K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา


การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา

การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา

เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด

1. การนับ หรือ จำนวน เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการวัดปริมาณ หมายถึง จำนวน ของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริง ในกลุ่มประชากรที่ศึกษา หรือ มี ลักษณะบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน ณ พื้นที่ที่กำหนดและในระยะเวลาที่ศึกษา

2. อัตรา อัตราส่วน สัดส่วน (Rate ,Ratio,Proportion)

อัตรา (Rate)

คือ เครื่องมือวัดโอกาสที่เป็นไปได้ ของการเกิดหรือการเปรียบเทียบจำนวนความถี่ของการเกิดโรค

หรือเหตุการณ์ใดๆ หรือลักษณะบางอย่างในกลุ่มประชากรที่ศึกษา อัตราเป็นรูปแบบหนึ่งของสัดส่วนที่รวมเอาเรื่องเวลาเข้ามาคิดด้วย  เป็นการวัดการเกิดโรคขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย

1. ตัวเศษ (Numerator) เป็นจำนวนผู้ป่วยหรือจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2. ตัวส่วน (Denominator) เป็นจำนวนประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือเหตุการณ์ที่สนใจนั้นๆ หรือ จำนวนประชากรที่ศึกษา

3. เวลา (Time) คือ ช่วงเวลาที่ทำการเฝ้าสังเกตหรือเก็บข้อมูล

เมื่อ k  คือ ค่าคงที่ซึ่งมีค่าเท่ากับ 100 หรือ 1,000 หรือ 100,000 แล้วแต่ความเหมาะสม   (10n )

Rate =  จำนวนครั้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด     X   k

              จำนวนผู้ที่เสี่ยงต่อเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงเวลาที่กำหนด  

อัตราส่วน (Ratio)

อัตราส่วน คือ ค่าเปรียบเทียบระหว่างตัวเลข 2 จำนวน หรือ เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ โดยที่เลขเศษไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเลขตัวส่วน

Ratio = X/Y * k = X/Y = X:Y

X= จำนวนเหตุการณ์ ประชากร ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ

Y= จำนวนเหตุการณ์ ประชากร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่างจาก  X

k=1

สัดส่วน  (Proportion)

 เป็นการวัดร้อยละของการกระจาย ของเหตุการณ์ ย่อยจากเหตุการณ์ทั้งหมด

Proportion = X/Y * k

X= จำนวนเหตุการณ์ หรือ ประชากร

Y= จำนวนเหตุการณ์หรือประชากร  

k = 100    

                                       

ตัววัดทางระบาดวิทยา (Parameter)

  • ความชุก (Prevalence)
  • ความเสี่ยง (Cumulative incidence)
  • อัตราการป่วย (Incidence density rate)
  • อัตราการป่วยเบื้องต้น (Primary attack rate)
  • อัตราการป่วยระลอกสอง (Secondary attack rate)
  • อัตราการตาย (Cumulative mortality)
  • อัตราการป่วยตาย(Case fatality rate)

                               

การวัดการเกิดโรคในประชากร

การนับจำนวนสัตว์ป่วย

  • นับจำนว นสัตว์ที่มีอาการป่วยทั้งหมด (Prevalence count)
  • นับเฉพาะสัตว์ที่ล้มป่วยใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง (Incidence count)

 การแบ่งลักษณะประชากรในทางระบาดวิทยา

  • ประชากรปิด (Close population)

หมายถึง ประชากรที่ไม่มีการเพิ่มจำนวนจากการเกิดและลดจำนวนจากการตายเท่านั้น  ดังนั้น ฝูงสัตว์ที่เป็นประชากรปิด คือ ฝูงสัตว์ที่ไม่มีการนำสัตว์ใหม่เข้ามาเพิ่ม และไม่มีการนำสัตว์ออกจากฝูง

  • ประชากรเปิด (Open population)

หมายถึง ประชากรที่มีการเพิ่มจำนวนจากการเกิดหรือการซื้อสัตว์มาเพิ่ม และมีการลดจำนวนจากการตาย หรือ การขายสัตว์ ทำให้จำนวนประชากรคงที่เมื่อทำการศึกษาเป็นเวลานาน 

 

ความชุก (Prevalence)

  • เป็นสัดส่วนของสัตว์ป่วยในประชากร ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวจะสามารถใช้ประโยชน์ เพื่อประมาณจำนวนสัตว์ที่มี อาการป่วยอยู่ทั้งหมด เพื่อการจัดการ ออกแบบการศึกษาวิจัย การควบคุมโรคในระยะยาว และการประเมินประสิทธิภาพของชุดทดสอบ เป็นต้น
  • ความชุกยังมีค่าเท่ากับความน่าจะเป็นที่สัตว์ตัวหนึ่ง ที่ถูกเลือกโดยการสุ่มจากประชากรที่มีความเสี่ยงต่อกรเกิดโรคจะป่วยเป็นโรคอยู่ ระดับความชุกขึ้นอยู่กับระยะเวลาป่วยของสัตว์ตัวนั้น จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการศึกษาสาเหตุของโรค แต่เหมาะสำหรับการประเมินผลของมาตรการจัดการสุขภาพฝูงสัตว์ ความชุกยังใช้ในการศึกษาโรคที่ไม่สามารถระบุเวลาเริ่มต้น ของการป่วยได้ เช่น โรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด จะทำได้เฉพาะสัตว์ที่แสดงอาการป่วยเท่านั้น
  • ความชุกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.Point Prevalence  สัดส่วนของสัตว์ป่วย ณ จุดเวลาหนึ่ง

2.Period Prevalence สัดส่วนของสัตว์ป่วยในช่วงเวลาหนึ่ง

ความชุก = จำนวนสัตว์ป่วย/จำนวนสัตว์ทั้งหมด

 

อุบัติการณ์  (Incidence)

คือ  สัดส่วนของสัตว์ที่ล้มป่วยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แบ่งเป็น 

1. ความเสี่ยง  (Cumulative incidence : Risk ) คือ สัดส่วนของสัตว์ปกติที่ล้มป่วยภายในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ดังนั้น หากทำการศึกษาเป็นเวลานาน ย่อมพบว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงขึ้นด้วย ความเสี่ยง อาจหมายถึง ค่าเฉลี่ยของ ความเสี่ยงของการเกิดโรคในเวลาที่กำหนด อาจใช้ทำนายภาวะสุขภาพของสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง

ความเสี่ยง = จำนวนสัตว์ที่ล้มป่วย / จำนวนสัตว์เฉลี่ยในช่วงเวลานั้น

 

2. อัตราการป่วย  (Incidence density)

 เป็นความเร็วของการล้มป่วยของสัตว์ ตัวหารของอุบัติการณ์มักแสดงด้วยปริมาณ ผลคูณระหว่างจำนวนสัตว์กับ ผลคูรระหว่างจำนวนสัตว์กับเวลา (Animal time)  ซึ่ง หมายถึง ผลรวมของระยะเวลาที่ทำการศึกษาสัตว์แต่ละตัว ที่ยังไม่ป่วย อัตราการป่วยอาจไม่สามารถแปลความหมายสำหรับสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง แต่ใช้บอกอัตราเร็วของการป่วยในประชากรสัตว์ได้

อัตราการป่วย = จำนวนสัตว์ที่ล้มป่วย/ผลรวมของเวลาที่สัตว์ที่มีความเสี่ยงแต่ละตัวอยู่ในฝูง

 

3.อัตราการป่วยเบื้องต้น (Attack rate ) สัดส่วนของสัตวืที่ล้มป่วยเมื่อระยะเวลาที่มีความเสี่ยงสั้น เช่น มีเวลาที่สัมผัสเชื้อสั้น  หรือ มี ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ช่วงใกล้ตกลูก

 เป็นต้น

อัตราการป่วยเบื้องต้น = จำนวนสัตว์ที่ล้มป่วยด้วยโรคระบาด/จำนวนสัตว์ที่มีความเสี่ยง

 

4.อัตราการป่วยระลอกสอง  (Secondary attack rate )  สัดส่วนของสัตว์ ป่วย ที่ป่วยเนื่องจาก สัมผัสกับสัตว์ป่วยระลอกแรก บอกความสมารถในการติดต่อของโรค

อัตราการป่วยระลอกสอง  =  จำนวนสัตว์เลี้ยงที่ป่วยใหม่/

(จำนวนสัตว์ทั้งหมด-จำนวนสัตว์ป่วยในระยะแรก)

 

อัตราการตาย

อัตราการตาย (Mortality) เป็นตัววัดที่มีลักษระเหมือนกับอุบัติการณ์ แต่นับจำนวนสัตว์ที่เสียชีวิตจากโรคแทนที่จะเป็นสัตว์ป่วย แบ่งเป็น

1. ความเสี่ยงของการตาย (Cumulative mortality risk) มีลักษณะและ วิธีการคำนวณเหมือนความเสี่ยง (Cumulative incidence)  แต่ ตัวตั้งเป็นจำนวนสัตว์ที่ตายจากโรคหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง และตัวหารเป็นจำนวนสัตว์ที่จะเสียชีวิต

2. อัตราการตาย (Mortality density rate) เป็นตัววัดที่มีลักษณะเหมือนอัตราการป่วย (Incidence rate)  ตัวตั้งเป็นจำนวนสัตว์ที่ตาย และตัวหารเป็นผลรวมเวลาที่สัตว์มีความเสี่ยงทั้งที่ป่วยและไม่ป่วย

อัตราการตาย = จำนวนสัตว์ที่ตาย/ผลรวมของเวลาที่สัตว์ที่มีความเสี่ยงแต่ละตัวอยู่ในฝูง

3.อัตราตาย (Date rate) เป็นอัตราการตายของโรคทุกโรคในประชากร

4.อัตราการป่วยตาย (Case fatality rate) เป็นโอกาสที่สัตว์ซึ่งป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งจะเสียชีวิตจากโรคนั้น ใช้บอกความรุนแรงของโรค

­อัตราการป่วยตาย = จำนวนสัตว์ที่ตาย /จำนวนสัตว์ที่ป่วยทั้งหมด

 

ตัวอย่าง

จากการศึกษาทางสัตวแพทย์ เกี่ยวกับการระบาดของโรค X ซึ่งโรคนี้เมื่อสัตว์ป่วยแล้ว มีทั้งรายที่หายจากการเป็นโรค และมีภูมิต้านทานตลอดชีวิต และมีทั้งรายที่ตาย  จากการสสำรวจ สัตว์ฝูงหนึ่ง โดยเริ่มทำการสำรวจ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2551  ซึ่งเป็นวันที่เริ่มมีการระบาดของโรค และมีการสำรวจอีกครั้งในวันที่  1 มิถุนายน 2552 ได้ข้อมูลต่างๆ ดังนี้  

ข้อมูล

  • 1. จำนวนสัตว์ในฝูงทั้งหมดในเดือน มิถุนายน 51  จำนวน  600 ตัว
  • 2. จำนวนสัตว์ที่แสดงอาการป่วยทั้งหมด  จำนวน  100 ตัว
  • 3. จำนวนสัตว์ที่ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2551- 1 มิถุนายน 2552 จำนวน    200 ตัว
  • 4. จำนวนสัตว์ที่ตายระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2551- 1 มิถุนายน 2552 จำนวน 120 ตัว

 

-ความชุก ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2551

 ความชุก                = จำนวนสัตว์ป่วย/จำนวนสัตว์ทั้งหมด

                                =  100/600

                                 = 16.7 %

-ความเสี่ยง ณ 1 มิถุนายน 2551

ความเสี่ยง             = จำนวนสัตว์ปกติที่ล้มป่วย / จำนวนสัตว์เฉลี่ยในช่วงเวลานั้น

                           = 100/600

                           =  16.7%

-อัตราการป่วย  (วันที่ 2 มิถุนายน 2551 - 1 มิถุนายน 2552)

อัตราการป่วย = จำนวนสัตว์ที่ล้มป่วย/ผลรวมของเวลาที่สัตว์ที่มีความเสี่ยงแต่ละตัวอยู่ในฝูง

                         =  200/ 365 

                         =  0.54 ตัว/วัน

-อัตราการป่วยเบื้องต้น

อัตราการป่วยเบื้องต้น = จำนวนสัตว์ที่ล้มป่วยด้วยโรคระบาด/จำนวนสัตว์ที่มีความเสี่ยง

                             = 100/500

                              =  20 %

-อัตราการป่วย ระลอกสอง

อัตราการป่วยระลอกสอง  =  จำนวนสัตว์เลี้ยงที่ป่วยใหม่  

                                     (จำนวนสัตว์ทั้งหมด-จำนวนสัตว์ป่วยในระยะแรก)

                                 = 200/500

                                 = 40%

-อัตราการตาย  (วันที่ 2 มิถุนายน 2551 - 1 มิถุนายน 2552)

 อัตราการตาย = จำนวนสัตว์ที่ตาย/ผลรวมของเวลาที่สัตว์ที่มีความเสี่ยงแต่ละตัวอยู่ในฝูง

                        = 120/365

                        =  0.32  ตัว/วัน

-อัตราการป่วยตาย   ณ วันที่   1 มิถุนายน 2552

 อัตราการป่วยตาย = จำนวนสัตว์ที่ตาย /จำนวนสัตว์ที่ป่วยทั้งหมด

                                =120/300

                                = 40 %

  

ความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์และความชุก

ความชุกของโรคในประชากร ขึ้นอยู่กับอัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงของสัตว์ป่วย  จากประชากรทั้งหมด  อัตราการเพิ่มขึ้น ของสัตว์ป่วยขึ้นกับอุบัติการณ์ และ อัตราการลดลง ของสัตว์ป่วยขึ้นกับ อัตราการหายจากโรค   

  • ดังนั้นความชุกอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มอุบัติการณ์หรือ การลดลงของอัตราการหายจากโรค ในระยะยาวการลดลงของอุบัติการณ์จะนำไปสู่การลดลงของความชุก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 272754เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท