วงน้ำ SHA ที่ท่าบ่อ
รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

ผ้าขาวม้าผืนใหญ่ ให้ อุ่นไอเหมือนแม่


ในวันที่ไม่มีฝนท้องฟ้าแจ่มใส ฉันมักจะเดินผ่านตึกเด็ก ซึ่งเป็นทางเดินที่ไม่มีหลังคา แต่สามารถตัดลัดไปยังที่ทำงานของฉันได้ เด็กหลายคนออกมาวิ่งเล่นหน้าตาแจ่มใสเมื่อได้อยู่มาอยู่ข้างนอกบ้าง มือข้างซ้ายของน้องยังมีเข็มน้ำเกลือติดอยู่ คงเอาไว้เพื่อฉีดยาแต่ไม่ต้องรับน้ำเกลืออีกแล้ว

 

น้องตัวเล็กคนหนึ่งวิ่งมาดึงชายกระโปรงของฉันแล้วหัวเราะ นึกไม่ออกว่าตัวฉัน...นี้...มีอะไรน่าขบขำสำหรับเจ้าตัวเล็ก...น้อ.....

 

"เดี๋ยว...คุณหมอ..ฉีดยา" แม่เด็กส่งเสียงมายังเด็กน้อย

 

เอาอีกแล้ว.....สร้างความจดจำในสิ่งที่ไม่ดีให้เด็กกลัวหมอ กลัวเข็มฉีดยาอีกแล้ว.....

 

เด็กน้อยยังคงดึงฉันเข้าไปข้างในตึก "แหม....เราคงหน้าตาดีไม่เบา เด็กจึงไม่กลัว...อิอิอิ" ฉันอมยิ้มอย่างภาคภูมิใจในความน่ารักของฉัน....น่าน...ฉันไม่ยอมละความชื่นชมในตัวเอง

 

"เราจะไปไหนกัน ตัวเล็ก" ฉันหยอกเหย้าเด็ก.........เด็ก หัวเราะ ฮึฮึฮึ......ฉันกับแม่ๆๆหลายคนยิ้มและหัวเราะไปด้วยกัน

"โห....มีอู่(เปล)แบบนี้ให้ลูกนอนด้วย เอามาได้ไง....เนี่ย..." ฉันอุทานกับแม่ของเด็ก

เตียงนอนคนไข้เด็กหลายคน มีผ้าผูกระหว่างปลายเตียงกับหัวเตียง เพื่อทำเป็นเปลให้ลูกนอน ฉันเห็นอู่ผ้าขาวม้าแบบนี้ตั้งแต่เด็กๆ แม่เคยบอกว่า "ฉันก็นอนเปลแบบนี้ หัวเลยสวย"

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนในเมืองเริ่มหันไปใช้เปลสมัยใหม่ที่มีขายตามห้างชื่อดัง เปลผ้าขาวม้าเลยถูกมองข้ามไป

ฉันจำไม่ได้ว่า ฉันเคยอ่านบทวิจัยจากที่ไหน บอกว่า "เปลนอนแบบนี้ เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและหลับสบาย"

ฉันมีโอกาสได้เจอคุณหมอเด็กแต่อาวุโสกำลังตรวจคนไข้ด้วย "มีเปลแบบนี้มาอยู่ในตึกคนไข้ด้วย" ฉันเปรยขึ้น

"ได้ๆๆ....ให้เอามาได้ แต่อย่ากระชากเวลาไกว ต้องให้เปลกลับมาเอง ไม่อย่างนั้น หัวจะได้รับความกระทบกระเทือน" คุณหมอบอกฉันพร้อมกับบอกแม่ๆของเด็กไปด้วย

ฉันถามคุณหมอว่า "เขาบอกว่า เปลแบบนี้ ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยจริงหรือเปล่า" คุณหมอบอกว่า "เด็กจะรู้สึกอบอุ่นเหมือนแม่กอด" ฉันขออนุญาตถ่ายรูปเพื่อเก็บเป็นผลงานคุณภาพ ในเรื่องการนำภูมิปัญญาของชาวบ้านมาร่วมในการดูแลคนไข้ คุณหมออนุญาต พร้อมกับ บอกว่า "ที่ตึกพิเศษ ก็เอาเปลแบบนี้มาด้วย มีขาตั้งทำเอง เป็นเด็กแฝดน่ารักมาก"

แม่ๆยายๆของเด็กก็บอกว่า "เปลแบบนี้ทำให้เด็กหลับสบายไม่ร้องกวน ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนพาทำ พอมาอยู่โรงพยาบาล เด็กร้องมาก เลยชวนกันทำให้ลูกนอน คุณหมอก็ไม่ได้ว่าอะไร กลับแนะนำว่าดีเสียด้วย"

ฉันไม่ลืมที่จะย้ำกับแม่ของเด็กเรื่องไกวเปลว่า "ไม่ให้ดึงเปลกลับมาในขณะที่ขึ้นสูงให้ปล่อยลงมาเอง"

ช่วงสายฉันเดินไปที่ตึกพิเศษ ขอเยี่ยมเด็กแฝดนอนเปล ที่ป่วยมาพร้อมกัน ฉันได้รับคำบอกเล่าจากป้า ตาและยาย ร่วมถึงแม่ของเด็กว่า "คนพี่ดีขึ้นแล้ว แต่กลับซึม ส่วนคนน้องยังต้องให้น้ำเกลือแต่กลับสดชื่นกว่า"

ฉันขออนุญาตถ่ายรูปเอาไว้ เพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการต่อยอดการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากเป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาร่วมในการดูแลแล้ว ยังเป็นการคำนึงถึงจิตวิญญานของผู้รับบริการในการนำเอาอุปกรณ์ที่ใช้กันมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณมาใช้ในโรงพยาบาล สร้างบรรยากาศให้เหมือนบ้าน คนไข้พอใจ แถมยังเป็นความภาคภูมิใจของคุณตาที่ตั้งใจทำให้หลานนอน ยินดีที่พ่อและแม่ของเด็กซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ทันสมัย ไม่เลือกใช้เปลฝรั่งแม้จะสวยงามแต่ราคาแพง และเด็กก็ไม่ได้ชอบที่จะนอนแบบนั้น

ฉันเองก็รู้สึกภาคภูมิใจกับภูมิปัญญาชาวบ้านของฉัน ฉันคิดถึงแม่ แม่บอกว่า"ฉันก็นอนเปลแบบนี้ หัวฉันเลยสวย" ฉันยิ้มให้ญาติๆคนไข้ก่อนกล่าวคำอำลาและนึกในใจว่า "นี่ไง....การดูแลแบบองค์รวมที่เรามักจะพูดถึงกันเสมอ แต่ไม่สามารถกำหนดออกมาเป็นรูปธรรม...อย่าง....นวตกรรม....นี้ได้"

ฉันรู้สึกชื่นชมคุณหมอเด็ก ที่เป็นคุณหมอใจดี และเปิดโอกาสให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลคนไข้ ฉันขอขอบคุณ คุณหมอ แทนคนไข้และตัวฉันเอง "ฉัน..โชคดีที่ได้ร่วมงานกับคุณหมอ เพราะคุณหมอมองและเห็นเราเป็นเพื่อนร่วมงานมากกว่าลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา.......ฉันสัมผัสได้......"

ขอบคุณมากมาย

         "ฉันเอง"

บันทึกในวันที่ มีความภาคภูมิใจ

บรรยากาศตึกกุมารเวชกรรม

ภายในห้องผู้ป่วยพิเศษ(VIP)

หมายเลขบันทึก: 273284เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โอ้โห...สุดยอดเลยค่ะ ป้าแดง

คนสวย เด็กๆชอบค่ะ อิอิ

  • สวัสดีค่ะ อ.น้องพอลล่า
  • พอจะเป็นชาหอมกรุ่นได้มั้ยคะ
  • ขอบคุณค่ะ

เปล ทำให้เด็กหลับสบายไม่ร้องกวนต่อมา คนไม่นิยม บอกว่า หัวลูกจะแบนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท