บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน


ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรากฐานความรู้ประสบการณ์ มรดกคุณค่าความรู้ความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน เป็นความรอบรู้ที่สั่งสมมาจากอดีตบรรพบุรุษ สืบทอดต่อกันมาอย่างไม่ขาดสายของการถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ของชาวบ้าน และมีการประยุกต์จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม คนรุ่นเราๆรวมทั้งนักวิชาการทั้งในมหาวิทยาลัย นอกมหาวิทยาลัยและนักการศึกษาทุกระบบมักลืมและทอดทิ้งไม่กล้าพูดถึง เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่กล้ากอบกู้ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการในทุกมิติ เป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่งนั้นที่รากฐานเหล่านี้กำลังถูกหลงลืมและแทนค่าด้วยการนำกระแสพัฒนาที่เลวของทุนนิยมโลกาภิวัฒน์เข้ามาแทนที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้ ส่งผลกระทบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อ การจัดการการเรียนการสอน การจัดการหลักสูตรภูมิปัญยาท้องถิ่น การประกอบอาชีพ การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มากมายที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้จัดการ ได้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม สมดุลมาแล้ว เราจึงควรกอบกู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กลับมารับใช้ชีวิตและสังคมกันเถอะ

 ในบทเพลงเพื่อชีวิตเพื่อประชาชน มีบทร้องอยู่เพลงหนึ่งหนึ่งที่กินใจมากว่า "ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาหาใช่ชีวิตเรา เรียนรู้โลกและชีวิตอุทิศสร้างสรรสังคมยุติธรรม"กระทรวงศึกษาธิการ พยายามระดมความคิดกับทุกหน่วยงานการศึกษา ในการกำหนดวิสัยทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ดังนี้ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เพื่อให้บริการทางวิชาการแกสังคมอย่างทั่วถึง มีการจัดการความรู้ที่ดี อันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนร฿ ที่ก้าวทันสังคมโลก ในขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราที่ 22 วรรค 2 ให้ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมกับวิทยาการสมัยใหม่ การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพในการคิดื วิเคราะห์ ตัดสินใจ ตลอดจนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ เหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่น่าให้การศึกษารัฐมนตรีและผู้บริหารการศึกษาก็คือการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ไม่พอ แต่ต้องกอบกู้ ฟื้นฟู ให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการบริหารการศึกา การจัดทำหลักสุตรท้องถิ่น และแผนการจัดการทำหลักสูตรท้องถิ่นอย่างจริงจัง  หากเราเคยได้ยินชาวบ้านที่บ้านน้ำก้อ น้ำชุน เขาออกโทรทัศน์ ผู้อาวุโสบอกกับเราว่าในอดีตไม่เคยเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เพราะชาวบ้านหวงแหนป่าไม้และอนุรักษ์ป่า มีกฎพื้นบ้านที่แข็งแรง พอมาหลังๆทิ้งกัน ก็ปล่อยให้มีการรุกป่า ตัดไม้ รับเงินนายทุนโค่นป่า ชุมชนไร้ศักยภาพการบริหารจัดการป่า ก็กลายเป็นความหายนะในวันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ต้องทบทวนสรุปบทเรียนที่หน่วยงานของคุณส่งเสิมให้ชาวบ้านให้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงมานานว่า 40 ปี ส่งผลให้ดิน ระบบนิเวศน์ล่มสลาย คนตายไปมากับนโยบ่ายเหล่านี้ นี่เพราะทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการการเกษตรในอดีต ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้ชุมชนจัดตั้งขึ้นมาอย่างมากมายโดยมีฐานภูมิปัญญาที่เข้มแข็ง ผ่านความมานะ บากบั่น อดทนของปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หาญกล้าขึ้นมาบอกกับผู้คนในสังคมว่า วิถีชีวิตของเกษตรกร มวลชนพื้นฐานเหล่านี้มรทางออกของการปลดหนี้ มีกิน ไม่ยากจน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ หลักสุตรท้องถิ่น การแก้ปัญหาหนี้สินและความอดอยากยากจน ที่ไม่ต้องพึ่งพาโรงเรียน ที่นับวันจะสร้างลูกหลานให้กลายเป็นคนแปลกหน้า แปลกปลอม ต่อชุมชน สังคม หมู่บ้าน การศึกษาในระบบต้องได้รับการวิพากษ์อย่างแรงหากไม่ปรับตัว ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องจะถ่ายทอดอย่างละเอียดต่อไปในบล็อกของผมครับ

หมายเลขบันทึก: 271867เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การศึกษาต้องปรับมโนทัศน์กันขนานใหญ่ทั้งผู้จัดการศึกษา ผู้เขียน ผู้ปกครอง การเรียนที่มุ่งแข็งขันทำเกรด มุ่งสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย จบมารับใช้ระบบทุน ราชการ แม้บางคนจะหลุดกรอบออกมารับใช้สังคมชุมชนบ้างแต่น้อยเหลือเกิน ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังหางานทำไม่ได้ และไม่สามารถสืบสานงานของพ่อแม่ โดยเฉพาะภาคการเกษตร เพราะว่าทำไม่เป็น ไม่กล้าทำ สังคมให้ความหมายคนทำเกษตรว่าเป็นพวกไม่มีความรู้ สกปรก ผู้ผ่านการศึกษาหลายคนซึมซับเอาแนวคิดมาจึงไม่ค่อยกล้าสานงานต่อ

ผมเห็นว่าคุณครูหลายท่านพยายามเชื่อมโยงการเรียนรู้จากนอกห้องเรียนไปสู่เรื่องราวของชุมชน เพราะตระหนักดีว่า ผู้เรียนควรได้เรียนรู้เรื่องราวที่หลากหลายโดยเฉพาะเรื่องราวในชุมชน อย่างที่พี่ว่านั่นแหละครับ ผู้ใหญ่ในชุมชนกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับเด็ก และเด็กกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับชุมชน เราต้องทำให้ชุมชนเป็นโรงเรียนของเด็ก ๆ และชาวบ้านเป็นครูของพวกเขา และศูนย์การเรียนรู้ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างรอยต่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท