ขอกิน ขอทาน ฉัน "น่าสงสาร" นะ...!


 

หาก “ครู” อ่อนน้อม ครูย่อมเรียนรู้และอยู่คู่กับ “นักเรียน”
หาก “ครู” มีทิฏฐิ มานะ ครูย่อมเรียนรู้และเดินคู่กับ วิทยากรกระบวนการ อาจารย์ และการอบรม...

ทว่าพระ จะตรงกันข้าม กับฆราวาส

หากพระ อ่อนน้อม (เพราะ)พระย่อม(อาจ)หวัง ลาภสักการะ(ต่อ) อุบาสกอุบาสีกา


หากพระ มีทิฏฐิ มานะ พระย่อม อดข้าว (ภิกษุควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย)
 

ทิฏฐิ มานะ ควรใช้ในทาง ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น

(สัมมา)ทิฏฐิ
(โยนิโส)มานะ(สิการ)

(ที่มาจากบันทึก พัฒนาการเรียนรู้สู่ R2R )


วิวาทะ...

ท่านพูดคล้ายคลึงกับเรื่องราวของครูที่สอนอยู่ในโรงเรียนสอนศาสนาของอีกหนึ่งศาสนา

ครูท่านนั้นท่านสอนนักเรียนว่า...

การที่พระไม่ใส่รองเท้าไปบิณฑบาตนั้น ก็เพื่อทำตัวให้เป็น "บุคคลน่าสงสาร"

การเป็นบุคคลน่าสงสารนั้นจะทำให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่พบเห็น "สงสาร" และนำอาหารมาใส่ให้ใน "ภาชนะ (บาตร)" ซึ่งบาตรนั้นเปรียบประหนึ่งกับ "เศียรของพระพุทธเจ้า..."

การอ่อนน้อมของ "พระ" คนทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้เอง...!

คำสำคัญ (Tags): #บาตร#บิณฑบาต
หมายเลขบันทึก: 277850เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท