สองสายบังคับบัญชาในบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ


   ในระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอจะมีสายบังคับบัญชาที่ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่สองสายคือ 1.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนซึ่งจะดูแลโรงพยาบาลชุมชนและพื้นที่ที่ตำบลตั้งอยู่  2.สาธารณสุขอำเภอซึ่งดูแลสถานีอนามัยและพื้นที่นอกเหนือจากพื้นที่โรงพยาบาล  แต่โดยจุดมุ่งหมายของการทำงานของทั้งสองสายคือการทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีโดยต้องให้บริการทั้ง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรค และฟื้นฟูสภาพ ในพื้นที่ที่อาจเรียกว่าทับซ้อนกัน การวางตำแหน่งของสายบังคับบัญชาจึงอาจเป็นสองลักษณะดังนี้

    1. ลักษณะเป็นการสั่งการจากคนใดคนหนึ่ง อาจเป็นผู้อำนวยการหรือสาธาณสุขอำเภอ แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล วิธีนี้เป็นวิธีทางอุดมคติที่พยายามจะให้เกิดขึ้นตั้งแต่เข้าประกันสุขภาพ( 30 บาทรักษาทุกโรค) เมื่อปี 2545 จึงมีความพยายามที่จะตั้ง CUP board ขึ้นมาเพื่อบริหารสาธารณสุขระดับอำเภอให้ได้เบ็ดเสร็จ มีการวางแผนงานและบริหารร่วมกันทั้งอำเภอ ซึ่งในทางแนวคิดดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีแต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาอยู่มาก ทั้งในเรื่องศักดิ์ศรี การบังคับบัญชาที่ยังไม่มีระเบียบรองรับ วัฒนธรรมเดิมของสองสาย ทำให้ปัจจุบันจึงอาจไม่มีใครทำได้ดีนัก ในส่วนทำได้ดีมักเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่อาจใช้ความสัมพันธ์ด้านอื่นมาเกี่ยวข้องแต่ไม่ได้เกิดเพราะการวางระบบที่ดี

    2. ลักษณะการทำงานตามสายบังคับบัญชาเดิม แต่แบ่งงานกันทำตามความถนัดแล้วมาประสานงานกันใน คณะกรรมการประสานงานสาธาณสุขระดับอำเภอ(คปสอ)  วิธีนี้จะยังคงสภาพของ ศักดิ์ศรี  การบังคับบัญชา  และงานที่ตนเองถนัด( รพ. อาจถนัดงานด้านรักษามากกว่า ขณะที่ สาธารณสุขอำเภออาจถนัดงานส่งเสริมป้องกัน) ไม่มีใคร take over ใคร  โดยให้แต่ละสายทำงานที่ตนเองถนัดในการเป็นแกนนำครอบคลุมทั้งอำเภอ  แต่ข้อเสียของวิธีนี้จะเป็นเรื่องการทำงานอาจล่าช้าและแยกส่วน  การสนับสนุนทางทรัพยากรจากโรงพยาบาลชุมชนอาจมีน้อยเนื่องจากมองเป็นการช่วยเหลือมากกว่าการรับผิดชอบ(หมายถึงเหลือก็ช่วยไม่เหลือก็ไม่ช่วย ไม่เหมือนความรับผิดชอบที่ถึงแม้เราขาดก็ต้องช่วย)  

     รูปแบบทั้งสองก็ยังไม่ชัดเจนว่าอย่างไรจึงเหมาะ อาจต้องพิจารณาตามบริบทของอำเภอนั้นๆทั้งด้าน บุคลิกของผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร นโยบาย ปัญหาท้องถิ่น ซึ่งคงต้องเรียนรู้กันเอาเอง

หมายเลขบันทึก: 273878เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความคิดแยกส่วนยังมีมากขึ้นเรื่อยๆ

ประชาชนต้องขวนขวายเอง เพื่อรวมส่วนจนพอเหมาะต่อตัวเอง

การบริหารที่มีประสิทธิภาพ คงรอ อำเภอที่กล้าหาญนำร่องอยู่นะ

สู้ต่อไป ทาเกชิ

พี่ไม่ได้อ่านของเอ็งก่อน เขียนของตัวเองเรื่องตรงกันเลยไม่ลอกนะ เขียนจากใจว่ะ

แสดงว่าเป็นเรื่อง hot

พี่คิดว่าอาจมีหลายสูตรที่ดี แล้วแต่บริบท แต่น่าจะมีสัก 1หรือ2สูตรที่มาตรฐาน

พี่สนใจข้อเสนอที่ตรงกันหลายที่ เช่นจากเครือข่ายๆสปสช หรือ โครงสร้างบห.ของ รสต.คือการมี

broad แบบมีส่วนร่วม(นอก2สายงานเราด้วย)ทั้งระดับอำเถอ และตำบล (บริหารกองทุนทั้งหมด)

.... น่าจะเป็นการยากที่จะหารูปแบบที่เหมาะสมในการปรับระบบสายบังคับบัญชาในระบบบริการสาธารณสุขในระดับอำเภอ ถ้าบุคลากรทั้ง 2 ส่วน (โรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอ) ยังไม่มีเส้นชัยในการพัฒนาที่เป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน

คือ "การให้ประชาชนเป็นผู้รับอย่างแท้จริง"

ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่าบางที่ สสอ + รพ.ไม่สามารถประสานงานกันได้นั้น เหตุหนึ่งเพราะมองผลประโยชน์ในส่วนของตนเป็นหลัก โดยเฉพาะความไม่พึงพอใจในการบริหารงบประมาณ ความไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม ความไม่ไว้วางใจกัน โดยคิดว่างบประมาณนั้นเป็นของตน และไม่ได้นำไปใช้ในการพัฒนางานเป็นหลัก

หน่วยหนึ่งมีอำนาจในการสั่งการพื้นที่รอบนอก แต่ไม่มีเงิน

หน่วยหนึ่งมีอำนาจบริหารเงิน แต่ไม่สามารถสั่งการพื้นที่รอบนอกได้โดยตรง

ทำให้การพัฒนาสาธารณสุขยังไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังนอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นอีก...องค์กรส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารเงินกองทุนประกันสุขภาพระดับตำบล ทำให้ระบบสายบังคับบัญชาแทบไม่มีความหมาย เพราะทั้ง ผอ+สสอ. เป็นได้แค่ที่ปรึกษา ไม่มีอำนาจในการอนุมัติงบประมาณโครงการ ทำให้บางแห่งไม่ได้ใช้เงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

และสุดท้ายคืออำนาจแฝงอื่นๆ (สายการเมือง) ที่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมระบบสายบังคับบัญชา เช่น การเลือกพื้นที่ รพสต. broad ได้คัดเลือก สอ.แห่งหนึ่งแล้ว ไม่พอใจ ผู้นำชุมชนชุมชนแสดงอำนาจตบเท้าเข้าพบผู้มีอำนาจทางการเมืองแย่งชิงพื้นที่กัน ..สาเหตุไม่ใช่เจ้าหน้าที่อยากได้มาเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพมาตรฐานการบริการของตัวเอง แต่ที่อยากได้เพราะ กับแค่คำว่า "ผอ.รพสต " ซึ่งคาดหวังว่าจะได้เป็นผู้บริหารระดับ 8 (ชำนาญการพิเศษ)ในสถานีอนามัยและงบประมาณ 200,000 เบื้องต้น,ล้านกว่าบาทในปีถัดไป ไม่ได้อยากได้มาเพื่อพัฒนางาน แต่มองว่าจะนำมาเป็นค่าตอบแทนในการพิจารณาการจัดเวรบริการอย่างไร ครุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นต่อการรักษา แค่นั้นเอง ...น่าเศร้า

ดังนั้นการที่จะพัฒนางานสาธารณสุขในช่วงนี้ ขณะที่ยังหารูปแบบไม่ลงตัว น่าจะเริ่มจากการพัฒนาที่คน เป็นหลัก (ตามแนวคิดคนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนา)

โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุข ให้มีจิตสำนึก ตระหนักรู้ในหน้าที่ของตน และมุ่งมั่นที่จะร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมใจ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีเป็นหลัก ตามความรู้ ความสามารถ ของตนอย่างเต็มที่

...เมื่อไหร่ที่คนดี ระบบที่ดีคงตามมา

สิ่งที่เราอยากมองเห็นคือ ประชาชนมีสุขภาพดี

เป็นเส้นชัยที่รออยู่ข้างหน้า...คงไม่ไกลเกินกว่าจะไปถึง...

ปัญหายังคงอยู่ อำเภอใหนสามารถแก้ปัญหาสองนคราได้ไม่ว่าจะมาจากบริบทใด มีแนวโน้มที่จะทำงานเครือข่ายปฐมภูมิได้ดี

รพสต.มาถูกทิศ แต่ไม่ถูกทางครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท