ส่วนบริโภค (Servings) คืออะไร?


 

...

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า การนับส่วนบริโภค (serving) ซึ่งใช้มากในคนไข้เบาหวานดูค่อนข้างยาก และวุ่นวาย

สำนักพิมพ์ฮาร์วาร์ด เฮลต์ มีคำแนะนำให้นับส่วนบริโภคง่ายๆ โดยใช้มือของเราวัดดังต่อไปนี้

  • (1). คาร์บ / คาร์โบไฮเดรต / ข้าว-แป้ง > กำมือ = ลูกเทนนิส = ขนมปัง 1 แผ่น = 120 มิลลิลิตร
  • (2). โปรตีน / เนื้อ-ปลา-สัตว์ปีก > ฝ่ามือ = ไพ่ (2.5 x 3.5 นิ้ว)
  • (3). น้ำมัน / เนยเทียม = ปลายหัวแม่มือ = ช้อนชามาตรฐาน (5 มิลลิลิตร)

...

ขนาดฝ่ามือที่แนะนำคือ ฝ่ามือผู้ใหญ่ผู้หญิง หนาประมาณข้อนิ้วก้อยข้อปลาย ส่วนอาหารกลุ่มอื่นมีขนาดประมาณดังต่อไปนี้ (ถ้วยตวงข้าวสาร = 160 มิลลิลิตร; ถ้วยตวงมาตรฐาน = 240 มล.) [ MIT ]

  • (4). ผลไม้ > ส้ม / กล้วยขนาดกลาง = ลูกเบสบอล
  • (5). น้ำผลไม้ > ควรเป็นน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก และไม่เติมน้ำตาล = 180 มิลลิลิตร
  • (6). ผลไม้แห้ง > ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง
  • (7). ถั่ว > 120 มล. = ขนาดข้าว-แป้ง = กำมือ
  • (8). ผักสุก > 120 มล. = ขนาดข้าว-แป้ง = กำมือ
  • (9). ผักสด > กำมือ

...

 [ uth.tmc ]

ภาพที่ 2: ส่วนบริโภค > Thank [ uth.tmc.edu ]

  • (1). เนื้อ = สำรับไพ่ = เทปคาสเซ็ทท์
  • (2). ผลไม้ = แอปเปิ้ลขนาดกลาง = ลูกเทนนิส
  • (3). เนยแข็ง = ลูกเต๋า 4 ลูก

...

  • (4). ไอศกรีม = ลูกเทนนิส (= ผลไม้)
  • (5). ผัก = กำปั้น
  • (6). เนย = ช้อนชา = ปลายนิ้วหัวแม่มือ
  • (7). ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ, ลูกอม = 1/3 ฝ่ามือ

...

และอย่าลืมว่า ผักสุกจะมีปริมาณ = 1/2 ของผักสุก, ผลไม้แห้ง (ควรเป็นชนิดไม่เติมน้ำตาล) จะมีปริมาณลดลงเหลือ = 1/3-1/2 ของผักสุก

ถ้าการคิดส่วนบริโภคทำให้ชีวิตยุ่งยากเกินไป... เรียนเสนอให้พิมพ์ภาพที่ 2 ติดไว้ข้างฝา หรือใช้วิธีลดข้าวลดแป้ง + เติมผัก-ถั่วเข้าไปแทน และเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง นั่งลง เคี้ยวคำละ 30-40 ครั้ง จะกินอาหารได้น้อยลง และมีสุขภาพดีขึ้นได้

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป > ลดลง 1/4
  • ถ้าน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง > ลดลง 1/3

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank health.harward.edu; [ MIT ]; [ uth.tmc.edu ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 5 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 273827เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท