การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ชั้นอนุบาล 1


การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ชั้นอนุบาล 1 ไม่ยุ่งยาก เป็นการพัฒนาแผนที่ครูใช้อยู่

 

  การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

ชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดกลางบางแก้ว

สาระการเรียนรู้เรื่องตัวเด็ก หน่วยที่ 10  บ้านแสนสุข   เวลา 1 สัปดาห์

โดยครูเนตรทราย   บัลลังก์ปัทมา

1. ขั้นการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design(พัฒนาจากรูปแบบโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงบูรณาการกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.)  

 

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

    มาตรฐานการเรียนรู้

                -มฐ. 1-10

    ตัวชี้วัด/ตัวชี้วัด

                -ตัวบ่งชี้ที่กำหนดตามมาตรฐานการเรียนรู้

 

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1. นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้

2. นักเรียนสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้

3. นักเรียนสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้

4. นักเรียนสามารถใช้กล้ามเนื้อในการวาดภาพ

 

 

ค่านิยม/คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                1. มีระเบียบวินัย

                2. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้

                3. รักความเป็นไทย

 

สาระการเรียนรู้/หลักการ Concept /(สาระสำคัญ)

                การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้พร้อมเพรียงกันตามจังหวะ เสียงเพลงและตามคำสั่งได้   รู้จักเก็บของเข้าที่ และเล่นตามมุมต่าง ๆ ได้

 

ความรู้ฝังแน่น/ End. Und

นักเรียนสามารถบอกความสำคัญของครอบครัวและบ้าน สามารถเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะ เสียงเพลงและตามคำสั่งได้ รู้จักเก็บของเข้าที่ และเล่นตามมุมต่าง ๆ เล่นเกม วาดภาพ ฉีกปะภาพ ได้

 

หลักฐาน/ร่องรอย/ประเมิน (Rubric)

                แบบสังเกตพฤติกรรมแบบต่าง ๆ

แบบสังเกตการพูดเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงาน

แบบสังเกตการทำกิจกรร

 

 

กิจกรรมนำสู่ผล

1. นักเรียนเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอิสระ

2. นักเรียนเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามจังหวะ สัญญาณและตามคำสั่ง

3. นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ข้อตกลง

4. นักเรียนเล่นตามมุมต่าง ๆ การเล่นกลางแจ้ง เล่นเกม

5. นักเรียนพักคลายกล้ามเนื้อโดยนั่งตามสบาย

6. นักเรียนร่วมกิจกรรมเกี่ยวตามแนวคิดบ้านแสนสุข

 

Quest.คำถามท้าทาย

-นักเรียนจะเคลื่อนไหวให้พร้อมกันได้อย่างไร

-นักเรียนจะหยุดเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกันได้อย่างไร--นักเรียนจะวาดภาพให้สวยงามด้วยสีได้อย่างไร

-นักเรียนจะปั้นให้สวยได้อย่างไร

-นักเรียนจะพิมพ์ พับสี หยดสี เป่าสี  ให้สวยได้อย่างไร

-นักเรียนจะฉีกปะ ตัดปะให้สวยงามได้อย่างไร

-นักเรียนจะทำอย่างไรจึงจะได้เล่นบ่อย ๆ

 

บรรยากาศ

เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม ร่วมแสดงความคิดเห็นเคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมโดยอิสระ ครูเสริมแรงด้วยคำชม ติดผลงานหน้าห้อง

 

สื่อ/อุปกรณ์

     -มุมความรู้ มุมเล่นต่าง ๆ การจำลองสถานการณ์

     - เพลงและเครื่องเคาะจังหวะสัญญาณ สนาม

     -อุปกรณ์การวาดภาพ  ฉีกปะ ตัดปะ พับ ปั้น ดินน้ำมัน

 

2.ขั้นพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ (พัฒนาแผนเดิมของครูที่มีอยู่)

แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ         ชั้นอนุบาลปีที่           สัปดาห์ที่  10

สาระการเรียนรู้บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก   หน่วยบ้านแสนสุข    เรื่องการปฏิบัติตามข้อตกลง

วัน...................เดือน.......................................พ.ศ. .........                      เวลา…….นาที

มาตรฐานการเรียน/ตัวชี้วัด

                มาตรฐานการเรียนรู้

                ตัวชี้วัด

 

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1.       นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามจังหวะดนตรีได้อย่างอิสระ

2.       นักเรียนสามารถฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้

3.       นักเรียนสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้   

สาระสำคัญ

กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นการพัฒนาการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก

การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณและการปฏิบัติตามข้อตกลง

สาระการเรียนรู้

1.       สาระที่ควรรู้

          การเคลื่อนไหวร่างกายโดยการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ และการปฏิบัติตามข้อตกลง

2.       ประสบการณ์การสำคัญ

2.1    การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

2.2    เวลา

การเริ่มต้นและหยุดกระทำโดยสัญญาณ

2.3    การคิด

การรู้จักสิ่งต่าง ๆ โดยการฟัง

2.4    ดนตรี

การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี

2.5    สุนทรียภาพ

       การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว

ชิ้นงานหรือภาระงาน

                การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกายโดยการฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ และการปฏิบัติตามข้อตกลง

คำถามท้าทาย

                นักเรียนจะเคลื่อนไหวร่างกายให้พร้อมกันได้อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้        

1.   เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะเสียงดนตรี  เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดในท่านั้นทันที

2.       กำหนดสถานที่ในบริเวณที่ใช้ฝึก  2  แห่ง  เป็นบ้าน  2  หลัง  เช่น  บ้านไม้  บ้านที่สร้างด้วยใบไม้

           3.       ตกลงสัญญาณกับเด็กดังนี้

-   สัญญาณ  กลอง  ให้เดินไปที่บ้านไม้

-   สัญญาณ    ตบมือ     ให้เดินไปที่บ้านที่สร้างด้วยใบไม้

ความรู้ฝังแน่น

                นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการเคลื่อนไหวร่างกายให้พร้อมกันต้องใช้การฟังและปฏิบัติตามสัญญาณ

การจัดบรรยากาศเชิงบวก

                เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม แสดงความคิดเห็นและการตอบคำถามโดยอิสระ ครูเสริมแรงด้วยคำชม

สื่อและแหล่งการเรียนรู้

1.  เสียงดนตรี   

2.  เครื่องเคาะจังหวะ

การวัดผลและประเมินผล 

วิธีการวัดผลและประเมินผล   

-สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างของร่างกาย

-สังเกตกาการปฏิบัติตามสัญญา

-สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง

เครื่องมือ

 - แบบสังเกต

หมายเหตุ นำเสนอเป็นแนวทางเท่านั้น สามารถปรับได้ตามบริบทของโรงเรียน

หมายเลขบันทึก: 278305เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นประโยชน์อย่างมาก อยากเห็นตัวอย่างกิจกรรมอื่นๆ

กำลังเตรียมตัวทำ คศ.3 เครียดมากอยากได้รับคำแนะนำดี ๆค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

backward design อนุบาล หาตัวอย่างยากมาก

ดีจังค่ะแต่อยากได้ตัวอย่างให้มีครบทุกกิจกรรมเพื่อเป็็นแนวทางแต่ยังไงก็ ขอบคุณมากค่ะที่นำความรู้ความเข้าใจมาแบ่งปัน ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท