบาย ( แผนงาน, โครงการต่าง ๆ )  และการประเมินผล ( ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นข้อมูลย้อนกลับ) ลักษณะนโยบายจะเป็นกระบวนการหรือเป็นลูกโซ่ นโยบายจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างระบบแต่เน้นกระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนา การปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย

   7. ตัวแบบส่วนที่เพิ่ม ( Incremental  Model )

                         นโยบายมีลักษณะการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากอดีต มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วน  เป็นการสานต่อหรือยอมรับนโยบายเดิม และให้ความสนใจนโยบายหรือโครงการใหม่เพียงเล็กน้อย นโยบายลักษณะนี้จะมีผลกระทบน้อย  ประชาชนยอมรับ

                        เหล่านี้คือตัวแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ลักษณะของนโยบายต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่อย่างไรก็แล้วอาจมีนโยบายหลายนโยบายที่มีลักษณะการผสมผสานตัวแบบหลายตัวแบบเข้าด้วยกันทั้งนี้การกำหนดนโยบายจะมีลักษณะอย่างไรก็ตามการนำนโยบายสู่การปฏิบัติจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง

                     

 

หมายเลขบันทึก: 280467เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท