“การเพิ่มรายได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับยอดขาย”


ผู้เขียนจึงต้องการเสนอแนะแนวความคิดที่จะพลิกแก้ไข หรือหากลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะถึงกับวิกฤต และสามารถประคองธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้ สำหรับกลยุทธ์ที่จะนำเสนอนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับยอดขายแต่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่น ๆ ที่บางคนอาจจะมองข้าม และเป็นกลยุทธ์ที่หน่วยงานใหญ่ ๆ มักนำมาใช้เพื่อแก้ไขสภาวะวิกฤตได้ผลเป็นอย่างดี โดยที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องนำมาประยุกต์ใช้จะได้สอดคล้องและได้ผลจริง ๆ

กรณีศึกษา SMEs “การเพิ่มรายได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับยอดขาย

 

            ในปัจจุบันทุก ๆ องค์กรล้วนแล้วแต่มีปัญหาต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้สามารถที่จะตั้งเป้าหมายสูง ๆ หรือเพิ่มขึ้นจากในปีที่แล้วได้   และหลาย ๆ องค์กรต้องประสบสภาวะขาดทุนจนอาจจะต้องเลิกกิจการ   โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม   ผู้เขียนจึงต้องการเสนอแนะแนวความคิดที่จะพลิกแก้ไข  หรือหากลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะถึงกับวิกฤต  และสามารถประคองธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้  สำหรับกลยุทธ์ที่จะนำเสนอนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับยอดขายแต่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่น ๆ ที่บางคนอาจจะมองข้าม  และเป็นกลยุทธ์ที่หน่วยงานใหญ่ ๆ มักนำมาใช้เพื่อแก้ไขสภาวะวิกฤตได้ผลเป็นอย่างดี  โดยที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องนำมาประยุกต์ใช้จะได้สอดคล้องและได้ผลจริง ๆ

           

            กลยุทธ์ของการจัดซื้อ ธุรกิจที่ต้องมีการจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบอยู่ตลอดเวลา  เพื่อใช้เป็นสินค้าเพื่อขาย  หรือใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิต  ขอให้ท่านทั้งหลายได้ตระหนักอย่างมาก ๆ ว่าเราต้องมีการแก้ไข  หรือมีการปรับปรุงวิธีการจัดซื้อเช่น ไม่จำเป็นต้องซื้อครั้งละมาก ๆ   หรือขบวนการจัดซื้อใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่น  การเสาะหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ เพิ่มเติมเพื่อมาเปรียบเทียบและสามารถที่จะทำให้ต้นทุนต่ำลง  หรือได้รับของที่มีคุณภาพมากขึ้น  ส่งผลให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนสินค้าได้  โดยที่ไม่ทำให้คุณภาพสินค้าลดลง  อุปสรรค ที่มีสำหรับกลยุทธ์นี้ก็คือ ความคุ้นเคยกับแหล่งวัตถุดิบเดิม  หรือแหล่งสินค้าเดิม  อาจทำให้เกิดความเกรงใจเกิดขึ้นซึ่งเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง  แต่เพื่อความอยู่รอดของเราเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ  แต่เราอาจจะให้โอกาสแหล่งเดิมปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลงก่อนรายใหม่  ถ้าเขาทำไม่ได้เราก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง  นี่คือสิ่งที่เราให้ได้สำหรับความสัมพันธ์ที่ดีและมีมานาน

 

            กลยุทธ์การป้องกันและการลดการทุจริตในองค์กร  เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ องค์กรไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่  หรือขนาดกลางและขนาดย่อม  สิ่งที่มีผลอย่างมากสำหรับองค์กรก็คือ  ทุก ๆ องค์กรที่มีข่าวมาในอดีตว่ามีการทุจริต  ท่านจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าถ้าเป็นธุรกิจก็ต้องเลิกกิจการ  หรือเจ๊ง  แต่ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐก็ส่วนใหญ่ต้องได้รับการช่วยเหลือจุนเจือจากภาครัฐถึงจะอยู่ได้  และท่านจะเห็นได้จากหน่วยงานภาครัฐที่มีการขาดทุนอย่างล้นหลามทั้ง ๆ ที่ทำธุรกิจผูกขาด  หรือถ้าทำธุรกิจการเงินที่เจ๊งไปแล้วมากมายก็สามารถคาดเดาได้  ดังนั้นถ้ามีการตรวจสอบอย่างละเอียด  หรือมีวิธีการป้องกัน  หรือมีขบวนการที่ใช้ป้องกัน  หรือมีเครื่องมือมาเป็นตัวช่วยเพื่อลดการกระทำอันเป็นการทุจริตเช่น  ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของ IT ก็มีการคิดค้น S/W เพื่อนำมาใช้ตรวจสอบและป้องกันการทุจริต  หลายหน่วยงานใหญ่ได้จัดตั้งเป็นฝ่ายป้องกันการทุจริต  ขึ้นมาและสามารถสร้างผลงานได้อย่างชัดเจนและวัดได้  มีคำพูดที่ว่า ถ้าป้องกันการทุจริตได้ 100 บาทจะถือเป็นกำไรได้ทั้ง 100 บาท  แต่ถ้าเป็นยอดขาย 100 บาทอาจจะมีกำไรสุทธิเพียง 5 บาทเท่านั้น

 

            กลยุทธ์ Business Intelligence ( การคิดอย่างอัจฉริยะเชิงธุรกิจ )

ในปัจจุบันมีการนำการคิดเชิงรุกที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า BI โดยหลักการก็คือการนำตัวเลขต่าง ๆ ที่มีสาระสำคัญช่วยให้เราสามารถคิดค้นกลยุทธ์  หรือการตัดสินใจที่สามารถทำให้เราได้รับผลที่ดี  ประสบความสำเร็จ เช่น  ธนาคารแห่งหนึ่งในอดีตสักสิบปีที่แล้ว  มีตัวเลขที่บ่งบอกว่าลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตอยู่จำนวนมากใช้กดเงินสดอย่างเดียว  ไม่ได้ใช้ซื้อของ  และเป็นกลุ่มลูกค้าที่สร้างรายได้สูงมากให้ธนาคาร  แต่สมัยนั้นยังไม่มีการนำการคิดแบบ BI มาใช้ผลที่ตามมาก็คือ ลูกค้าไม่สามารถจ่ายกลับคืนเมื่อถึงเวลาต้องชำระได้  ทำให้เกิดเป็นหนี้เสีย  และกลายเป็นหนี้สูญในที่สุด  ผลเสียอย่างมากมายในอดีตจนทำให้สถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งเกิดปัญหาวิกฤตเกิดขึ้น  และเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นอีกเมื่อห้าที่แล้ว  แต่ครั้งนี้มีธนาคารหนึ่งสามารถนำตัวเลขลูกหนี้บัตรเครดิต  และตัวเลขอื่น ๆ มาประมวลเป็นกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาดังนี้  คือรีบนำเสนอเปลี่ยนรูปแบบเสนอลูกค้าที่กดเงินสดเป็นหลักให้สามารถเปลี่ยนวงเงินบัตรเครดิตให้เป็นวงเงินกู้ระยะยาว 5 ปีและผ่อนชำระในตัวเลขที่ลูกค้าสามารถรับได้ซึ่งลดลงอย่างมาก ๆ ผลที่ตามมาก็คือลูกค้าก็เป็นลูกค้าที่ดีอยู่แต่เปลี่ยนจากระยะสั้นเป็นลูกค้าระยะยาว  และเขาสามารถนำวงเงินจากต้นทุนที่ต่ำลง(เพราะเป็นเงินกู้ระยะยาว)  มาเป็นต้นทุนใหม่สำหรับลูกค้าทำให้ต้นทุนของธนาคารต่ำลงด้วย   ทางธนาคารสามารถรักษาลูกค้าไว้ได้  และยังคงเป็นลูกค้าที่ทำรายได้ที่ดีให้กับธนาคาร  ป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย  และหนี้สูญอีกด้วย

 

            ยังมีอีกหลาย ๆ กลยุทธ์ที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อบริหารธุรกิจในยามวิกฤต ข้าวยากหมากแพง ได้ถ้าเราจะพยายามคิด   พยายามหาแนวทางที่ดี  ความคิดใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์  นำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงองค์กร  ปรับปรุงวิธีทำงาน  ปรับปรุงขบวนการทำงาน  เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ  เพื่อลบจุดอ่อนต่าง ๆ เพื่อเสริมจุดแข็งให้องค์กรมากยิ่งขึ้น   แนวทางต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวช่วย  และจะเป็นแนวทางที่ดีเพื่อใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้  ขอจงอย่ายอมแพ้  อย่าท้อถอย  สสว.ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะคอยให้กำลังใจ  และคอยเป็นที่ปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการ  ติดต่อเราได้ที่เบอร์ 0-2278-8800 ต่อ 400

 

ธนพล  ก่อฐานะ

ที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ

ฝ่ายประสานและบริการ SMEs

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

หมายเลขบันทึก: 274842เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความนี้แนะนำการบริหารธุรกิจให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่ได้พูดถึงยอดขายและมีกลยุทธ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างให้ท่านได้ข้อคิดที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท