QA : KM ไร้รูปแบบ


การได้พูดคุยกับทุกคนแบบตัวต่อตัว และพูดคุยกันอย่างเปิดใจ ทำให้ผมค้นหาจุดอ่อนของสำนักงานเลขานุการในการทำประกันคุณภาพได้

     เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาผมนัดเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขานุการ คณะสหเวชศาสตร์ประชุม ประจำเดือน การประชุมสำนักงานประจำเดือนจะประชุมหลังวันประชุมคณะกรรมการประจำคณะ  เดือนเมษายน ที่ผ่านมาคณะกรรมการประจำคณะ ประชุมวันศุกร์ที่ 21 เมษายน ผมจึงนัดประชุมในวันจันทร์ที่ 24 เมษายน เวลาเที่ยงตรง ก่อนประชุมครึ่งชั่วโมงอนุญาตให้ทุกคนไปทานข้าวกลางวันก่อนได้ เพราะสายสนับสนุนการเรียกประชุมแบบพบปะกันหมด หาเวลาพร้อมกันไม่ได้

      เทศกาล QA ใกล้เข้ามาแล้วครับ สำหรับการประเมินการประกันคุณภาพของหน่วยงานย่อยในระดับคณะ ประชุมสำนักงานรอบนี้ผมจึงนำเรื่องเสนอเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องของการประกันคุณภาพ จากการไปทำกิจกรรมการจัดการความรู้ที่จ.เพชรบุรี ทำให้ผมทราบว่า สิ่งที่ต้องเร่งทำ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ QA เพราะมีหลายคนยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง QA มีทั้งบุคลากรใหม่และเก่า ท่านคณบดี (รศ.มาลินี) ช่วยเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับ QA ใน Blog เป็นการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งให้หลายคนได้เรียนรู้ ผมได้แจกแบบประเมินแบบง่าย ๆ ให้ทุกคนลองประเมินความรู้เกี่ยวกับ QA หลายคนประเมินความรู้เกี่ยวกับ QA อยู่ในระดับปานกลาง ในแบบประเมินได้มีคำถามเกี่ยวกับ QA ด้วย ว่าอยากเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง  คำตอบที่ได้คือ

  • การจัดเก็บเอกสาร
  • อธิบายตั้งแต่เริ่มแรกว่า QA คืออะไร และงานที่ทำอยู่เกี่ยวข้องอย่างไร
  • รายละเอียดเกี่ยวกับดัชนี+ตัวชี้วัดแต่ละองค์ประกอบ
  • เรื่องการจัดเก็บเอกสาร และแนวทางในการทำประกันคุณภาพ
  • จุดเริ่มต้นของการทำประกันคุณภาพ
  •  คณะมีการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว
  • การแก้ไขจุดอ่อนของการประเมินที่ผ่านมา
  • รูปแบบของการประกันคุณภาพ ขั้นตอนที่จะปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
  • เกณฑ์ต่าง ๆ ของ QA
  • QA คือ อะไร
  • การทำ QA เพื่ออะไร
  • ควรจะทำอะไร และอย่างไรบ้าง
  • เกณฑ์ดัชนีชี้วัด
  • แนะนำวิธีปฏิบัติจริงหรือแนวทางการปฏิบัติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานจริง
  • พื้นฐานเกี่ยวกับประกัน ความหมายแต่ละองค์ประกอบ การแบ่งองค์ประกอบ การจัดเก็บเอกสารแบบง่าย ๆ ไม่เป็นวิชาการ
  • อยากให้พูดคุย เกี่ยวกับแนวทางการทำเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพแต่ละหน่วยงาน

     คำตอบที่ทุกคนอยากได้เป็น BAR สำหรับผมก่อนที่จะให้ความรู้แบบบอย ๆ กับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขานุการ มีบางคนเป็นผู้ช่วยให้ผมได้ สิ่งสำคัญทุกคนต้องการเน้นบรรยากาศแบบเรียบง่าย ไม่เป็นวิชาการ

       ในขณะที่บางคนรู้เรื่อง QA บ้าง ไม่รู้บ้าง ตอนที่ประชุมสำนักงานผมได้นำเรื่องเพื่อพิจารณามาเป็นวาระแรก โดยให้ทุกคนลองประเมิน QA สำนักงานตามองค์ประกอบคือ

  • องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และแผนดำเนินงาน
  • องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและจัดการ
  • องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ
  • องค์ประกอบที่ 9 การประกันคุณภาพและการพัฒนาองค์กร
  • องค์ประกอบที่ 10 ภารกิจหลัก

    โดยดูจากเกณฑ์การตัดสิน หรือไม่ดูก็ได้ จากสิ่งที่ผมให้ทุกคนลองประเมิน มีตัวเลขการประเมินที่แตกต่างกันออกไป ผมสนใจตัวเลขที่ให้ผลการประเมินต่ำกว่า 3 หรือตัวเลข 3 ของบางคน หลังจากที่ผมได้การประเมิน QA ของสำนักงานเลขานุการ โดยเกือบทุกคนในสำนักงานเลขานุการ (บางคนไม่ได้มาทำงาน) แล้วผมนำมารวบรวม และสอบถามรายคน สำหรับคนที่ให้คะแนนต่ำกว่า 3 หรือ 3 สำหรับบางคน ทำให้ผมได้ Tacit ของแต่ละคน โดยเปิดใจพูดกัน เพราะผมรู้ว่าในขณะที่ผมเรียกประชุมแบบเป็นทางการนั้น เป็นวงใหญ่และผมจะไม่ได้ความในใจของแต่ละคนที่มองว่าเป็นจุดอ่อนของสำนักงานเลขานุการในการทำประกันคุณภาพ บางเรื่องก็เป็นผลพลอยได้สำหรับการพัฒนางานของสำนักงาน จากการพูดคุยกันแบบเปิดใจ

    การได้พูดคุยกับทุกคนแบบตัวต่อตัว และพูดคุยกันอย่างเปิดใจ ทำให้ผมค้นหาจุดอ่อนของสำนักงานเลขานุการในการทำประกันคุณภาพได้ ในขณะที่ผมพูดคุยก็จดไปด้วย ทำหน้าที่คุณลิขิตไปด้วย หลังจากผมได้ข้อมูลทั้งหมดก็นำมารวบรวมและพิมพ์แจกให้กับทุกคนเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้น และส่งให้กับผม ทำให้ผมรู้วิธีการแก้ไขปัญหาจุดอ่อน (กำจัดจุดอ่อน) ได้หลากหลายวิธีของแต่ละคนครับ เป็นการเรียนรู้ก่อนการประเมินการประกันคุณภาพของสำนักงานเลขานุการ

                                                                                                                  บอย

                                                                                  ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

หมายเลขบันทึก: 27575เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท