หนูศัตรูเก่าแก่ของก้อนเห็ด(2)


การป้องกันหนูกัดก้อนเห็ด

        (ต่อ) ผมได้เคยทดลองใช้หลายวิธีการในการแก้ปัญหาเรื่องหนูกัดก้อนเห็ด   โดยได้อาศัยความรู้จากเกษตรกรผู้ปลูกเห็ดหลายๆท่าน จึงอยากนำมาแลกเปลี่ยน และบอกความแก่ผู้สนใจติดตามบันทึกทุกท่านครับ

                1.โรงเรือนพักก้อนเห็ด และโรงเรือนเปิดดอกควรเป็นคนละโรงเรือนกันครับ ควรแยกห่างกันพอสมควร โรงเรือนพักก้อนเชื้อควรมิดชิดกว่าโรงเรือนเปิดดอก เพราะช่วงของการเจริญเติบโตของเชื้อโดยเฉพาะช่วงแรก มีความสำคัญมากที่สุด หากในระยะเวลา 10-15 วันแรกหนูเข้ามากัดกินเชื้อเห็ดทางรูปากถุงก็จะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดนั้นเสียไปทันที แต่หากเชื้อเห็ดสามารถเจริญได้ถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์แล้วก็ยังสามารถเก็บรักษาก้อนเชื้อนั้นเพื่อเปิดดอกได้อยู่บ้างแต่ต้องรักษาไม่ให้เกิดเชื้อราปรสิตขึ้นได้

                2.โรยเหยื่อล่อเพื่อลดปริมาณหนู และปรามให้หนูเกิดความขยาด โดยอาจใช้เหยื่อเป็นเศษขนมปัง หรือข้าวสารคลุกขมิ้น  ที่ได้ผลดีที่สุดคือ บะหมี่แห้ง(มาม่า) คลุกกับยาดำ(ซิงค์ ฟอสไฟท์)วางล่อหนูไว้เป็นจุด ซัก 2-3 จุดต่อโรง

                3.ลดการใส่รำละเอียด เหลือเพียง 5-6 กก ต่อ ขี้เลื่อย 100 กก. ก็เพียงพอเพื่อลดปริมาณปลายข้าว  หรือร่อนเอาปลายข้าวออกจากรำละเอียดก่อนผสมขี้เลื่อย

                4.วิธีการที่ได้ผลมากที่สุด คือ การเปลี่ยนหัวเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อที่ทำมาจากข้าวฟ่าง  ข้าวเปลือก หรือข้าวโพด เป็นหัวเชื้อที่ทำมาจากขี่เลื่อยจะช่วยลดการทำลายของหนูลงได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เลยที่เดียว  และยังมีผลดีคือ หัวเชื้อที่ทำมาจากขี้เลื่อยเจริญเติบโตได้ไวกว่าและแข็งแรงกว่าหัวเชื้อที่ทำมาจากข้าวฟ่างอีกด้วยครับ

 

               

หมายเลขบันทึก: 274921เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หวัดดีครับหายไปหลายเพลานะครับ  ยังคิดถึงอยู่  กลับมาก็ได้อ่านงานคุณภาพที่มีประโยชน์อีกเช่นเดย  ขอบคุณครับ

 

ขอบคุณครับ ท่าน ผอ.ก้ามกุ้ง(เรียกตามคนอื่นๆนะ)

ว่าจะโหวดให้ท่านได้รางวัลสุดคะนึง เสียดายที่รีบประกาสผล

ยังไงก็จะติตามอ่านผลงานท่านเช่นกันครับ

  • แวะมาอ่านการป้องกันหนูกัดก้อนเห็ด ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงาน

หวัดดีครับ ท่านเหรียญชัย

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม

  • มาขอบคุณ ที่แวะไปเยือน กล้วยไม้ฯ ใช้กาบมะพร้าวห่อฯ นะครับ
  • เรื่องเปลือกสนนั้น ในแง่ของใบสน เมื่อหล่นลงดิน จะไปยับยั้งการงอกของเมล็ดพืชหลายชนิดครับ บริเวณรอบ ๆ ต้นสนจึงไม่ค่อยมีหญ้าขึ้นนะครับ
  • ส่วนเปลือกสน น่าจะมีจุลินทรีย์บางชนิดที่เจริญได้ดี แล้วเป็นประโยชน์ต่อกล้วยไม้ได้นะครับ
  • ซึ่งสนเป็นไม้เมืองหนาว กล้วยไม้ก็ชอบอากาศเย็นอยุ่แล้วครับ
  • แต่โดยส่วนตัวผม ผมไม่สนับสนุนเท่าใดนักนะครับ
  • ถึงแม้จะสนในไทยก็ตาม เพราะไปรบกวนระบบนิเวศสนป่านะครับ
  • สบายดีนะครับ

ขอบคุณครับ ท่านชยพรที่เข้ามาเยี่ยมครับ

จริงอย่างท่านว่าครับเดี๋ยวหากเผยแพร่ว่าเปลือกสนใช้เพาะกล้วยไม้ได้อีก คนคนไปแงะเปลือดสนหมดป่าแน่

แวะมาชมคะ...

ได้ความรู้ดี อนาคตจะเพาะเห็ดเป็นงานอดิเรก สงสัยจะมีคู่แข่งทางการตลาดเสียแล้ว อิอิอิ

ขอบคุณครับ คุณพิมพ์ฟ้า

อย่าคิดว่าเป็นคู่แข่งเลยครับ คิดว่าเกษตรกรที่ปลูกเห็ดทุกคนเป็นภาคีที่ร่วมเดินทางในเส้นทางนี้ด้วยกัน ร่วมกันพัฒนาวงการเพาะเห็ด และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขปัญหาศัตรูเห็ด ดีกว่าครับ

ยินดีต้อนรับนะครับ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท