พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘

พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

           พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
           โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
           จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
           มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘"
           มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
           มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
           (๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
           (๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
           (๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
           (๔) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
           (๕) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
           (๖) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
           มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
           มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

           มาตรา ๖ ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
           การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
           มาตรา ๗ ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
           การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
           ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้ การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
           มาตรา ๘ บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร

           มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
           (๑) สภากรุงเทพมหานคร
           (๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ส่วนที่ ๑
สภากรุงเทพมหานคร

           มาตรา ๑๐ สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑
           มาตรา ๑๑ การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
           การกำหนดเขตเลือกตั้ง ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำ

พื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
           ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
           การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
           หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
           มาตรา ๑๒ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
           (๑) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
           (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
           (๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
           (มาตรา ๑๒ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๑๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)
           มาตรา ๑๓ บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
           (๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
           (๒) ยกเลิก
           (๓) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
           (๔) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
           (๕) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
           (ความใน (๒) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓)พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๑๓ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)
           มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
           (๑) สัญชาติไทยโดยการเกิด
           (๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
           (๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
           (มาตรา ๑๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)
           มาตรา ๑๕ ยกเลิก
           (ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)
           มาตรา ๑๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
           (๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
           (๒) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
           (๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓(๑) (๓) หรือ (๕)
           (๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
           (๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
           (๖) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
           (๗) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
           (๘) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
           (๙) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
           (๑๐) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
           (๑๑) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
           (๑๒) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
           (๑๓) เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
           (๑๔) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
           (มาตรา ๑๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙)
           มาตรา ๑๗ อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
           เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง

และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
           มาตรา ๑๘ ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
           ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่งในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
           ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
           มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
           มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
           มาตรา ๒๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
           เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
           สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
           มาตรา ๒๒ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัท ซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
           มาตรา ๒๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
           (๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
           (๒) ตาย
           (๓) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
           (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖(๔)
           (๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
           (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
           (๗) ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
           (๘) สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออกเพราะเห็นว่า ได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
           (๙) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
           ในกรณีตาม (๘) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ หรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา

(ความใน (๙) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)
           มาตรา ๒๔ ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
           การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๕๓ มาให้บังคับโดยอนุโลม
           มาตรา ๒๕ ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
           ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
           ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
           มาตรา ๒๖ ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
           (๑) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
           (๒) ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
           (๓) เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภา หรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่ และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดโดยให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
           ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
           มาตรา ๒๗ ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
           รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
           เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
           มาตรา ๒๘ ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
           มาตรา ๒๙ สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่ว

ไป การรักษาระเบียบ และความเรียบร้อยของกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภกรุงเทพมหานคร
           มาตรา ๓๐ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
           ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
           สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
           การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
           ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
           มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
           สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
           การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
           มาตรา ๓๒ การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
           ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
           มาตรา ๓๓ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
           สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
           มาตรา ๓๔ ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
           มาตรา ๓๕ การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ
           มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
           มาตรา ๓๗ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
           ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
           การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
           มาตรา ๓๘ สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
           ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้ จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำ

หมายเลขบันทึก: 273466เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เด็กหญิงกิติยา รามอินทร์ ม.1/6 เลขที่ 21

หนุอ่านแล้วค่ะ

เด็กหญิงอังคณา แซ่ลี้ ม.1/6

หนูอ่านแล้วคะ

อารายนิ!!~

งง

มึน

ย่อหน่อยได้มิ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท