งาน : การวิเคราะห์ข่าว บทความ(ชิ้นที่ 2 )การปฏิรูปและบูรณาการการศึกษาชุมชนบ้านนาหว้า


การปฏิรูปและบูรณาการการศึกษา(กองทุนสวัสดิการ)

งาน  :  การวิเคราะห์ข่าว บทความ  ดร.ประกอบ  ใจมั่น

นิสิต  :  นายคุณาพร  ไชยโรจน์  รหัส  5277708001 

 

การปฏิรูปและบูรณาการการศึกษา : แนวคิดและประสบการณ์ของโรงเรียนและชุมชนบางแห่งในประเทศไทย  กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาหว้าตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

 

ภูมิหลังความเป็นมา

ชุมชนบ้านนาหว้า เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีอยู่ 12 หมู่บ้าน มีกลุ่มออมทรัพย์ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2521 มีสมาชิกในหมู่ที่ 1 และ 12 มีผู้นำที่สำคัญคนหนึ่งของบ้านนาหว้า คือ นายเคล้า แก้วเพชร ซึ่งเป็นแกนนำที่มีความเชื่อมั่นว่า ชนบทต้องมีองค์กรชาวบ้านที่เข้มแข็ง สำหรับช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงจะอยู่รอด และเชื่อว่าชาวบ้านมีความสามารถในการบริหารจัดการทุนได้ด้วยตนเอง

นายเคล้า แก้วเพชร เป็นผู้นำที่นำกระบวนการเรียนรู้และการจัดการสร้างรูปแบบขององค์กรเครือข่ายชาวบ้านในชุมชนนาหว้า ให้มีระบบสวัสดิการเพื่อการตนเองในด้านต่างๆ ในรูปแบบ กองทุนสวัสดิการซึ่งกองทุนทั้งหมดเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านตั้งแต่เกิดจนตายมากมายหลายกองทุน ซึ่งกองทุนต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จได้ด้วยการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นำในชุมชน และการแลกเปลี่ยนกับผู้นำภายนอก

กองทุนที่สำคัญและกิจกรรมในชุมชนบ้านนาหว้า

กองทุนที่มีอยู่อย่างมากมายในบ้านนาหว้า อาทิ กลุ่มออมทรัพย์ สวัสดิการกองทุนหมุนเวียน กองทุนวัว กองทุนรวมน้ำยาง กองทุนโรงสีข้าว กองทุนโต๊ะ/เต็นท์/เก้าอี้/ชุดเครื่องครัว กองทุนชุดน้ำสังข์แต่งงาน กองทุนค่ารักษาพยาบาล

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ยังมีอีกหลายกองทุนในชุมชนบ้านนาหว้า ซึ่งเห็นได้ว่าชาวบ้านนาหว้ามีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรหรือกองทุน เพื่อจัดสวัสดิการให้กับชุมชนและสมาชิกได้เป็นอย่างดี

จากการพัฒนาจนเข้มแข็งทำให้มรการพัฒนาองค์ความรู้ และมรการจัดกระบวนการเรียนรู้จนพัฒนาเป็นกองทุนหมุนเวียนชาวบ้านสงขลา และสมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทสงขลา

จนกระทั่งในปี 2542 กองทุนเพื่อสังคม ได้จัดเงินทุนสมทบให้กับกลุ่มออมทรัพย์ที่มีกองทุนสวัสดิการ จำนวน 12 ล้านบาท จำนวน 21 กลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนบ้านนาหว้าเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 21 ชุมชนที่ได้รับทุนสมทบ (matching fund) มีครูชบ ยอดแก้ว เป็นประธาน ชุมชนบ้านนาหว้าจึงได้รับทุนสมทบอีก 2 ล้านกว่าบาท นำไปบริหารจัดการให้เกิดผลกำไร ทำให้กองทุนสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกกว่า 30 กองทุน

กองทุนสมทบส่วนหนึ่งและดอกเบี้ยนำไปจัดเป็นสวัสดิการ และจัดให้มีโครงการดังนี้ คือ โครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชน โครงการช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุ โครงการเลี้ยงโคขุน โครงการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน โครงการส่งเสริมการปลูกอ้อย

การเรียนรู้ของชุมชน

ชุมชนบ้านนาหว้าเป็น ชุมชนเรียนรู้ที่ใช้การออมทรัพย์และการจัดการกองทุนต่างๆ เป็นเวทีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมายาวนานสม่ำเสมอ ความสำเร็จอยู่ที่การจัดการที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีบทบาทในการเป็นผู้นำกองทุน ผู้จัดการกองทุนร่วมกัน จะเรียกว่าทุกคนในชุมชนล้วนมีบทบาทก็ไม่ผิดนัก การให้ทุกคนมีบทบาทในการบริหารจัดการ เรียนรู้ความรับผิดชอบ ความเสียสละ การทำงานเพื่อส่วนรวม นอกนั้น ทุกคนได้เรียนรู้ถึงการจัดการในรูปแบบต่างๆ

การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุมการออมทรัพย์ประจำเดือน การประชุมร่วมกันของผู้นำกองทุนทั้งหมด การประชุมกองทุนย่อยของแต่ละกองทุน ซึ่งมีการทำรายละเอียดทุกอย่าง จนกองทุนแต่ละกองทุนสามารถมีเงินเหลือจากการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเงินที่นำไปก่อให้เกิดกองทุนอื่นๆ

จากกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบและความโดดเด่นของการจัดการกองทุนสวัสดิการ ชุมชนบ้านนาหว้าจึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสำคัญสำหรับชุมชนจากทั่วประเทศ มีองค์กรและกลุ่มบุคคลจากที่ต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์อยู่เสมอ ซึ่งก็เป็นโอกาสสำคัญอีกโอกาสหนึ่งของการเรียนรู้ของชุมชนนาหว้าเอง

 

 เรียบเรียงจาก รายงานการวิจัย เรื่อง  การปฏิรูปและบูรณาการการศึกษา : แนวคิดและประสบการณ์ของโรงเรียนและชุมชนบางแห่งในประเทศไทย  โดย  รศ.ดร.เสรี  พงศ์พิศ และคณะ

*****ที่มาของข้อมูล............ http://www.ru.ac.th/tambon/mooban/bannavar.htm

 

ภาควิเคราะห์

                จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของการปฏิรูปและบูรณาการการศึกษา : แนวคิดและประสบการณ์ของโรงเรียนและชุมชนบางแห่งในประเทศไทย  กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาหว้าตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  ทำให้พอที่จะทราบได้ว่าการที่ชุมชนแห่งนี้ทั้ง 12 หมู่บ้านเข้มแข็งขึ้นได้นั้นมีที่มาจากปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ การมีผู้นำที่เข้มแข็ง(นายเคล้า แก้วเพชร)ซึ่งถือเป็นหัวสมองหลักของชุมชนอันนำพานวัตกรรมการบริหารจัดการภายในมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ-ประสิทธิผล  นายเคล้า แก้วเพชรเป็นผู้นำที่นำกระบวนการเรียนรู้และการจัดการสร้างรูปแบบขององค์กรเครือข่ายชาวบ้านในชุมชนนาหว้า ให้มีระบบสวัสดิการเพื่อการตนเองในด้านต่างๆ ในรูปแบบ กองทุนสวัสดิการ   และด้วยรูปแบบที่ท่านนำระบบกองทุนสวัสดิการมาใช้จัดการภายในหมู่บ้านนี่เองจึงถือเป็นนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบให้หลายๆหมู่บ้านในประเทศไทยปฏิบัติตาม-เลียนแบบ จนเป็นที่ประจักษ์ถึงความสำเร็จหลายหมู่บ้านแล้ว  อาทิ  กลุ่มออมทรัพย์ สวัสดิการกองทุนหมุนเวียน กองทุนวัว กองทุนรวมน้ำยาง กองทุนโรงสีข้าว กองทุนโต๊ะ/เต็นท์/เก้าอี้/ชุดเครื่องครัว กองทุนชุดน้ำสังข์แต่งงาน กองทุนค่ารักษาพยาบาล  ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนเข็มแข็งด้วยตัวเอง  พึ่งพาตนเองได้ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  เมื่อจัดการตนเองให้ไม่เดือดร้อนแล้วจึงสามารถมีเวลาไปช่วยเหลือเพื่อนๆคนอื่นภายในชุมชนได้  เป็นต้น  อนึ่ง  การเรียนรู้เพื่อพึ่งพาตนเองของชุมชนบ้านนาหว้าเป็น ชุมชนเรียนรู้ที่ใช้การออมทรัพย์และการจัดการกองทุนต่างๆ เป็นเวทีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมายาวนานสม่ำเสมอ  การให้ทุกคนมีบทบาทในการบริหารจัดการ เรียนรู้ความรับผิดชอบ ความเสียสละ การทำงานเพื่อส่วนรวม นอกนั้นทุกคนในชุมชนยังได้ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอีกด้วย  ชุมชนบ้านนาหว้าจึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสำคัญสำหรับชุมชนจากทั่วประเทศ มีองค์กรและกลุ่มบุคคลจากที่ต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์อยู่เสมอ

 

หมายเลขบันทึก: 271923เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท