พลังท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชน


หัวใจของการพัฒนาชุมชน อยู่ที่การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้............ ตั้งแต่ขบวนการแรก... ไม่ใช่การเรียนรู้ตอนท้าย

บันทึกการเรียนรู้(Topic 8):
แบ่งบันความรู้โดย..ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมขน มข.
เก็บออมความรู้โดย..เกศรา  แสนศิริทวีสุข            นักศึกษา พัฒนาสุขภาพชุมชน 2.1 มข.

                ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของสังคมไทย ได้มีความพยายามของบุคคล กลุ่มคน องค์กรทางสังคม ที่อยู่กระจัดกระจายตามท้องถิ่นต่างๆ ในการหันกลับมาจัดการแก้ปัญหาให้กับตนเองและชุมชนท้องถิ่นต่างๆ  ในรูปแบบของกลุ่ม ชมรม หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งมีความหลากหลายไม่น้อย
              ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วน เช่น
ชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ภายใต้การนำของ คุณลุงประยงค์ รณรงค์ ประธานสภาผู้นำชุมชนไม้เรียง เจ้าของรางวัลแม็กไซไซ ปี 2547 ที่สร้างทฤษฎีเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงนโยบายรัฐ โดยเน้นหลักคิดคือ หัวใจอยู่ที่การเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมเรียนรู้ตั้งแต่ขบวนการแรกไม่ใช่การเรียนรู้ตอนท้าย เป็นชุมชนต้นแบบของการพัฒนาในหลายด้าน เช่น ยางพารา แผนชุมชน วิสาหกิจชุมชน การจัดการองค์กร และศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นต้น  ที่น่าประทับใจอีกอย่างคือ แม้สังคมจะยอมรับผลงานของชุมชน แต่ชุมชนก็ไม่ได้หยุดเรียนรู้อยู่กับที่ นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิข้าวขวัญ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน และเห็นความสำคัญของ ชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ”  ชาวนาในฐานะผู้ผลิตข้าว ซึ่งเป็นอาหารและ เป็นกำลังแรงงานที่สำคัญที่สุดให้กับส่วนอื่นในสังคม มีกิจกรรมการขยายองค์ความรู้เชิงลึกโดยการสร้างโรงเรียนชาวนา ขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร ตามแนวคิดเพื่อการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ  ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการความรู้ในสังคมไทย และ ที่ อบต. หัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร มีท่านนายก อบต. พิชัย นวลนภาศรี เป็นเจ้าของแนวคิค การบริหารที่ให้คนในชุมชนเป็นผู้กำหนด ทุกอย่างจะเริ่มจากความต้องการของชาวบ้าน อาทิ ต้องการน้ำทำนา อบต.ก็จะจัดหาให้ อยากเรียนแต่ไม่มีเงินเรียน อบต.ก็จะจัดอบรม เชิญอาจารย์มาสอนให้ในชุมชน มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ หรืออยู่ไกลจาก รพ.จังหวัด ก็จะมีรถรับ-ส่งให้ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันว่าเป็น  สวรรค์บนดินมีจริงที่ อบต.หัวดง ประกาศเกียรติคุณที่ตำบลแห่งนี้ได้รับก็มีมากมาย เช่น คือเจ้าของโล่เกียรติยศ ปี 51 รางวัลบริหารจัดการบ้านเมืองดีเด่น 5 ปีซ้อน (46-50) และรางวัลส่วนปกครอง
ท้องถิ่นดีเด่น นอกจากนี้ยังมีต้นแบบที่ดีๆอีกหลายชุมชน สามารถค้นคว้าติดตามหรือถอดบทเรียนได้ตามอัธยาศัย
           การทำงานทางความคิด การกระตุ้นให้เกิดสำนึกของความเป็นกลุ่มและคำนึงประโยชน์ชุมชนส่วนรวม เป็นเรื่องที่ผู้นำกลุ่มและเครือข่ายจะต้องเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ จนสร้างความเข้าใจอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางความคิดและการทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืน  มีบทสรุปเหนือคำบรรยายจากท่านอ.ประเวศ วะสี มาฝากคือ คือ สังคมดีไม่มีขายอยากได้ต้องร่วมสร้าง

หมายเลขบันทึก: 280045เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รวดเร็วจังเลยจุ๊ก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจะทำให้ชุมชน สังคม เกิดการพัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท