มุมมองของนิสิตวัย 40 ต่อการเขียนบทความลงในวารสารศูนย์บริการวิชาการ มข. และการเขียน blog


เขียนได้เรื่อยๆ บันทึกข้อมูลได้ไหลลื่นในแบบของเขา

เมื่อสืบค้นข้อมูลจนค้นพบเวบไซต์ของวารสารศูนย์บริการวิชาการ http://home.kku.ac.th/uac/ ซึ่งมีบทความที่มีสาระความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ได้

พี่หมออนามัยจากกิ่งอำเภอสามชัย จึงไหว้วานให้นายบอนช่วย save วารสารวิชาการที่อยู่ในเวบ เก็บไว้ให้อ่านด้วย เพราะอ่านแล้ว ชอบมาก

เมื่อสืบค้นไปจนพบ "การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารศูนย์บริการวิชาการ" ทำให้พี่หมออนามัย สนใจอยากที่จะส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารนี้บ้าง

".......บทความที่จะรับลงตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่มีแนวเขียนให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อ่านเพื่อได้สาระความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และได้เปิดกว้างให้ทุกศาสตร์สาขาวิชาที่จะเป็นสื่อที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในทุกระดับ.....(ทั้งนี้ จะไม่รับตีพิมพ์บทความวิจัยหรือรายงานการวิจัย)...."

พี่เค้ามีเรื่องที่อยากจะถ่ายทอดออกมาหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องราวภูมิปัญญาในท้องถิ่น ที่อยากจะบอกเล่าให้คนอื่นๆได้รับรู้บ้าง

และในไฟล์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์นั้น ได้แนะนำเวบไซต์ของวารสาร ที่ kku.ac.th และอีกแห่งที่ http://gotoknow.org/uac-journal ทำให้พี่หมอคลิกตามเข้าไปดู คลิกไปเรื่อยๆจนพบบันทึกอีกมากมายจาก blog ต่างๆใน gotoknow

การมี blog ก็สามารถเขียนบทความ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆได้เช่นกัน และสามารถคลิกเพื่อเผยแพร่ได้ทันทีในตอนนั้น

มุมมองของพี่หมออนามัยที่เกิดขึ้น คือ การส่งบทความไปลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์บริการวิชาการ ต้องทำตามรูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาของวารสาร และต้องรอการตอบรับถึง 10 วัน ว่าจะได้ตีพิมพ์หรือไม่...

แล้วมีความแตกต่างอย่างไร ในเมื่อบทความก็ถูกเผยแพร่ในเวบไซต์ ให้ผู้สนใจดาวน์โหลดได้ตลอดเวลา การเขียน blog ก็ถูกเผยแพร่ในเวบไซต์เช่นกัน และจะเขียนลงตอนไหนก็ได้ ไม่จำกัดความยาว จำนวนหน้า

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร สามารนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัย รายงาน และงานเขียนทางวิชาการอื่นๆได้ และรวบรวมเป็นผลงานเขียนต่อท้ายประวัติและผลงานที่ผ่านมาของเจ้าตัวได้...

แต่ในการเขียนบรรณานุกรมของ มมส. เห็นมีรูปแบบการอ้างอิงจากเวบไซต์ที่มีข้อมูลที่ต้องการ .. แบบนี้ก็อ้างอิงได้เช่นกันนี่นา

การพิจารณากลั่นกรองบทความของกองบรรณาธิการ จะทำให้เนื้อหาบทความเป็นไปตามมาตรฐานที่วางไว้ แต่ในมุมมองของพี่หมออนามัย เห็นว่า สำหรับมือใหม่อย่างเขา ไม่แน่ใจว่า จะได้ตามมาตรฐานหรือไม่ สิ่งที่ตั้งใจเขียนออกมา อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ก็ได้ แต่ใน blog ยังไงก็ถูกเผยแพร่ เพราะคนพิจารณามีคนเดียว คือ คนเขียนนั่นเอง

ความคิดเห็นจากพี่เขา สรุปว่า คงเลือกที่จะเขียน blog ดีกว่า เพราะสามารถเขียนไปได้เรื่อยๆ แม้จะไม่ได้ตามมาตรฐานวิชาการก็ตาม แต่เขาสามารถเขียนได้เรื่อยๆ บันทึกข้อมูลได้ไหลลื่นในแบบของเขา หากส่งบทความไปตีพิมพ์ ก็จะต้องรอผลการพิจารณา และปรับปรุงแก้ไขไปตามคำแนะนำ....

ในช่วงเวลานั้น เขาก็จะคิดถึงแต่บทความเรื่องนั้น เท่านั้น หากเขาเขียนบล็อก เขาสามารถที่จะถ่ายทอดเรื่องราว ได้ประเด็นที่หลากหลาย และแตกประเด็นที่น่าสนใจออกไปอีกมาก

สำหรับมือใหม่อย่างพี่หมออนามัย ขอเลือกการเขียนบทความใน blog ครับ และนายบอนก็เห็นด้วยในหลายประเด็นของพี่หมออนามัย...

หมายเลขบันทึก: 27199เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
 At Desk เรียนท่านบอน ขอบพระคุณครับ





พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท