เคล็ด (ที่ไม่ลับ) ของการวางกฎระเบียบในครอบครัว


กฏระเบียบในครอบครัว

ในวันนี้ขอนำเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับเคล็ดลับการดูแลครอบครัวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ  ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาเท่าใดนัก  แต่ก็ต้องใช้ หลักการบริหาร(ครอบครัว) เพราะครอบครัวที่อบอุ่นไปด้วยความรักความเข้าใจก็จะเป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กต่อไป

1. ให้ลูกได้ร่วมกำหนดกฎระเบียบ โดยพ่อแม่อธิบายถึงความรู้สึกของตนเองที่ได้รับความกระทบกระเทือนใจจากพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุให้ต้องวางกฎข้อบังคับนั้น

2. กฎระเบียบต้องชัดเจน ปฏิบัติได้และเข้าใจง่าย เช่น อนุญาตให้ออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ แต่ต้องกลับบ้านไม่เกิน 1 ทุ่ม ถ้าเกินเวลากว่านี้ให้โทรศัพท์มาบอก พ่อแม่จะได้ออกไปรับ

3. ต้องให้เหมาะสมกับวัยและปฏิบัติได้ กฎที่วางไว้ต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของเด็ก ต้องให้เด็กมีอิสระตัดสินใจ เลือกหาทางปฏิบัติด้วยตนเอง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต

4. สร้างทางเลือกเพื่อลดความขัดแย้ง การกำหนดกฎการสร้างทางเลือก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือก ทำให้เด็กสามารถวางแผน ตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง และช่วยลดความขัดแย้งได้อีกด้วย

5. ปฏิบัติตามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อวางกฏแล้วต้องใช้สม่ำเสมอ ปฏิบัติตามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ความเสมอต้นเสมอปลายจะทำให้เด็กปฏิบัติตามกฎได้ด้วย ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่พ่อแม่ก็อาจยืดหยุ่นให้ลูกได้บ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องทำตามกฎนั้น ๆ

6. เตือนเมื่อทำผิดกฎ เตือนทันทีเมื่อลูกทำผิดกฎ โดยไม่แสดงอารมณ์โกรธหรือลงโทษรุนแรง แต่รับฟังและให้ลูกรอรับผลการกระทำของตนเอง ไม่ยอมใจอ่อนจะทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะปรับปรุงตนเอง และยึดมั่นปฏิบัติตามกฎได้ดีขึ้น

7. ไม่พร่ำบ่นซ้ำซาก เมื่อลูกทำตามกฎได้แล้ว ไม่ควรสั่งสอนหรืออ้างเรื่องเดิมซ้ำซากในวัน ต่อ ๆไป เพราะลูกไม่ชอบการพร่ำบ่น และอาจมีพฤติกรรมต่อต้านได้

8. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ เช่น อาจยกย่องชมเชยหรือจัดหารางวัลให้เหมาะสมกับโอกาส และสถานการณ์โดยอาจจะเปลี่ยนรูปแบบไป เพื่อสนับสนุนให้พฤติกรรมนั้น ๆ ของเด็กคงอยู่แต่ต้องระมัดระวังไม่ใช้รางวัลนั้น ๆ เป็นเครื่องต่อรองให้เด็กกระทำพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่ต้องการ เช่น ถ้าลูกกลับบ้านตรงเวลา แม่จะให้เงินซื้อเสื้อตัวใหม่ แต่เมื่อพบว่าลูกกลับบ้านตรงเวลา ให้พ่อแม่ชมว่า แม่ดีใจที่ลูกกลับบ้านตรงเวลา เพราะทำให้แม่สบายใจไม่ต้องกังวลเป็นห่วงว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับลูก รางวัลเป็นสิ่งตอบแทนความดีที่เด็กกระทำ พ่อแม่ควรสอนให้เด็ก หลังจากที่เด็กได้กระทำสิ่งนั้น ๆ ลง

9. ลดข้อบังคับเมื่อลูกฝึกตนได้ ค่อย ๆ ลดจำนวนข้อบังคับให้เหลือน้อยลง เมื่อลูกสามารถทำตามกฎได้อย่างมีวินัยในตนเอง เพื่อฝึกให้ลูกปกครองได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการบังคับจากพ่อแม่ให้น้อยที่สุด    

จากเคล็ดลับการบริหารครอบครัวดังกล่าวข้างต้น   ใครจะลองนำไปปรับใช้กับครอบครัวบ้างก็ไม้ได้หวงนะคะ  เน้นการนำไปปรับไช้นะคะ  เพราะพื้นฐานของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน  แต่ก็อย่าลืมว่าเด็กในวันนี้ต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า  ครอบครัวจึงถือว่าเป็นสถาบันแรกที่จะบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ที่มีทั้งชีวิตและจิตใจให้เติบโตต่อไปในวันข้างหน้านะคะ

อ้างอิงจาก : http://www.teenrama.com/dad_mam/old_dad_mam10.htm

                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 274854เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ผมว่าคำว่ากฏมันแข็งไปครับ น่าจะอบอุ่นกว่านี้ ก็แลกเปลี่ยนกันนะครับ

เอ? แล้วน่าจะใช้คำว่าอะไรดีคะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ขอบคุณค่ะ

เป็นเคล็ดลับที่ดีมากค่ะ ประโยชน์กับผู้อ่านมากเลย รูปภาพน่ารัก..... พี่โอ๋จ๊า

น้องนางบทความมีประโยชน์มาก สอนลงรูปให้ดว้ยวันเสาร์ที่ ๑๑ ก.ค.นี้

พี่ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงรุกเลยทีเดียว หากรากฐานไม่มั่นคงแล้วไซร้ ทุกอย่างก็สั่นคลอน

เป็นข้อคิดที่ดีมาก ๆ สำหรับทุกครอบครัวเลยจ้ะ

ครูนวยเคล็ดลับนี้ดีมากค่ะครูเปิ้ลจะนำไปใช้

ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ ทุกๆกำลังใจคือแรงผลักดันให้มุ่งมั่นสู่ผู้บริหารมืออาชีพต่อไป

ครูนวยเองค่ะ   

เชื่อมั้ยคะเป็นครูมา 10 ปี คนที่สอนยากที่สุดคือลูกตัวเองค่ะ

เชื่อค่ะคุณพี่ของน้องคูณด้วย2 เลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท