GotoKnow

Episode I : ยุคแรก

นาย จักรีสิทธิ์ จินดาวงศ์
เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2549 02:14 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:54 น. ()
คิดแบบชนะ-ชนะ (think win-win), อย่าไต่บันไดทึกทัก และทำบัญชีออมใจด้วย

บันทึกเก็บเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากการไปอบรมเรื่อง 7 habits เท่าที่จำได้

1. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (begin with the end in mind)

2. คิดแบบชนะ-ชนะ (think win-win)

มีเหตุการณ์ที่ว่ามีผู้ประสานงานโครงการได้มารายงานกับนักวิจัยฟังว่าได้รับติดต่อจากบริษัทแห่งหนึ่งว่าต้องการนำผลงานวิจัยของนักวิจัยในหน่วยงานไปทำต่อในเชิงพานิชย์ ซึ่งเท่าที่ได้คุยกันแล้วพบว่า ข้อเสนอที่บริษัทเสนอมานั้นอาจจะทำให้บริษัทเสียประโยชน์อยู่บ้างเล็กน้อย จึงทำให้ผู้ประสานงานไม่ได้ตอบตกลงกับทางบริษัทไป โดยให้เหตุผลกับนักวิจัยว่า "เพราะมันไม่ win-win" สิ่งที่เราทำต้อง win-win ถ้าไม่ win-win ไม่เอานะ

3. ผนึกพลังประสานความต่าง

เมื่อต้องทำงานกันจะต้องใช้ความรู้ร่วมกันหลายสาขาเพื่อทำในสิ่งเดียวกันให้ได้ เช่น นักเคมี ต้องทำงานกับนักฟิสิกส์ แพทย์ วิศวกร นักกฏหมาย ทหาร ตำรวจ นักการเกษตร ต้องใช้ความรู้ในแต่ละสาขามาร่วมกัน

"ต้องถามเพื่อความกระจ่าง อย่าไต่บันไดทึกทัก" อย่าไต่บันไดทึกทัก อย่าคิดเอาเองว่าคนอื่นเค้าคิดแบบนั้น แบบนี้ โดยที่คิดทึกทักเอาเองโดยที่ไม่ได้ถามเอาความจริง ยิ่งทึกทักเอาเองมากเท่าไรก็จะทำให้เราไต่ความคิดไปสูงขึ้นสูงขึ้นสุดท้ายก็จะเกิดผลเสียมาก ยิ่งเมื่อเราโกรธยิ่งไม่ควรเลย

การทำบัญชีออมใจ ต้องทะนุถนอมน้ำใจผู้อื่นให้มากๆ เห็นความสำคัญของผู้อื่นก่อนตนเองเสมอเมื่อคนอื่นต้องการความช่วยเหลือจากเรา ต้องพร้อมช่วยเสมอ ต้องไม่ตอบปฏิเสธ (never say no) เพื่อช่วยเพิ่มพูนกำลังใจให้ผู้อื่นได้ หมั่นเก็บออมน้ำใจผู้อื่น

ปล. โปรดอย่าลืม

คิดแบบชนะ-ชนะ (think win-win), อย่าไต่บันไดทึกทัก และทำบัญชีออมใจด้วย

never say goodbye


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย