มะนาวขม อมเปรี้ยว
นาย พิทักษ์ มะนาวขม อมเปรี้ยว พิสัยพันธุ์

สัมมนาพืชศาสตร์ เรื่อง การผลิตมะนาวนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทาโซล


การผลิตมะนาวนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล

สัมมนาพืชศาสตร์

ประจำภาคเรียนที่ 2/2545

เรื่อง การผลิตมะนาวนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล

ผู้สัมมนา สมเกียรติ กุลนิล วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2546


บทคัดย่อ

ผลมะนาวที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifilia Swingle อยู่ในวงค์ Rutaceae เป็นไม้ผลยืนต้นจำพวกส้มชนิดหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่ามีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจเป็นพืชเมืองที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมาช้านาน และมีความสำคัญครอบครัวของคนไทย โดยเฉพาะการนำไปปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยวิตามินซีและรสชาติของมะนาวนั้นยากจะนำสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ตามปกติมะนาวจะซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปและขายทุกๆฤดู แต่ราคามะนาวจะแพงมากในเดือน มีนาคมเมษายน ตกอยู่ผลละ 2-5 เกษตรกรรู้จักวิธีบังคับมะนาวให้ออกดอกออกผลนอกฤดูด้วยวิธีการต่างๆ เช่น วิธีการกักน้ำปล่อยน้ำให้ท่วมโคน การควั่นหรือใช้ลวดรัดที่โคนต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการทรมานต้นมะนาวทำให้ต้นมะนาวโทรมหรือตายได้ แต่ในปัจจุบันได้พบวิธีบังคับให้มะนาวออกนอกฤดู โดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งไม่เป็นการทรมานต้นมะนาวจนเกินไปและได้ผลดี

คำนำ

ผลมะนาวใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของการใช้ปรุงอาหารเป็นเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูงเป็นยาสมุนไพรและใช้ในเครื่องสำอาง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่มีคุณค่าและมีความต่างจากผลไม้อื่นๆมาก เนื่องมะนาวเป็นไม้ผลที่ตลาดมีความต้องการสูงตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มะนาวจะติดผลน้อยที่สุดและมีราคาแพงที่สุดในระหว่างปี ซึ่งจะมีราคาต่อผลประมาณ 2-5 บาท

การที่มะนาวมีความสำคัญและเป็นต้องการของตลาดอย่างกว้างขวางเช่นนี้ทำให้มะนาวเป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการที่นักวิชาการเกษตรได้ค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปัจจุบันสามารถค้นพบวิธีการบังคับมะนาวให้ออกดอกติดผลนอกฤดูหรือในเวลาที่ต้องการได้ โดยผลที่ได้รับนั้นค่อนข้างแน่นอนกว่าวิธีเกษตรกรเคยปฏิบัติ

เนื้อหา

ผลมะนาวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus aurantifilia Swingle อยู่ในวงค์ Rutaceae เป็นพืชพื้นเมืองที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมาช้านานและมีความสำคัญต่อครอบครัวของคนไทย โดยเฉพาะการนำไปปรุงรสอาหารหรือนำไปทำเป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยวิตามินซีและรสชาติของมะนาวนั้นยากจะนำสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ตามปกติมะนาวจะหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป และมีขายทุกๆฤดู แต่ราคานั้นแตกต่างกันโดยเฉพาะในหน้าแล้งราคามะนาวจะแพงมาก โดยเฉพาะเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะมะนาวในช่วงนี้จะมีผลผลิตน้อยมาก เนื่องจากในช่วงแล้งเป็นช่วงที่มะนาวมีการพักตัว มีการทิ้งใบเตรียมที่จะออกดอก ดังนั้นการบังคับมะนาวให้ออกดอกและติดผลในฤดูแล้งจึงมีความสำคัญ เกษตรรู้จักวิธีบังคับมะนาวให้ออกดอกและติดผลในฤดูด้วยวิธีการต่างๆเช่น วิธีการกักน้ำการปล่อยน้ำให้ท้วมโคน การควั่นหรือใช้ลวดรัดที่โคนต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการทรมาน ต้นมะนาวทำให้มะนาวโทรมหรือตายได้ แต่ปัจจุบันได้พบวิธีบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งไม่เป็นการทรมานต้นมะนาวจนเกินไปและได้ผลดี

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

ลำต้น ลำต้นมีลักษณะงอ เปลือกสีเทาปนน้ำตาลกิ่งอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่มีสีเข้มขึ้น บนลำต้นมีหนามเกิดทีซอกใบเป็นสีเขียวเข้มถึงเขียวอมเหลืองใบ มีแผ่นใบอันเดียวสีเขียวอ่อน รูปร่างข้างยาวหรือรูปไข่ ปลายใบมีรูปร่างแหลมขอบใบหยัก แผ่นใบกว้างประมาณ 3 – 6 ซม.และยาว 6 – 12 ซม. ก้านใบมีขนาดสั้นมีปีกใบแคบหรือไม่มีขึ้นอยู่ชนิดพันธุ์

ดอก ดอกเกิดบริเวณซอกใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ดอกมีตุ่มขนาดความยาว 1 – 2 ซม. กลีบเลี้ยงมีสีเขียวอ่อนกลีบดอกสีเขียว เกสรตัวผู้มีจำนวนมากถึง 20 – 40 อัน เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆละ 4 – 8 อัน เกสรตัวเมียมีรังไข่รูปรางเกือบทรงกระบอกหรือถังเบียร์

ผล รูปร่างยาวหรือรูปไข่และกลมที่ก้นและผลมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ ผลมีความยาว 7 – 12 ซม. ผิวเมื่อสุกมีสีเหลืองหรือทองมีต่อมน้ำมันที่ผิวเปลือก เปลือกลักษณะขรุขระใน 1 ผล มี 8 – 10 กลีบ เนื้อสีเหลืองอ่อนรสเปรี้ยวกลิ่นหอม

พันธุ์มะนาว

พันธุ์มะนาวที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ แต่ทีนิยมปลูกกันได้แก่

1 . มะนาวหนัง

2 . มะนาวไข่

3 . มะนาวตาฮิติ

4 . มะนาวแป้น

ฤดูปลูก

ช่วงที่เหมาะที่จะปลูกมะนาว คือ ตอนต้นฤดูฝน ดังนั้นในฤดูแล้งระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ เมษายน ผู้ปลูกจะต้องไถดินปรับให้เรียบหรือทำคันร่องนูนเหมือนหลังเต่า ช่วยระบายน้ำออกได้เร็ว

การเตรียมหลุมปลูก และระยะปลูก

ดินที่อุดมสมบูรณ์ ควรใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตรถ้าดินไม่อุดมสมบูรณ์ ปลูกระยะ 5 x 5 เมตรระยะปลูกขนาดนี้ใน 1 ไร่ ได้ 40 ต้นการเตรียมหลุมมะนาว ขุดหลุมมี ขนาด กว้าง ยาว ลึกประมาณ 90 ซม . ใส่เศษใบไม้แห้งที่ผุแล้วใส่ก้นหลุมอัดให้แน่น 20 ซม . เผื่อช่วยซับน้ำที่รดลงไป ถัดขึ้นมาใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว ขี้ควาย หนา 15 ซม. ใส่ปุ๋ย N - P -K สูตร 20 - 11 – 11 สัก 2 ช้อนแกงต่อใช้ปุ๋ยคอกผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา อัตรา 1: 2 เคล้ากันให้เข้ากันแล้วใส่ในหลุมให้สูง 20 ซม. ( เปรมปรี , 2537 )

การใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการผลิตมะนาวนอกฤดู มีการปฏิบัติดังนี้

การเตรียมต้นมะนาว

ในเดือนกรกฎาคม ควรทำการเก็บผลมะนาวที่ติดในฤดูปกติให้หมด และบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์สำหรับสวนมะนาวที่จะทำผลผลิตขายในฤดูแล้งในปีถัดไปจะต้อง เริ่มตัดแต่งกิ่ง ตัดลูกที่อยู่บนต้นออกให้หมด ตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภาคม หลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 25-7-7 อาจจะผสมปุ๋ยอินทรีย์เป็นมูลไก่ อัดเม็ดอย่างละครึ่งต่อครึ่งหลังหว่านปุ๋ยต้องให้น้ำให้ชุ่มพร้อมกับอีกพ่นปุ๋ยทางใบจะช่วยให้มะนาวแตกยอดอ่อนได้ (ธวัฒชัย,2542) และในสภาพดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 (มนัส,2543) หรือ 9-27-27 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ต้น ซึ่งปุ๋ยนั้นอาจผสมกระดูกป่นลงไปด้วยก็ได้ (ธันวา,2544) แต่ถ้าเป็นดินทรายใช้ปุ๋ยสูตร 9-24-24 ประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ตัน โดยการหว่านรอบทรงพุ่ม เพื่อเร่งการออกดอกให้ดีขึ้น (มนัส,2543)

การใช้สารพาโคลบิวทราโซล และ NAA

ต้นเดือนกันยายน รดสารพาโคลบิวทราโซลที่โคนในระยะใบเพสลาด อายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ในอัตราเนื้อสาร 1 กรัม ผสมน้ำ 1-2 ลิตรต่อเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม 1 เมตร สารจะไปยับยั้งการเจริญทางกิ่งใบ และการกระตุ้นการสร้างตาดอกในช่วงเดือน ตุลาคม จะมีมะนาวทวายออกมาต้องปลิดผลเหล่านี้ทิ้งไป โดยการใช้สาร NAA จำนวน 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นดอกจะร่องโดยไม่มีอันตรายต่อใบ (วิเศษ,2542) มะนาวจะแตกยอดออกดอกระยับไปหมด เนื่องจากต้นสมบูรณ์เต็มที่นั้นเอง เมื่อดอกเริ่มบานต้องใช้แคลเซียมโบรอน ผสมสาหร่ายสกัดเพื่อช่วยผสมเกสรพอเริ่มติดผลต้องใช้สาร NAA กระตุ้นให้ขั้วเหนียวให้โตเร็วและลดการสลัดลูกทิ้ง

การดูแลรักษาดอกและผล

ปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มะนาวที่ให้ดอกแล้วจะมองเห็นตุ่มดอกเล็กๆระยะนี้หากมีเพลี้ยและไรแดงเข้าทำลายให้ฉีดยาพวกไพรีทรอย ซึ่งยากลุ่มนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มาช่วยผสมเกสรหากเห็นว่าดินเริ่มแห้งอาจจะยืดหลัก 3 วันครั้งให้น้ำ แต่ของพื้นที่เป็นดินเหนียวและมีน้ำใต้ดินไม่ลึกมากอาจจะรอ 5 วันจึงให้น้ำครึ่งหนึ่ง (ศุภกิจ,2543) หรือในช่วงหน้าแล้งในทุกวันต้นละประมาณครึ่งชั่วโมง (เสนห์, 2543) ส่วนการดูแลรักษาดอกให้ติดดีนั้นสำหรับต้นมะนาวที่มีอาหารสะสมอย่างเต็มที่ ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือมะนาว ก็จะออกดอกติดผลดี แต่มะนาวที่มีอาหารสะสมไม่เพียงพอดอกจะร่วงหล่น และติดผลน้อยเกินไป การช่วยเหลือทำได้โดยใช้สาร NAA 1 มิลลิลิตร หรือ 1 ซีซี ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นตั้งแต่เริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ขั้วเหนียวหลังจากผลมะนาวมีการขยายผลมากจึงควรใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 หรือ 20-11-11ในอัตรา 300 กรัมต่อต้นโดยหว่านรอบๆชายพุ่มหรือบางครั้งให้ปุ๋ยทางใบเกล็ดสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 ฉีดทุกๆ 7–10 วัน (ศุกกิจ,2540)

ขั้นตอนการบังคับให้มะนาวติดผลและเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

1.      เดือน พฤษาคม มิถุนายน จะต้องทำการตัดแต่งและใส่ปุ๋ยเพื่อให้แตกยอด

2.      เดือน กรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลที่ออกในฤดูปกติให้หมด

3.      เดือน สิงหาคม ตัดแต่งและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเตรียมเร่งดอกและต้องการกระตุ้นใบให้เพสลาด

ในช่วงเดือนกันยายนและมีการปลัดดอกและหวายทิ้งไว้เรื่อยจนกรทั่งปลายๆ เดือนตุลาคมจึงหยุด

4.      ต้นเดือนกันยายน ราดสารพาโคลบิวทราโซล

5.      เดือนตุลาคม หยุดแตกยอด

6.      ปลายเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน จะออกดอกที่ต้องการ (1 ½ -2 ½ เดือน หลังราดสาร)

7.      เดือน ธันวาคม-ภุมภาพันธุ์ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น

8.      เดือน มีนาคม-เมษายน ผลเริ่มแก่พร้อมจะเก็บเกี่ยวซึ่งจะขายได้ราคาแพง (วิเศษ,2542สำหรับในสวนมะนาวนั้นผลการทดลองทั้งหมดในการใช้สารเปรียบเทียบกันหลายอัตรา สรุปได้ว่ามะนาวไข่นั้นสามารถตอบสนองได้ดี ละไม่มีผลที่จะทำให้เกิดการหยิกงอหรือทำให้ยอดนั้นสิ้นลง

แต่ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ตั้งแต่ราดสาร 1 ½ -2 ½ เดือนดังกล่าว โดยต้นที่มีการราดสารอัตราสารออกฤทธิ์ 3 กรัมต่อต้น ที่มีขนาดทรงพุ่ม 2.80 เมตร สามารถออกดอกได้เดือนตุลาคม - พฤศจิายน ถึง 31- 31.33% ในขณะที่ต้นเปรียบเทียบไม่ราดสารสามารถออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิายน เพียง 1.31% และต้นที่ราดสารที่ออกดอกนั้นปรากฏว่ามีดอกสมบูรณ์และติดผลดี

                                     

         ภาพที่1 ราคาผลมะนาวชนาดกลาง(ขายปลีก) ที่จังหวัดสุพรณบุรี พ.ศ. 2536 (เปรมปรี,2537)

 

 การทดลองเกี่ยวกับการใช้สารพาโคลบิวทราโซล 3 ถึง 9 กรัมของเนื้อสารกับมะนาวอายุทรงพุ่มประมาณ 3 เมตรร่วมกับการควั่นกิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 1.25 ถึง 2.5 ซ.ม. ผลการทดลองดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 เปอร์เซ็นต์การออกดอกของต้นมะนาวภายหลังการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ราดที่โคนต้นร่วมกับวิธีการควั่นกิ่ง

และเฉลี่ยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการปลิดผลก่อนการใช้สารจะทำให้มะนาวออกดอกได้ดีกว่าการไม่ติดผลดังตารางที่ 2 และ 3

ตารางที่ 2 การใช้สารพาโคลบิวทราโซล เดือนสิงหาคมโดยปลิดผลในต้นทิ้งให้หมดก่อนใช้สาร

การใช้สาร

ปริมาณช่อดอกใน 1 ตารางเมตร

จำนวนผลต่อต้น

ไม่ให้สาร

พาโคลบิวทราโซล 1.5 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.0 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.5 กรัม/เมตร

15.3

68.7

81.1

99.9

101.5

212.5

293.7

273.5

 

ตารางที่ 3 การใช้สารพาโคลบิวทราโซล เดือนสิงหาคมโดยไม่ปลิดผลในต้นทิ้งก่อนการใช้สารจำนวนผลในต้นประมาณ 75 – 150 ผลต่อต้นในขณะใช้สาร

 

การให้สาร

ปริมาณช่อดอกใน 1 ตารางเมตร

ไม่ให้สาร

พาโคลบิวทราโซล 1.5 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.0 กรัม/เมตร

พาโคลบิวทราโซล 2.5 กรัม/เมตร

10.7

42.4

54.9

64.8

ดังนั้นการใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการกระตุ้นการออกดอกของมะนาวนอกฤดูจะต้องเตรียมต้นมะนาวให้อยู่ในสภาพที่พร้อมและการใช้สารสามารถใช้ร่วมกับการควั่นกิ่งซึ่งจะให้ผลดีขึ้น อีกทั้งสารที่ให้จะต้องใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมด้วย ( พีระเดช ,2542)

สรุป

เนื่องจากมะนาวเป็นไม้ผลที่ตลาดต้องการสูงตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เดือน มีนาคมถึงเมษายน มะนาวจะมีราคาแพงที่สุด ซึ่งตกอยู่ผลละ 2–5 บาท ดังนั้นเกษตรกรรู้จักวิธีการบังคับมะนาวให้ออกมาติดผลมนอกฤดูด้วยวิธีการต่างๆ เช่น วิธีการกักน้ำการปล่อยน้ำให้น้ำท่วมโคน การควั่นหรือใช้ลวดรัดที่โคน ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการทรมานต้นมะนาว ทำให้มะนาวโทรมหรือตายได้ แต่ในปัจจุบันได้พบวิธีบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูโดยการใช้สารพาโดลบิวทราโซล ซึ่งไม่เป็นการทรมานต้นมะนาวเกินไปและได้ผลดี

เอกสารอ้างอิง

ธันวา ไวยอท. 2544. มะนาวนอกฤดูเมืองไม้ผล. 13 (154):75-76.

ธวัฒชัย มาลาม. 2545. สวนมะนาวเงินล้าน. 18 (213):6 – 9

เปรมปรี ณ สงขลา. 2537. ทำสวนส้มอย่างมืออาชีพ. เจริญรัฐการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 135 น.

พีรเดช ทองอำไพ . 2542 . เทคนิคผลิตมะนาวนอกฤดู . เคหเกษตร . 23 ( 9 ) : 66 – 72 .

มนัส หุมุหุล. 2543. การผลิตมะนาวนอกฤดู. เคหทเกษตร. 24 (11):51–54.

วิเศษ อัครวิทยากุล. 2540. การปลูกมะนาวเกษตร. กรุงเทพฯ. 109 น.

ศุภกิจ แก้วถนอม. 2540. การปลูกมะนามะนาว. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 94 น.

เสนห์ แสงดำ. 2543. สวนมะนาว. เกษตรพัฒนา. 19 (220):31–34 .

สุรชัย นาตะสินธ์. 2545. ผลิตมะนาวนอกฤดู. เมืองเกษตร. 12 (135) : 17–24.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 271864เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 06:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท