หวงแหนภาษาถิ่น วันละคำ “แฉง”


"แฉง" หมายถึงไม่ตรง เฉียง ๆ มีเป้าหมายอีกแบบแต่เบี่ยงเบนประเด็นไปอีกแบบ และรอกระทบกลับไปมาจนในที่สุดก็ถึงเป้าหมายเหมือนกัน

 

     เมื่อวานได้คุยกับอาจารย์ที่โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มรภ.สงลา ด้วยอาจารย์เล่าให้ฟังว่ามีอาจารย์รุ่นน้อง (เพื่อนของน้องชาย) ท่านสังกัดโปรแกรมอื่น ในมหาวิทยาลัยเดียวกันผ่านมาที่โปรแกรมฯ แล้วถามถึงผมว่าเป็นยังไงบ้าง ได้กลับมาบ้างไหม ก็เลยได้ตอบกลับไปเชิงหยอกเย้าว่าที่มาถามนะ ทำแฉงไหม? เพราะคนถามและคนถูกถามล้วนแต่ยังโสดและเนื้อหอม ทั้งสองคนเพิ่งได้รับการพิจารณาบรรจุเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งอาจารย์มาหมาด ๆ เมื่อเดือนที่แล้ว  คำว่า"แฉง" จึงถูกย้อนถามกลับมาว่าไม่เข้าใจ แต่พอพูดเป็นภาษาใต้ให้ฟังอาจารย์ท่านถึงกับ อ่อ!

     "แฉง" เป็นคำที่ใช้กันบ่อย ๆ ในภาษาถิ่นใต้ หมายถึงไม่ตรง เฉียง ๆ มีเป้าหมายอีกแบบแต่เบี่ยงเบนประเด็นไปอีกแบบ หากเอาตามการรับรู้จะไม่ใช้อ้อม ๆ กล่าวคืออ้อม ๆ จะเป็นลักษณะโค้ง ๆ แต่แฉงคือเป็นเส้นตรงที่เฉียงไปและรอกระทบกลับไปมาจนในที่สุดก็ถึงเป้าหมายเหมือนกัน แฉงเป็นคำในทางลบมากกว่ที่จะเป็นบวก เช่น การเข้าไปถามรายละเอียดการรับสมัครงาน แต่ที่แท้จริงแล้วคู่แข่งต้องการทราบว่าบริษัทนี้มีการขยายงานไปในทางใด หรือการทำแฉงจะเป็นการตีหน้าเศร้าเข้าไปให้ความช่วยเหลือยามทุกข์ แต่จริง ๆ ในใจต้องการข้อมูลไปให้คู่กรณีเพื่อกดดันเอาในตอนหลังเมื่อจะมีการเจรจาต่อรอง อันนี้พบกันได้เวลามีคดีความระหว่างกัน แต่ก็มีการใช้ในเชิงหยอกเย้ากันเสียมากกว่า คือพูดว่าทำแฉงด้วยลักษณะที่ไม่โกรธเคืองอะไรกัน ประมาณว่ารู้ทันเป็นส่วนใหญ่ ในทางบวกมักจะไม่นิยมพูดถึง แต่มีให้เห็นดังจะยกมาสัก 1 กรณี 

     เคยคิดเรื่องนี้ต่อประเด็นการดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพว่า เราทำตรง ๆ มักจะเผชิญแรงต้าน อาจจะต้องทำแบบ "แฉง" หรือทำแบบวิถีโค้ง เพื่อลดแรงต้าน การดำเนินงานก็อาจจะสำเร็จได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือหากคนพิจารณาอนุมัติมองไม่เห็น ผู้รับผิดชอบอธิบายไม่ดี โครงการก็จะถูกงดไปได้ หรืออาจจะมีอุปสรรคจากระบบระเบียบในการเบิกจ่ายฯ ในอนาคต เช่นที่เคยทำและผลสะท้อนกลับมาดีมาก ในประเด็นที่ต้องการให้คนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่อผู้พิการเสียใหม่ ก็ดำเนินการโดยการสนับสนุนให้ผู้พิการออกมามีส่วนให้กับสังคม เช่นไปเลี้ยงอาหารและจัดกิจกรรมวาดภาพประกวดที่โรงเรียน และให้ผู้พิการคิดงาน ดำเนินงานเองทั้งหมด คุณก้ามปูเขียนไว้ที่นี่ (คลิ้ก) เป็นต้น 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 275254เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เเวะมาเยี่ยมครับ สำหรับสร้างเครือข่ายร่วมกัน

เห็นด้วยครับบางครั้งเราต้อง "แฉง" บ้างครับในการทำงานเพื่อกันการดักขากันครับ อิอิ

สวัสดีครับอาจารย์

 "แฉง" ที่เป็นคำนามที่ใช้กันบ่อยคือ คือหน้าของตะเกียงคนกรีดยางที่ใช้ถ่านแก๊สครับ

"หยุดเดี๋ยวต๊ะขัดหน้าแฉงก่อน มันว๋องแว๋งหน้าแฉงไม่แวว"

ได้กันบ่อยในคนกรีดยางครับ

สวัสดีคะ

  • แวะมาเรียนรู้
  • ภาษาถิ่น วันละคำ “แฉง”
  • หุหุ เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันคะ
  • ขอบคุณที่ทำให้รู้จักคำว่า “แฉง”
  • เดี๋ยววันหลังร่วมแลกเปลี่ยน ภาษาเหนือด้วยคะนะเจ้า อิอิ

สวัสดีคะ

ยิ้มๆ ว่า ไม่เคยได้ยินเลย คะ แฉง อะไร

แบบว่าเป็นคนตรงๆ นะคะ ไม่ค่อยแฉง

เอ ฟังไปฟังมา น่าจะ เหมือนกับคำว่าเฉไฉนะคะ

ปูครับ ปูจะไปพบอาจารย์มั้ยครับ พาบังหีมไปทำ"แฉง"ด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์กู้เกียรติ
  • ขอบคุณครับ 
  • แตะมือเป็นเครือข่ายกันนะครับ
  • ผมเพิ่งแวะไปให้ คห.เรื่องทีม KM มาครับ ใจตรงกันจัง

สวัสดีครับคุณเสียงเล็ก ๆ

  • ขอบคุณครับ ได้ทราบประโยชน์ของ "แฉง" อีกแบบนึงครับ

สวัสดีครับบังหีม

  • แฉงในฐานะคำนาม ผมเพิ่งได้ทราบครับ 
  • ผมทำสวนยางแบบแฉง ๆ นะครับ (ฮา! ใช้ได้ไหมครับ)
  • วันนี้ไปออกไปสั่งข้าว นั่งทานที่ร้านไปตอนจะสองทุ่ม เขาเปิดไฟแล้วเปิดพัดลมเพดาน หลอดไฟก็หมอง พัดลมก็อยู่ใต้หลอดไฟพอดี เขาเปิดไม่เร็ว ระหว่างที่นั่งรอมัน "ว๋องแว๋ง" จนเวียนหัว จนต้องปลี่ยนเป็นมานั่งข้างนอกเลยครับ
  • ว่าแต่มันว๋องแว๋งเพราะไฟกับพัดลมหรือว่าสูงวัยกะไม่ทราบได้

สวัสดีครับคุณ Rattanaporn 

  • ด้วยความยินดีครับ
  • แล้วจะรออ่านภาษาถิ่นเหนือนะครับ

อาจารย์ครับ เสียวๆกับน้องปูครับ กลัวเลขแปดพลัดใสหัวตัว ฉ ครับ

สวัสดีครับคุณก้ามปู

  • เขียนเพื่อพักสมองนะครับ หลายวันแล้วจ่ออยู่กับ Reading List 
  • "แฉง" นะมีให้เห็นได้ทุกวันลองทบทวนคนที่มาติดต่อกับเราดู จะพบได้นะครับ 
  • เฉไฉคงคล้าย ๆ กับแฉ แต่น่าจะไม่เหมือนกันทีเดียว อันนี้ต้องรบกวนบังหีมแล้วล๊ะ 
  • ขอพาดพิงบังหีมไว้ตรงนี้เลยนะครับว่า ไม่ต้องทำแฉง เดี่ยวจะจัดให้ขึ้นมาเที่ยวกันทางอีสาน มากันทั้ง ศวพถ.เลย ดีไหม

สวัสดีครับคุณชายขอบ

               คำว่า"แฉง" แถวบ้านผมมีความหมายว่า ตัวกัน/บัง เช่น แฉงบังแดด หมายถึง การหาวัสดุ เช่น ทางพร้าวมาบังทิศทางที่แดดส่อง

สาวนี่พาเพื่อนมาทำแฉง หมายถึง ผู้หญิงคนนี้พาเพื่อนเพื่อนมาด้วยกันโดนจีบ...อิอิ...นาน ๆ ได้แหลงทีสาหรอยเข้าไปในอก...

                                        ขอบคุณครับ

บังหีมครับ
  • แฉง ที่เลขแปดพลัดใส่หัว ไม่กล้าเขียนครับ
  • ว่าแต่มีคนบอกว่าผมกับบังหีมกะเหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นเรื่องเดียวของบังหีมไม่ต้อง ของผมต้อง อันที่เลขแปดพลัดใส่หัวนั่นแหละ (ฮา ๆๆๆ) 
  • บังหีมอธิบาย เฉไฉ กับ แฉง ให้คุณก้ามปูด้วยนะครับ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

สวัสดีครับนายช่างใหญ่

  • จริง ๆ แล้วหากผมเรียนสายช่าง แล้วเป็นช่าง เขาก็คงเรียกช่างใหญ่ พอไปเรียนหมออนามัยกลับมาเขาเรียกหมอใหญ่ ทุกวันมาเป็นครูเขากะเรียกอาจารย์ใหญ่
  • แต่พอเขาเรียกอาจารย์ใหญ่ขับรถไปใน มอ.แล้วเสียว ๆ มาถึงที่ มข.ใหม่ ๆ เขามีงานพระราชทาน...เป็นกรณีพิเศษให้กับอาจารย์ใหญ่พอดีกะยังเสียว ๆ ไม่หาย (ฮา)
  • ขอบคุณครับยังมีคำว่าแฉงที่ไม่รู้และได้รู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยนะครับ
  • นักวิจัยเชิงคุณภาพ ผมว่าต้องสนใจคำแบบนี้นะ หากทำงานกับชุมชนในท้องถิ่น เพราะมันบอกความหมายของมัน และมีนัยยะเป็นความจำเพาะสูง

สวัสดีครับ...

  • "แฉง" เป็นลักษณะการกระทำคล้ายๆ กับโยนลูกหินถามทาง
  • บางทีเพื่อก็เอาเราทำแฉง อยากพบหญิง แต่บอกหญิงว่าเราธุระ หรือให้เรานัดหญิงมาเพื่อที่ตัวเองได้พบหญิงกัน นั่นแหละเอาเพื่อนทำ "แฉง"
  • "แฉง" คือตัวกั้นแสงให้เกิดการตกกระทบแล้วสะท้อน
  • เพราะฉนั้น เวลวเพื่อนเราทำอะไรอย่างหนึ่งโดยให้เราออกหน้าแล้วมีผลสะท้อนไปถึงตัวเขาเราสามารถบอกได้เลยว่า "เอาเราทำแฉง"  

สวัสดีครับครูราญฯ

  • เป็นการเติมเต็มที่ยอดเยี่ยมเลยครับ 
  • ขอบคุณมากครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท