เมื่อ กศน. เริ่มมีอาสาสมัคร กศน.


จิตอาสา พาทั้งการศึกษาและประเทศไทยให้พัฒนา ก้าวล้ำสากล

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552  สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง ได้จัดอบรมให้กับอาสาสมัคร กศน. และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง เริ่มด้วย(ผอ.จรัล  ชุมคง และผอพิศิษฐ์ วศินภัทรโภคิน) บรรยายสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงาน กศน. ที่จัดการศึกษาตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ10 ซึ่งประเด็นหลักกำหนดให้ ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต  จึงเป็นหน้าที่ของ กศน. และอาสาสมัคร กศน. ในการที่จะดำเนินการขยายผลกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อไป ในการนี้อาสาสมัครต้องทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับงานของ กศน.ที่จัดการศึกษา  2 รูปแบบดังต่อไปนี้ คือ

1. การศึกษานอกระบบ  เป็นการจัดการศึกษาที่ประกอบด้วย

- การศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบสำหรับผู้ด้อยโอกาสในระบบ

- การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  (สอดคล้องกับภูมิภาคพื้นที่, วัตถุดิบ, ทันสมัย, ก้าวหน้าในอนาคต
                                     และนำความรู้มาใช้ในชีวิตตามแนวพอเพียง)

- การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  (เน้นกระตุ้นให้เกิดวิธีคิด , เห็นคุณค่า, เกียรติศักดิ์ศรีของตน)

- การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (เน้นเวทีชาวบ้าน, แผนชุมชน, การจัดการความรู้ ทักษะ
                                      ภาษา นวัตกรรม คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต)

- การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (เวทีชาวบ้าน,หลักสูตรระยะสั้น,
                                      รวมกลุ่ม, ศูนย์เรียนรู้ และเครือข่าย)

- การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ตาม พรบ. การศึกษา 2542)

2. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการจัดการศึกษาตามความต้องการเรียนรู้ของผู้สนใจศึกษาโดยไม่กำหนดเวลา สถานที่  ซึ่งประกอบด้วย

- ห้องสมุดประชาชน (จังหวัด อำเภอ และห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี ในอดีตมีที่อ่านหนังสือพิมพ์
                                        ประจำหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันโอนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

- ศูนย์การเรียนชุมชน  (กิจกรรมพบกลุ่ม นอกจากนั้นยังมีสื่อวีดีโอ ตำรา และหนังสือพิมพ์ให้ได้
                                        เรียนรู้ได้ตามความสนใจ)

- ภูมิปัญญาท้องถิ่น (แหล่งเรียนรู้ที่ใครใคร่รู้ก็เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา)

- แหล่งเรียนรู้ในชุมชน (วัด โบราณสถาน หรือแหล่งอื่นๆในชุมชน) และหรือ

- แหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่ประชาชนสามรถเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์ทางการศึกษาได้

                เมื่ออาสาสมัครทราบถึงภารกิจของ กศน. แล้ว ก็จะเห็นว่าภารกิจดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของกศน. ซึ่งมีอยู่เพียงตำบลละ 1 คน คงจะยากที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นให้มีประสิทธิภาพได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ กศน. จะต้องจัดโครงการอาสาสมัคร กศน. เพื่อเป็นเพื่อนเรียนรู้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นอีกตำบลละ 1 คน พร้อมกับฝากให้อาสาสมัครฯและครู ช่วยกันเพิ่มจำนวนอาสาสมัครฯ เพื่อช่วยกันพัฒนาชุมชนและสังคมที่จะนำไปสู่ประเทศที่อยู่ดีมีสุขต่อไป

ต่อจากนั้น(ผอ.สมปอง โชติพืช และ อดีตผอ.กศนจังหวัดพัทลุง ผอ.แปลก พัชรดำรงกุล) สร้างพลังจิตอาสาให้แก่อาสาสมัครและผู้เข้าร่วมอบรมโดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปลูกจิตสำนึกเสียสละ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าอาสาสมัครฯเป็นการเพิ่มทุนทางสังคม ที่จะช่วยชุมชนได้รวดเร็วกว่าหน่วยงานรัฐซึ่งมีขั้นตอนมากมาย ดังนั้นอาสาสมัครจึงเป็นคนเก่ง ดี มีน้ำใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคนมีจิตอาสา ซึ่งพอจะจำแนกคุณลักษณะได้อย่างน้อย 5 ประการ คือ เป็นคนที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ดี, ภูมิใจที่เกิดเป็นคน(มีรูปร่าง,อวัยวะและอื่นๆซึ่งมีขนาดหรือตำแหน่งที่เหมาะสม),คิดและทำเพื่อชุมชน, คิดและทำอย่างสร้างสรรค์ และประพฤติตนเป็นผู้นำ (ท่านยกตัวอย่างมากมายอย่างสนุกสนาน)  กระผมคิดว่าเมื่อทุกคนมีจิตอาสา นอกจากการศึกษาแล้ว ประเทศไทยของเราทุกคนก็จะสามารถพัฒนาก้าวล้ำหน้าทุกประเทศทั่วโลกได้อย่างสบายเลยครับ

เติมเต็มด้วยกลยุทธสู่ความสำเร็จในการทำงานอาสาสมัคร กศน. ที่ใช้กระบวนการกิจกรรมกลุ่มจัดโดย(ผอ. วิรัตน์ สุขอ่อน และอ. กฤษณา จินตาคม) หลังจากแบ่งกลุ่มและแบ่งภารกิจเรียบร้อย ให้เวลาระดมสมอง 30 นาที จากนั้นจึงให้ตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมีดังต่อไปนี้คือ

- การเสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน (จัดเวทีชาวบ้าน, วิถีชีวิต ฯลฯ)

- การประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชน (หอกระจายเสียง, วิทยุชุมชน, ปากต่อปาก ฯลฯ)

- ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (เข้าถึงกลุ่มต่างๆที่มีอยู่แล้วสอบถามความต้องการการสนับสนุน, พาศึกษาดูงาน ฯลฯ)

- ร่วมกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนในการติดตามผล และดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาในชุมชน ((ประชุมวางแผน/ สร้างเครื่องมือประเมิน) , ดำเนินการตามแผน, นำผลการประเมินมาสรุป และนำไปใช้พัฒนาต่อไป ฯลฯ)

- ส่งเสริม สนับสนุนการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน (จัดหา/จัดทำข้อมูลประชากรโดยเฉพาะด้านการศึกษา, ส่งเสริมอาชีพควบคู่การศึกษา, ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ฯลฯ)

 

สรุปด้วย 30 วัน สู่ความสำเร็จ เอแฝงอะไรไว้หรือเปล่าน้า  บรรยายโดย(ผอ. วรวุฒิ จริยภัครติกร และ  ผอ. จรูญ อินขาว)  เริ่มด้วย สโลแกน ใฝ่เรียน มองลึก นึกไกล ใจกว้าง  ตามด้วยการวางแผน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ คือ

- การเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน (ท่านกล่าวว่าเราควรเก็บเอง จะได้เป็นข้อมูลปฐมภูมิ)

- การประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน

- ออกแบบกิจกรรมการศึกษาในชุมชน และ

- จัดทำรายละเอียดของแผน

โดยแผนแต่ละแผนอาจมีหลายโครงการ และแผนจะเป็นลักษณะไม่จบแค 1 เดือนหรือปี มีการตรวจสอบ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนดำเนินโครงการ ก็เป็นการตรวจเอกสารแผนโครงการ, ระหว่างดำเนินโครงการ ก็เป็นการตรวจว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่อย่างไร หากแผนยังไม่ดีหรือไม่เหมาะสมก็ปรับเปลี่ยน และระยะหลังเสร็จสิ้นโครงการ ก็สำรวจความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข วางแผนใหม่ ตรวจสอบใหม่ต่อไปเรื่อยๆ แม้ว่าดีแล้วก็ต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี อยู่รอดปลอดภัย  และอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้นอาสาสมัครต้องมีแผนปฏิบัติงานของอาสาสมัครที่สามารถปรับได้แต่รัดกุมเรียบร้อยเป็นระบบ โดยยึดหลักใครทำอะไร ที่ไหน กับใคร เมื่อไหร่ อย่างไร ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่อย่างไร

จากนั้นอาสาสมัคร กศน. ก็ได้เวลาแยกย้ายกันไปปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ในโอกาสต่อไปกระผมจะนำประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของอาสาสมัคร กศน. ที่กระผมจะหาโอกาสไปพบปะสนทนา เพื่อนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 278442เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

กศน.จังหวัดเพชรบุรี  จัดอบรมไปเรียบร้อยแล้วค่ะเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 52 อาสาสมัคร กศน. ลงพื้นที่ไปแล้วค่ะ

พอลล่าชอบค่ะ จิตอาสา มีอะไรให้พอลล่าอยากช่วยติดต่อได้เลยนะคะ

สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายและขอบคุณที่ไปเยี่ยมเยือนค่ะ

สบายดีนะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

จิตอาสาเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆเลยค่ะ

ต้องใช้คนที่มี น้ำใจ จึงจะทำได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับไม่ได้มานานเลยคิดถึงมาก

  • สวัสดีคะเข้ามาทักทายคะ
  • โรงเรียนต่างๆหากนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้น่าจะเกิดประโยชน์กับเด็กนักเรียนมากนะคะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ พร้อมกับมาชื่นชมกับกิจกรรมดี ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาส่งความระลึกถึงค่ะ

และเชิญชวนร่วมสร้างหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ด้วยกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/rongkham/349984

ขอบคุณค่ะ

  • ตามมาเชียร์การทำงาน
  • ลองเชื่อมเครือข่ายกับบังวอญ่านะครับ
  • ขอบคุณครับ

ถ้าเรามีอาสาสมัคร กศน. ครบทุกหมู่บ้าน เหมือน อสม. จะทำให้ กศน.เรา ไปโลดเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท