ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

PQ - Play Quotient


การเล่นในวัยเด็กเล็กมีประโยชน์มากมาย แต่ในเด็กโตก็เป็นการทำกิจกรรม

มารู้จักทักษะ ความสามารถในการจัดการชีวิต อีกอันนึง ที่เราไม่ค่อยรู้จักดีกว่าค๊าบบบบ

 

นั่นก็คือ ... ทักษะและความสามารถในการเล่น ว๊าวๆ จะช่วยเด็กๆ ได้มากเลยนะครับ

 

Play Quotient (PQ) หมายถึง ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น เล่นแล้วฉลาดขึ้นอย่างไร    เรามาดูกัน

การเล่นเป็นการทำงานของเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ส่งเสริมการพัฒนาสมอง และเพิ่มประสิทธ์ภาพและศักยภาพสมอง และ เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธ์ภาพมากสุดของเด็ก โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่เล่นกับลูก พ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก ยิ่งเล่นมากยิ่งฉลาดมาก มี PQ สูง   แต่ปัจจุบันผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจและขาดความรู้ด้านพัฒนาการเด็ก และมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง มีการให้เด็กเรียน ความรู้มากมาย เรียกว่า over program ซึ่งไม่มีเวลาทำอย่างอื่น เด็กมีความกดดัน และขาดทักษะชีวิต จริงๆแล้ว ควรจะมีเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตวัยเด็กให้สมดุล ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ การปรับตัว การช่วยเหลือกัน, การเข้ากับผู้อื่น ใช้ชีวิตในสังคม, มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น


ประโยชน์ของการเล่น

การเล่นในวัยเด็กเล็กมีประโยชน์มากมาย แต่ในเด็กโตก็เป็นการทำกิจกรรม ช่วยเหลืองานบ้าน รับผิดชอบตนเอง หรือการทำงานอื่นๆตามวัย ซึ่งเป็นการวางพื้นฐาน ทักษะต่างๆของชีวิตไว้ เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่
การเล่นในวัยเด็กมีประโยชน์ดังนี้

-          ได้พัฒนะทักษะอย่างหลากหลายและใหม่ๆ เช่นการสร้างกลยุทธ์ การฝึกฝนต่างๆมีผลเมื่อเขาเติบขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็จะสามารถวางแผนทำธุรกิจได้เพราะได้มีการฝึกกลยุทธ์หลากหลาย ประลองและท้าทายกับความสามารถ มาตั้งแต่เยาว์วัย

-          ได้ฝึกทักษะการปรับตัวให้เข้ากับสังคมเพราะได้เล่นกับเพื่อน พี่น้อง เรียนรู้สังคม ตั้งแต่เด็กว่ามีแพ้-ชนะ ไม่ใช่ชนะอย่างเดียว ได้เรียนรู้ว่าบุคคลมีลักษณะและนิสัยแตกต่างกัน บางคนมีเล่ห์เหลี่ยม บางคนตรงๆ บางคนมีวิธีคิดแปลกๆ และหลากหลาย

-          เรียนรู้ความผิดหวัง มีอุปสรรค์ ก็สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นแล้วประสบความผิดหวังก็ไม่คิดย่อท้อ หรือฆ่าตัวตาย แต่มีความอดทน

-          ได้การฝึกการสังเกต การลำดับเหตุการณ์

-          ได้สร้าง ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และ การแสดงออกโดย เฉพาะการเล่นสมมุติ

-          ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ เช่น สิ่งใดอันตราย สิ่งใดไม่อันตราย

-          ได้พัฒนาศักยภาพสมองให้ครบถ้วนตามชีวิตจริงที่ควรจะมี

-          เกิดความอดทน ดิ้นรนต่อสู้ ความเข้มแข็งความสนใจ

-          ได้ฝึกฝนการสร้างไหวพริบสัญชาตญาณ โดยเฉพาะเวลาเล่นกับเพื่อน เพราะเด็กต้องมีวิธีหลบหลีก หรือคิด กลยุทธ์

-          เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความสุขทำให้สมองเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี เช่นเล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นรำที่ชอบ

-          ร่างกายเจริญเติบโตดีโดยเพราะการเล่นเกมส์กีฬา เล่นกับเพื่อนสุขภาพแข็งแรง ไม่มีแรงกดดันจากสิ่งต่างๆ

วิธีการเรียนรู้ แต่ละคนจะชอบแตกต่างกัน การเรียนรู้ผ่านได้หลายทาง  เช่น

 

·        ตา (มองเห็น,อ่าน ) ได้ยินได้ฟังทั้ง ทีวี, วิทยุ,คนเล่า

·        หู ฟังเพลง ดนตรี

·        กายภาพสัมผัสทางผิวกาย มือจับ

·        ลิ้น ลิ้มรสชาติของต่างๆจมูกได้กลิ่นต่างๆชอบ ไม่ชอบ


การเล่นมีวิธีการ ที่หลากหลายมากมาย แล้วแต่วัย เช่นอาจเรียนรู้ผ่าน

-          การเล่นกับเพื่อน,พ่อแม่,พี่น้อง

-          การเล่นของเล่น ของเล่นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการเพิ่ม PQ

-          การเล่นเกมส์กับเพื่อน เกมส์คอมพิวเตอร์ที่ฝึกการคิด ไม่ใช่เกมส์ต่อสู้ยิงกัน การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือเล่นคนเดียวอย่างเดียว จะเกิดการขาดทักษะทางสังคม การปรับตัว

-          การทำงานอดิเรกต่างๆเช่นฟังเพลง ดนตรี เต้นรำ

-          เล่นสมมุติโดยเฉพาะเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบ และ วัยอนุบาลซึ่งทำให้เกิดจินตนาการกว้างไกล

-          เล่นขายของ

-          เล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นเป็นทีมหรือเล่นกับเพื่อน

การเล่นที่ดี จะต้องมีสมดุลระหว่าง

-          การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

-          ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ไหวพริบ

-          การได้เล่นเพลิดเพลิน สนุก มีความสุข

-          การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม เพื่อน

การเลือกของเล่น ของเล่นเป็นเครื่องมือหนึ่งของการสร้าง PQ ที่มีเครื่องมืออีกหลากหลายที่ไม่จำเป็นต้องใช้ของเล่น ของเล่นที่ดี คือของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเองจาก สมาชิกในครอบครัว แต่ส่วนใหญ่พ่อแม่ไม่มีเวลา จึงต้องหาซื้อของเล่น ในแต่ละวัยของเล่นก็จะแตกต่างกัน เช่น   วัยเด็กอายุน้อยกว่า 1ขวบ ก็เป็นของเล่นที่พัฒนาสายตา (โมบาย) สีต่างๆ มีเสียงต่างๆ เพื่อพัฒนาการได้ยิน

และควรเป็นของเล่นที่ชิ้นใหญ่ๆ และไม่อันตรายต่อร่างกายเพราะเด็กวัยนี้ชอบเอาของเข้าปาก วัย2-3 ขวบก็จะเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น Active, ชอบสังเกต และมีข้อสงสัยตลอดเวลา มักจะตั้งคำถามตลอดเวลา และตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆต่างๆที่ได้เห็น เพราะฉะนั้น พ่อแม่ต้องอดทน, มั่นคงและใจเย็น ของเล่นวัยนี้ก็อาจจะเป็น กระดานเขียน, เป่าฟองสบู่, เครื่องดนตรีพลาสติก, ตุ๊กตา, รถยนต์ไม้บลอก, เครื่องเล่นที่เป็นเสียงสัตว์เวลากดปุ่มที่ไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆ และที่ไม่แตกหัก

ส่วนวัยสูงขึ้นไปก็เริ่มปั้นดินเหนียว,วาดรูปต่างๆ, การต่อจิ๊กซอว์, การต่อรถถัง, หุ่นยนต์, การใช้บัตรคำ แต่ต้องระวังว่าผู้ปกครองอย่ายัดเยียด ให้เด็กเรียนรู้แต่วิชาการ ต้องมีความสมดุลเหมาะสมในแต่ละช่วง อายุโดยสังเกตสีหน้า ท่าทางเด็ก ถ้าหน้าหงิกงอในการเรียนรู้ หรือ ไม่สดชื่นเลย พ่อแม่ควรจะต้องปรับตัวถอยออกมาบ้าง


หลักการเลือกซื้อของเล่น

ต้องเหมาะกับวัย เช่นการให้เด็กเล็กๆต่อจิ๊กซอว์ ยากๆ เด็กทำไม่ได้ก็จะรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถเพราะ ฉะนั้นต้องเริ่มจากง่ายๆก่อนที่เหมาะกับวัย

การหาของเล่นควรจะพิจารณาดังนี้

·        เหมาะกับอายุไหม ดูที่ข้างกล่อง

·        เด็กสนใจและใช้บ่อยแค่ไหน,สนใจได้นานหรือเปล่า

·        เหมาะกับทักษะ ความสามารถเขาไหม ถ้าไม่เหมาะกับเขาจะเกิดความหงุดหงิดกดดัน

·        ออกรูปแบบเหมาะสมไหม, มีอันตรายหรือไม่ เช่น มีคมแหลม, แตกหักง่าย ใช้สารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายไหม (ถ้าหากเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ ห้ามของเล่นเศษเล็กๆ เช่น เม็ดมะขาม เพราะกลืนไปติดหลอดลมตายได้)

·        สนุกไหมถ้าเล่นด้วย, ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆไหม เกิดทักษะอะไรเช่น การต่อจิ๊กซอว์ ทำให้เด็กมองภาพรวมออก เกิด การคิด การใช้สมอง

·        มีการรับประกันไหม (ถ้ามีราคาแพง)

·        อายุทนนาน-ทนนานหรือไม่

·        สะอาดและใช้ใหม่ได้ไหม

 

 

คำถามทั่วไป ที่คนชอบถาม

1.      ความสำคัญของ PQ ดีอย่างไร   ต่อการเจริญเติบโต  สร้างการเจริญเติบโต มีผลต่อจิตใจ, สมอง, ร่างกายของเด็ก

2.      PQ ไม่สูง หรือผู้ปกครองไม่สนใจจะส่งเสริมตั้งแต่ต้น เด็กจะมีอาการ ขาดไหวพริบ ความคิดสร้างสรรค์อยู่คนเดียวซึมเศร้า เหงา ซึม แยกตัว เข้าสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้

3.      PQ มีสัดส่วนได้มาโดยกำเนิด หรือเกิดจากการเรียนรู้ได้ภายหลัง เป็นอย่างไรบ้าง จากการเลี้ยงดูมากกว่า

4.      การเลี้ยงดูให้มีPQสูงทำได้อย่างไร  เล่นกับเพื่อน,พี่น้อง,พ่อแม่ เล่นที่เหมาะกับวัย...

5.      มีกิจกรรมประการใดที่ท่านจะแนะนำผู้ปกครองให้เด็กเข้าร่วมเพื่อพัฒนา PQ บ้างหรือไม่ถ้ามี คืออะไร
- ร้องเพลง ดนตรี
- เล่นกีฬากับลูก
- เล่นต่างๆ,เล่นสมมุติ
- เล่นกับเพื่อน
- ทำกิจกรรมร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 275656เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

- ตามมาเล่นด้วยคนค่ะ 555 ล้อเล่นค่ะ

- เพื่อเป็นการพัฒนาไงค่ะ

ผมนั้นอ่อนด้อยน้อยปัญญาอีกมากครับ พี่ เพชรน้อย

ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่ถ้าจะเล่นนี่ แบบผมต้องป๊อกเด้งครับ

เอ้ย สงสัยจะเป็นเล่นตัวครับ

 

ขอพัฒนาตัวเองด้วยคนนะครับ

สงสัยจะอันนี้ค่ะ PQ ชอบมากมายค่ะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท