ระดับชั้นของซีเอสอาร์


กิจกรรมซีเอสอาร์

ระดับชั้นของซีเอสอาร์

 

จดหมายข่าว ชสอ. ปีที่ 23 ฉบับที่ 264 เดือนมิถุนายน 2552  หน้า 9

 

          องค์กรธุรกิจหลายแห่งในปัจจุบัน ได้นำเรื่องซีเอสอาร์มาเป็นประเด็นสื่อสารทางการตลาด

บางองค์กรขยายผลเพื่อให้ซีเอสอาร์เป็นรูปแบบในการกีดกันการแข่งขันทางการค้า จนทำให้ซีเอสอาร์กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้สนองประโยชน์ทางธุรกิจ แทนที่จะใช้เพื่อเจตนารมณ์ของการมีสำนึก

รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ของกิจการในทุกวันนี้ จึงมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยความเต็มใจและเกิดขึ้นจากความจำเป็นทางธุรกิจ

                การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจที่ประกอบด้วย ความสำนึกรับผิดชอบต่อ

สังคมก็ยังมีข้อถกเถียงเพิ่มเติมอีกว่า ควรเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ตามกฎหมาย ที่ไม่สร้างให้

เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมก็เพียงพอแล้วหรือว่าต้องเกิดขึ้นจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการ

ดำเนินกิจกรรมดูแลรับผิดชอบสังคมซึ่งอยู่เหนือการปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมายเท่านั้น

          การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ไม่ว่าจะเกิดจากการปฏิบัติตามความจำเป็นหรือตามความ

สมัครใจถือเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสองกรณี แตกต่างกัน

ที่ระดับความเข้มข้นของการดำเนินกิจกรรมและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนั้น ๆ

                กิจกรรมซีเอสอาร์ที่เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ หรือตามระเบียบข้อ

บังคับทางกฎหมายจัดอยู่ในชั้น (class) ของซีเอสอาร์ระดับพื้นฐานขณะที่กิจกรรมซีเอสอาร์ที่

เกิดจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์นั้นด้วยตัวเอง มิใช่เกิดจากความ

จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมาย จัดอยู่ในชั้นของซีเอสอาร์ระดับก้าวหน้า

                กิจกรรมซีเอสอาร์ยังสามารถแบ่งออกตามทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม หากเป็น

การดำเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นหลักจะจัดอยู่ในตระกูล(order) ที่เป็น

Corporate – driven CSR เช่นการที่องค์กรบริจาคเงินที่ได้จากกำไรในกิจการหรือบริจาคสินค้า

และบริการของบริษัทเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ถือเป็นการเสียสละทรัพยากรที่เป็นสิ่งของ

หรือเป็นการลงเงินอย่างหนึ่งหรือการที่องค์กรนำพนักงานลงพื้นที่ เพื่อเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้

ประสบภัย ถือเป็นการเสียสละทรัพยากรด้านเวลา หรือเป็นการลงแรงอย่างหนึ่ง

                หากเป็นการดำเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก จะจัดอยู่ในตระกูลที่เป็น

Social – driven CSR เช่นการเชิญชวนให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการของบริษัทในช่วงเวลาการรณรงค์ โดยบริจาครายได้จากการขายสินค้าและบริการส่วนหนึ่งต่อทุก ๆ การซื้อแต่ละครั้งให้แก่

หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ถือเป็นการระดมเงินบริจาคจากการซื้อของลูกค้าและมอบหมายให้ผู้อื่นที่มิใช่พนักงานในองค์กรลงแรงช่วยเหลือในพื้นที่

ที่มา : http//thaicsr.blogspot.com

จากบทความเรื่องระดับชั้นของซีเอสอาร์ มีประโยชน์ต่อองค์กรทุก ๆ องค์กรที่ต้องการที่จะประสบ

ความสำเร็จในทุก ๆ ด้านเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยส่วนรวมมีภาพลักษณ์ที่ดีมีความรับผิดชอบ

ต่อสังคมโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจมากจนเกินไป.

 

                                                @@@@@@@@@@@@@@@@

 

หมายเลขบันทึก: 277787เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ ๆ

บล็อคสวยจังเลย วิชาการไว้อ่านทีหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท