มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน


PCU พัฒนาสู่...มาตรฐาน

ตั้งแต่วันที่  19 มิ.ย.52 ที่ผ่านมา  ได้มีโอกาสเป็นทีมประเมินมาตรฐานระดับจังหวัดสงขลา ในการประมาณมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน  ของโซนกระดังงา  ซึ่งเป็นตัวแทนของอำเภอละ2 คน/อำเภอ  โดยได้มีการมอบหมายให้แต่ละคนในทีมซึ่ง มีด้วยกัน  10  คน  จาก 4 อำเภอคือ อ.สิงหนคร อ.สมิงพระ อ.กระแสสินธุ์ อ.ระโนด  และทีมสสจ.สงขลา 2คน รับผิดชอบหัวข้อ คนละ 5-7 ข้อ จาก  4 มาตรฐาน 26 ข้อ ระยะเวลา 1 สัปดาห์  วันละ 2 สอ. ได้อะไรดีดีมาก  จากการประเมินในครั้งนี้  ซึ่งเป็นการประเมินการปฏิบัติงานของเจ้าหน้ที่สถานีอนามัย  ทั้งหมด 16  แห่ง  (สิ่งสำคัญที่สุดของการประเมินไม่ใช่  แค่ผ่าน/ไม่ผ่านมาตรฐาน)  แต่เป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์การทำงานของจนท.สถานีอนามัย  โดยต่างรับฟังปัญหา เสนอแนะ  แนวทางการทำงาน  และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานชุมชนอย่างแท้จริง มาตรฐานเป็นเพียงสื่อการที่จะผสานความเข้าใจในคนทำงานชุมชนมากขึ้น  แต่การได้รับรู้รับฟังความรู้สึกของเขา คนทำงานด่านแรก  ดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน  ที่จนท.โรงพยาบาลอย่างเราๆ หรือระดับสูงเข้าไม่ถึง  หลายครั้งที่ได้ฟังว่า  สอ. เป็นอย่างนั้น อย่างนี้  (ติดลบตลอด)  แต่นั้นมันเป็นอดีตไปแล้ว  สมัยนี้สถานีอนามัยมีการพัฒนาไปมาก  ทั้งในด้านอาคารสถานีที่ วัสดุอุปกรณ์ที่มันสมัย และเพียงพอ  การคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เกิดขึ้นในสถานีอนามัยใกล้บ้าน ซึ่งอาจเป็นผลจากการให้ความสำคัญของการให้บริการแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับมากขึ้น  จนท.สถานีอนามัยจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้น อย่างน้อยก็กุมกำลังอสม.และผู้นำชุน  ซึ่งเห็นได้จากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน  ได้รับความร่วมมือ งบประมาณ  เป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน เกิดเป็นเครือข่ายสุขภาพมากมายในชุมชน  สถานีอนามัยอีกไม่น้อยที่เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในชุมชน  เกิดเป็นข้อตกลง  ข้อปฏิบัติของชุมชน มากมาย และจากนโยบายของรัฐ ในการสนับสนุนให้แต่ละสถานีอนามัยจะต้องมีพยาบาลวิชาชีพ 1 คน /สอ. เป็นสิ่งรับรองมาตรฐานของสถานีอนามัยมากขึ้น  เกิดเป็นความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่จะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น ดังนั้นสภาการพยาบาลจะต้องมีความภูมิใจที่ได้สร้างมาตรฐานวิชาชีพ  ลงไปสู่ชุมชนมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพยาบาล  ที่สำคัญการสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ทำงานในชุมชน  PCU และสอ. ของสปสช.  ก็ช่วยให้มีกำลังใจในการทำงานและดูแลสุขภาพ  เพราะไม่ใช่ได้เพียงสุขภาพแต่ได้ใจประชาชนด้วย  จึงขอเป็นกำลังใจให้คนทำงานสถานีอนามัยทุกแห่ง ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ จงเชื่อว่าท่านคือกำลังสำคัญของสาธารณสุข  ที่จะขับเคลื่อนการมีสุขภาพดีของประชาชน  มาตรฐานไม่สำคัญ  เท่ากับสิงที่คนทำอะไร เป็นอย่างไร ทำไม และเพื่อใคร สิ่งที่ได้คือ "ความสุขใจ"  จากการลงไปประเมิน ได้เห็นรูปแบบการทำงาน  ได้รับรู้ความต้องการ ได้เข้าใจปัญหา ได้รู้จักคนที่ทำงานเหมื่อนกับเรา  และคุยเรื่องเดียวกัน เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย  เป็นข้อดี สิ่งดีๆ แต่ละที่ก็ไปเผยแพร่ต่อยังที่อื่นๆ ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ไปยังที่ต่างๆ เกิดการแลกเป็นองค์ความรู้  และนวัตกรรมที่ดีๆ มากมาย(หากผู้มาอ่านที่เป็นจนท.สถานีอนามัย  เข้ามาอ่าน แล้วเกิดข้อสงสัยในมาตรฐานตัวใด สามารถติดต่อสอบถามมาได้ 074-399840 ,084-1961956 ยินดีให้คำปรึกษา... ) 

หมายเลขบันทึก: 272235เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คำพูด ท่านนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "เข้าถึง...เข้าใจ...พัฒนา" เหมือนกับแนวคิด การทำงานของข้าพเจ้าที่ยึดปฏิบัติมาตลอด "เข้าถึง...เข้าใจ..แก้ไขปัญหา ..สุขภาพ" จึงขอชื่นชมท่านนายกมากๆๆๆ แสดงถึงแนวคิดของการพัฒนาชุมชน...ระดับล่างอย่างแท้จริง .....น้ำแข็งบอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท