รู้จักกระทรวงวัฒนธรรม


ตราสัญลักษณ์

      http://gotoknow.org/file/chumphon6/logo%20cultureA.jpg ตราสัญลักษณ์กระทรวงวัฒนธรรม

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก  เหนือหมู่ลายเมฆหมอก
หมายถึง  ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม

หมายเลขบันทึก: 2735เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2005 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เพิ่มเติมให้ครับ

กระทรวงวัฒนธรรม

ปรัชญา
๑. วัฒนธรรม เป็นยุทธศาสตร์ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง สร้างจิตสำนึก  ค่านิยม   คุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงามของคนในชาติ
๒. วัฒนธรรม เป็นทุนและพลังขับเคลื่อน ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต
๓. วัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญ ในการเสริมสร้างความสามัคคีและสมานฉันท์ของคนในชาติและนานาชาติ

พันธกิจ
๑. ทำนุบำรุงศาสนา  ศิลปะ  และวัฒนธรรมของชาติ  และสนองงานสำคัญ
ของสถาบันชาติ   ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ให้มีการสืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
๒. บูรณาการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสู่ประชาชนและชุมชน
๓. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ทั้งระดับชุมชน   ท้องถิ่น   ชาติ   และนานาชาติด้วยมิติทางวัฒนธรรม
๔. บูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการองค์ความรู้ และมรดกศิลปวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย และสังคมโลก
วัตถุประสงค์
๑.  เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมให้สอดคล้องและสนองต่อภารกิจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐   ยุทธศาสตร์ชาติ  และนโยบายของรัฐบาล  
๒.  เพื่อบูรณาการมิติทางศาสนา  ศิลปะ และวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตของประชาชน
๓.  เพื่อสร้างเครือข่ายและระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศาสนา  ศิลปะ  และวัฒนธรรม
๔.  เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ประสานและบูรณาการการดำเนินงาน
ด้านศาสนา  ศิลปะ  และวัฒนธรรมของหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ชุมชน  และประชาชน
๕.   เพื่อเสริมสร้างศักดิ์ศรี ความเสมอภาค  ความสมานฉันท์ และสันติสุขแก่คนทุกกลุ่ม ทั้งระดับครอบครัว   ชุมชน  ประเทศ  และสังคมโลก
เป้าหมายหลัก
๑. ธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
-  แต่ละท้องถิ่นสามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง
-  มีกิจกรรมระดับชาติที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๒. ประชากรโดยส่วนรวม มีคุณภาพ มีความสามารถ  มีความเข้าใจในรากฐานทางวัฒนธรรมของตน  และนำมาใช้ในการดำรงชีวิต
-  ประชาชน มีจิตสำนึกและดำรงชีวิตตามรากฐานทางวัฒนธรรมของตนและรู้เท่าทันโลก
- มีเวปไซต์ เผยแผ่ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน
-  แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมทั้งระดับชาติ และชุมชนท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม
-  มีพิพิธภัณฑ์ชนชาติไทย  หอศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  หอสมุดแห่งชาติแห่งใหม่  
๓.  สังคมมีความสมานฉันท์  ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรม  และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานวัฒนธรรม  อยู่ร่วมในสังคมโลกอย่างมีศักด์ศรี
-   ประชาชนทุกกลุ่มมีโอกาสร่วมกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และเอื้ออาทรต่อกัน
-   มีศูนย์วัฒนธรรมที่ได้มาตรฐาน สำหรับบริการกิจกรรมทางวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย
-   มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นทุกภาคต่างๆ และเชื่อมโยงสู่ประเทศใกล้เคียง
-   ภูมิปัญญาไทยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
๔.  สถาบันทางสังคม  เช่น   สถาบันครอบครัว   สถาบันชุมชน   สถาบันทางศาสนา ฯลฯ   มีความเข้มแข็งทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา
-  เกิดเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ
-  มีระบบฐานข้อมูลทางด้านสารสนเทศทางภูมิศาสตร์   สำหรับบริหารจัดการการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและให้บริการองค์ความรู้แก่ประชาชน
ยุทธศาสตร์
ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างแท้จริง โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินงานเป็น ๗ ยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ รักษา สืบทอด วัฒนธรรมของชาติและความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างค่านิยม จิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ นำทุนวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
    กระทรวงวัฒนธรรม
    ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเป็นแบบแผนและเอกลักษณ์ ประกอบด้วย ศาสนา ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม หัตถกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นแบบอันดีงามเป็นมรดกตกทอดจากอดีตจวบจนปัจจุบัน การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติและจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ โดย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย ใน พ.ศ. ๒๕๐๑ เนื่องจากสภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถือเป็น ๑ ใน ๒๐ กระทรวงหลักของประเทศ ตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล

ตราสัญลักษณ์กระทรวงวัฒนธรรม
  ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ( กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ โดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๕ และนำมาดัดแปลง ปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น )
ภารกิจ
แบ่งเป็น ๓ ด้านใหญ่ๆซึ่งมีความเกี่ยวพันและประสานสอดคล้องกัน คือ ภารกิจเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

ด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมจะดำรงคงอยู่ยืนยาว มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย และสามารถปรับให้เข้ากับกาลสมัยได้เพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรมเพียงลำพังแต่ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคนในชาติ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะทางสังคม กระทรวงวัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนให้คนในชาติเห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงใดทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม และควรจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอย่างไร การจะผดุงรักษาสืบสานวัฒนธรรมเดิม และปรับกระแสวัฒนธรรมใหม่ที่หลั่งไหลจากภายนอกประเทศให้เหมาะสม และยังคงคุณค่าอันดีงามของความเป็นไทย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในสังคม เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ข้อดีข้อเสีย โอกาสและสัญญาณอันตรายที่มีต่อวัฒนธรรมไทย เพื่อให้วัฒนธรรมไทยมีลักษณะพึงประสงค์ ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศชาติ

ด้านศาสนา ภารกิจด้านศาสนามีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรม ในฐานะที่ศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณของคนในชาติ และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ให้คุณค่าแก่การทำคุณงามความดี การดำรงชีวิต โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรม บุคลากรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการชี้แนะ อบรมสั่งสอนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสดาในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อให้สามารถปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคในชีวิต จะได้รู้จักปรับใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคในชีวิต จะได้รู้จักปรับวิธีคิดของตนให้ล่วงพ้นปัญหาอุปสรรคนั้นได้ โดยไม่ทำร้ายตนเอง บุคคลใกล้ชิดและบุคคลอื่น

ด้านศิลปะ ภารกิจด้านศิลปะมีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมศิลปะทุกแขนง ทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ เป็นมรดกตกทอดจากคนรุ่นก่อนๆ จึงต้องทำนุบำรุงรักษา เพื่อส่งต่อยังคนรุ่นต่อไป รวมทั้งส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เพื่อเพิ่มพูนภูมิปัญญาของคนรุ่นปัจจุบัน และรวบรวมสะสมคุณค่าเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติของชาติ

นางสาวทัดกาจน์ ไทรอง

รับราชการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท