ชีวิตที่พอเพียง : ๗๙๙a. เรียนวิชา LO ที่ SCB



          ผมเป็นคนคลั่ง KM, LO, Learning Society, สังคมอุดมปัญญา, Knowledge-Based Economy/Society ฯลฯ    ไปทำอะไรที่ไหนก็มักจะตั้งคำถามในเรื่องเหล่านี้ต่อตนเอง   ว่าผมเห็น “สะเก็ดดาว” ที่จะนำไปสู่สภาพเหล่านี้หรือไม่   เห็นอะไร   จะนำไปสู่สภาพดังกล่าวอย่างไร


          วันที่ ๒๑ ก.ค. ๕๒ โชคดีที่ผมยอมลาการประชุมอื่นมาร่วมประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ที่เลื่อนมาจากเมื่อวาน   โดยแจ้งเลื่อนล่วงหน้า ๒ สัปดาห์   ซึ่งตามปกติผมจะปล่อยให้เป็นการลาประชุม    และไปประชุมกับหน่วยงานที่นัดไว้ตามปกติ   แต่คราวนี้เหมือนเทวดาดลใจ   ผมทำตรงกันข้าม คือลาอีกประชุมหนึ่งเพื่อไปประชุมของ SCB


          ผมใช้วิธีเลือกไปประชุมการประชุมที่ให้คุณค่าสูงกว่า


          แล้วผมก็ได้เรียนรู้บทเรียนที่หาได้ยากยิ่ง    คือบทเรียนว่าด้วย KM & LO แบบ ICT Intensive   แต่ก็มี Man – Machine Interaction อย่างดีเยี่ยม   โดยที่ SCB ได้พัฒนาระบบ data warehouse อย่างดี    แล้วใช้ระบบนั้นฝึกพนักงานให้เสนอ “สินค้า” หรือ “ผลิตภัณฑ์” ให้ตรงใจ ประทับใจ ลูกค้า    โดยที่เมื่อใช้ระบบนี้ ทั้ง machine และ man มีการเรียนรู้ไปด้วยกัน    และฉลาดขึ้นเรื่อยๆ    คำว่าฉลาดในที่นี้มีความหมายเฉพาะ คือฉลาดให้บริการที่ลูกค้าประทับใจ  


          คณะกรรมการธนาคารแปลกใจ ถึงกับซักไซ้ว่าทำไมส่วนสมองของ machine จึงอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย  


          ในกรณีนี้ คำว่า learning เน้นไปที่ลูกค้า ความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้า    แล้วหาทางจับคู่กับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ SCB คิดออกมาตลอดเวลา    ตามยุทธศาสตร์การให้บริการ Universal Banking 


          ท่านนายกกรรมการ คุณอานันท์ ปันยารชุน ถึงกับถามว่า คิดเรื่องเหล่านี้ได้ไง    คำตอบคือหลักวิชาและสามัญสำนึก   และเครื่องมือสำคัญคือ Change Program


          ผมโชคดีจริงๆ ที่ได้เข้าเรียนวิชานี้    แถมยังได้ร่วมเสพ เอ็นดอร์ฟิน จากผลประกอบการไตรมาสที่ ๒   ที่ผลกำไรเกิน ๕ พันล้านบาท แม้สภาพเศรษฐกิจจะยังมืดมัว    เราได้เห็นทั้งเกมตั้งรับ (วิกฤติ) และเกมรุก (ตลาดและลูกค้าชั้นดี) ของ LO แห่งนี้


          บันทึกนี้ เป็นการรายงานเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) ของ SCB ไปในตัวในฐานะกรรมการอิสระของธนาคารที่มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย    ว่าธนาคารของท่านมีการบริหารจัดการดีอย่างน่าพิศวง   แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ปีนี้แม้จะฝีมือการจัดการดีอย่างไร ผลประกอบการก็คงไม่ดีเท่าปีก่อน    ทีมบริหารเขาบอกว่า เขาจะพยายามทำให้ได้กำไรถึง ๒ หมื่นล้านให้ได้

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ก.ค. ๕๒


หมายเลขบันทึก: 279355เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • JJ โดนแซว บ่อยครับ ว่า ใช้เครื่องมือ KM_LO บ่อยเกินไปในการ สร้างเครือข่าย หรือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
  • แต่ก็ไม่ถอดใจนะครับ
  • เพราะ การเห็น ฅน เป็น ฅน
  • เครารพ ความเป็น มนุษย์
  • ด้วยการให้โอกาส เพื่อ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง จริง และ นำมา พัฒนา ต่อยอด
  • เป็น
  • จริต ที่ สะใจ และ ปิ้งแวบ มาตั้งแต่ ทำ QCC สมัยโน้นครับ
  • กราบขอบพระคุณ อาจารย์ครับ ที่ให้โอกาส JJ เข้าร่วม เวทีเป็นคุณอำนวยแห่งบ้านผู้หว่าน๒

        

 --  ธนาคารไทยพาณิชย์ครองตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2552

-- ยูโรมันนี่มอบรางวัลธนาคารยอดเยี่ยมให้ไทยพาณิชย์

-- ไทยพาณิชย์คว้ารางวัล "2008 Straight-Through

Processing Excellence Award"

   

 

 

 
 

 
 

 

 
 

3.
 

 

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ผกพัน ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีศักยภาพ ด้วยการคว้ารางวัลธนาคารยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552 จาก 2 สถาบันระดับสากล ได้แก่ Asiamoney และ FinanceAsia (ปีที่ 5) ในขณะเดียวกัน ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ด้วยการคว้ารางวัล ธรรมาภิบาลดีเด่น จากวารสาร Corporate Governance Asia ที่ธนาคารได้รับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท