ลอกเลียน KM ในเวที RW


"การจัดการความรู้ Model เขต" ที่ดำเนินการและพัฒนาผ่านเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขต โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลาย

   ในระยะนี้ ดิฉันได้เดินทางไปร่วมเวทีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขต หรือ RW (Regional Workshop) เป็นเวทีการเรียนรู้ที่เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในหน่วยงานระดับจังหวัดมาชุมนุมเกี่ยวกับงานส่งเสริมการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอและสรุปงานที่ตนเองทำให้กับจังหวัดอื่น ๆได้รับรู้

   ความเป็นจริงก็รับผิดชอบ RW จำนวน 2 เขตคือ เขตที่ 1 จังหวัดชัยนาท (9 จังหวัด) และเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี (8 จังหวัด) แต่พี่ ๆ ที่ทำงานติดภารกิจก็มอบหมายให้ดิฉันไปร่วมเวทีดังกล่าวของเขตอื่นๆ แทนด้วย เช่น เขตใต้ จังหวัดสงขลา (14 จังหวัด) จึงทำให้เกิดกำไรทางความรู้และประสบการณ์โดยเฉพาะ "การฟัง" หน่วยงานระดับจังหวัดนำเสนอความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ปีงบประมาณ 2552 ไปเห็นวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเทคนิคการสรุปความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนวิธีการ/ช่องทางที่ใช้แก้ใขปัญหาอุปสรรคในการใช้เครื่องมือเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายให้เกิดขึ้น

   กรมส่งเสริมการเกษตร มีเป้าหมายในการใช้การจัดการความรู้เพื่อ "พัฒนาคน  พัฒนางาน  และพัฒนาองค์กร" นั้น ถ้าตามสภาพความเป็นจริงของการทำงานเจ้าหน้าที่จะมีภารกิจค่อนข้างมาก งานต่าง ๆ ต้องทำอย่างเร่งรีบ ส่วนใหญ่มักจะทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา ซึ่งการทำงานให้เสร็จตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ก็เหนื่อยมากแล้ว ดังนั้น ถ้าจะต้องให้มาทำ KM อีกก็จะเป็นการยุ่งยากและเป็นภาระให้ได้อย่างง่ายดาย ง่ายอย่างไม่รู้ตัว จึงเรียกร้องหรือร้องหาความเป็นรูปธรรมของ KM ที่เป็นภาพเดียวกันได้ไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก

   แต่บังเอิญที่ "การจัดการความรู้" มิใช่เรื่องที่ถูกกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือเดินเป็นเส้นตรงเส้นเดียวเท่านั้น เพราะทักษะและประสบการณ์ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่มีความแตกต่างกัน มีการรับรู้และนำไปใช้ได้ไม่เหมือนกัน มีการยอมรับและเชื่อถือเพียงบางส่วน สิ่งดังกล่าวจึงมีจุดจบอยู่ที่ "การจัดการความรู้ หรือ KM เป็นเรื่องของการเรียนรู้" ดังนั้น มุมมองของการคิดและการนำไปใช้จึงค่อนข้างยาก เพราะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการสั่งการเพื่อปฏิบัติตามตัวชี้วัด เราก็จะได้ KM เพียงเพื่อเป็นหลักฐานให้สอบผ่านเกณฑ์ตามที่คุณครูกำหนดไว้ การเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ก็อยู่ใน "ระดับของการรับรู้"

   แต่ปรากฎการณ์ของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน RW1 และ RW2 ที่ผ่านมาทำให้เกิดข้อคิดของการทบทวนทำความเข้าใจถึง "การจัดการความรู้ เพื่อการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่" การจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานมาร่วมงาน "สังสรรค์ประสบการณ์ที่ได้ผล" เป็นบรรยากาศที่ผู้ร่วมงานช่วยกันทบทวนและทำความเข้าใจกับ KM มีจิตใจที่ช่วยเหลือความรู้ระหว่างกัน เพื่อมุ่งเป้าหมายไปที่ลูกค้าคือ เกษตรกร และองค์กร อยู่กันอย่างมีความสุข

   ดังนั้น การจัดการความรู้ ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในวันนี้ได้ใช้ KM เพื่อการเรียนรู้ จึงได้มีกิจกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองได้ โดยเฉพาะ "ระบบการคิด...เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง" ที่เราเรียนรู้เป็น  มีวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น  และรู้จักรวบรวมและจัดเก็บความรู้เป็น คำว่า "พัฒนาคน" ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกและเป็นฐานของการจัดการความรู้ ก็น่าจะได้ผลจากการจัดกิจกรรมและโอกาสให้กับหน่วยงานย่อยโดยผ่านเวทีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขต (RW) ส่วนผลสำเร็จในเชิงรูปธรรมก็มีให้เห็นอยู่ตามเขตต่าง ๆ มีรูปแบบ (Model) จำนวน 6 Model ที่แต่ละเขตได้พัฒนาขึ้นมาใช้ตามวัตถุประสงค์ในปี 2552 ของแต่ละเขต.

                บันทึกร่วมการอธิบายเนื้อหาประกอบภาพ (ชาญวิทย์ นครศรี)

หมายเลขบันทึก: 277751เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ คุณจือ

พอรู้เรื่องกับเขาบ้าง

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

  • อาจจะต้องทนฟังการบ่น ของคนภูธร บ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี