จิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ(3000-1609)


โดย : อ.ชิษณุพงศ์ โคตรบัณฑิต (พธ.บ.จิตวิทยา,วิชาชีพครู มทร.)

Psychology : จิตวิทยา

วามรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

แต่เดิมเป็นระยะเวลายาวนานที่คนทั่วไปยังไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์หรือองค์ความรู้สมัยใหม่หรือแม้แต่ควารู้เกี่ยวกับจิตวิทยานั้น มนุษย์ส่วนมักจะอาศัยความเชื่อ สามัญสำนึก การคาดเดาเอาเอง และจากโหราศาสตร์ ฟ้าร้อง ฝนตก เหตุภัยตามธรรมชาติมักจะคาดว่า เกิดจากผู้มีฤทธิ์บรรดาลให้ปรากฎ

แต่ในปัจจุบันนี้ ความรู้หใหม่ อาศัยความเจริญทางวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้อง รวมถึงศาสตร์ทางจิตวิทยาก็นับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การศึกษาจิตวิทยาจะช่วยนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ในอันที่จะนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ปรับพฤติกรรมเพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี มีความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกมนุษย์

ความหมายของจิตวิทยา

                ตามความหมายใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ จิตวิทยาไว้ว่า

วิชาว่าด้วยจิตวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต

                จิตวิทยา มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Psychology มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกสองคำรวมกัน คือ คำว่า Phyche รวมกับคำว่า Logos

                คำว่า Phyche หมายถึง วิญญาณ (Soul) และคำว่า Logos หมายถึง การศึกษา (Study)

                ดังนั้น เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกัน  Psychology จึงหมายถึง การศึกษาเรื่องของวิญญาณ (สมัยเก่า)

ต่อมาจิตวิทยาได้พัฒนาการจากการศึกษาเรื่องของวิญญาณมาเป็นเรื่องของ จิต กลายเป็น ารศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ละสัตว์อย่างเป็นระบบแบแผน (สมัยใหม่)โดยเฉพาะ คำว่า จิตวิทยา นี้ มีผู้ให้คำนิยามไว้ต่างๆกัน อาทิเช่น

ราชญ์ชาวตะวันตก ฮิลการ์ด (Hilgard, 1963) กล่าวว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

ส่วนคนไทย ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และประสาน หอมพูล ,2542 อธิบายว่า จิตวิทยา

             คือ วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยที่พฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง เช่น การหุบใบของไมยราพ เมื่อคนเดินเฉียดไปถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของมันเข้า เป็นต้น
                จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของมนุษย์ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของจิตวิทยาคือกรศึกษาเพื่อจะอธิบาย พยากรณ์ และเปลี่ยนแปลง ปรับแต่งพฤติกรรม เพื่อให้ชีวิตของบุคคลและสังคมดีขึ้น การบรรลุเป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ยาก ตราบใดที่เรายังขาดความรู้เกี่ยวกับตัวเราและผู้อื่น ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รอบตัวเราที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความเป็นมาของจิตวิทยา 

วิชา จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณซึ่งศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิญญาณ ในแถบโลกด้านตะวันออก ศาสดาสำคัญ เช่น พระพุทธเจ้า  เล่าจื๊อ ขงจื๊อ ได้ใช้จิตวิทยาในการสอนศาสนามาก่อนแล้ว

 ในส่วนแถบตะวัตกมีนักปราชญ์เช่น จอห์น ล็อค (John Locke,1704) นักปรัชญาชาวอังกฤษ สนใจเรื่องจิตอย่างจริงจังจนได้ฉายาว่า    บิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่ ท่านว่า จิต คือความที่เรารู้สึกตัว (Consciousness) คือรู้ว่า กำลังทำอะไร คิดอะไรอยู่ จิตของมนุษย์แรกเกิดนั้น สะอาดบริสุทธิ์ว่างเปล่าเสมือนผ้าขาวสะอาด สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อจิตเสมือนสีย้อมผ้าที่ทำให้มีสีต่างๆ เมื่อเจริญวัยก็ค่อยสร้างสมจิตที่สมบูรณ์ โดยได้จากการเรียนรู้ การฝึกจิตให้เฉียบแหลมควรฝึกด้วยการคิดคำนวณ จิตของคนเราเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ต่างๆ

                       จอห์น วัตสัน (John B.Watson 1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน สอนอยู่ที่หาวิทยาลัย John Hopkins ระหว่าง ค.ศ. 1908-1920 เป็นผู้อำนวยการห้องทดลองสัตว์ในมหาวิทยาลัยที่เขาสินอยู่ เขาเน้นหนักถึกการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยศึกษาบนรากฐานที่ว่า สิ่งเร้าภายนอกเป็นสาเหตุของพฤติกรรม คือสิ่งเร้าภายนอกมาเร้า ร่างกายก็จะเกิดการตอบสนองทันที วัตสันให้แนวความคิดว่า การแสดงออกที่เรียกว่า พฤติกรรม (Behavior) เป็นการสะท้อนให้เห็นจิตของคนนั้น ฉะนั้นเมื่อต้องศึกษาเรื่องจิตก็ควรจะศึกษาเรื่องพฤติกรรม

                        สำหรับการศึกษาจิตวิทยาในประเทศไทยนั้นก็มีมานานแล้ว มีผู้สนใจศึกษาวิชานี้จากตางประเทศแล้วนำกลับมาเผยแพร่ เช่น พระยาเมธาธิบดี อาจารย์เกื้อม อิงควณิชย์ ม.ล. ตุ้ย ชุมสาย เป็นต้น
ส่วนมมากแนวคิดนักจิตวิทยา มีการจัดกลุ่มแนวความคิดออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้จิตวิทยาบางสาขาโดยสังเขป ดังนี้

                1. กลุ่มโครงสร้างนิยม

               ผู้นำคือ  วิลเฮมล์ แมกซ์ วุนต์ ใช้วิธีการศึกษาแบบตรวจสอบจิตตนเอง และการทดลองควบคู่กัน โดยพิจารณาความรู้สึกหรือความคิดของตนเอง เหตุที่ได้ชื่อว่ากลุ่มโครงสร้างของจิต ก็เพราะว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาจิตสำนึกของตน และมีความเห็นว่า โครงสร้างของจินั้นประกอบด้วยจิตธาตุ คือการรู้สึกการสัมผัสและมโนธาตุ ซึงจะก่อให้เกิดความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผลและอื่นๆ

                2. กลุ่มหน้าที่ของจิต

ในระหว่างปี ค.ศ. 1900 (2443) นักจิตวิทยาชื่อ จอห์น ดิวอี้ (Joun Dewey) และวิลเลียม เจมส์ (William James) ชาวอเมริกันเป็นคนนำกลุ่ม ซึ่งมีความเห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้นควรที่จะศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั่นคือ ศึกษาจิตใจในรูปของการกระทำกิจกรรมต่างๆที่จะปรับตัวให้เหมาสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มหน้าที่ของจิตเน้นในเรื่องพฤติกรรมและการปรับตัว

                3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม

                ผู้นำกลุ่ม คือ จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ประกาศแนวความคิดของเขา ในปี ค.ศ. 1913 (2456) ในหนังสือจิตวิทยาในทรรศนะของนักพฤติกรรมนิยม (Psychology as the behaviorist view it) เขามีความเห็นว่า นักจิตวิทยาต้องสามารถเสนอข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการค้นคว้าทดลองให้ปรากฏแก่สายตาของผู้ที่สนใจ เจ้าของทฤษฎี S-R

              จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson 1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins ระหว่าง ค.ศ. 1908-1920 Watson เป็นผู้อำนวยการห้องทดลองสัตว์ในมหาวิทยาลัยที่เขาสอนอยู่ เขาจะเน้นหนักถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เขาศึกษาพฤติกรรมของคนบนรากฐานที่ว่า สิ่งเร้าภายนอกเป็นสาเหตุของพฤติกรรม คือ สิ่งเร้าภายนอกมาเร้าร่างกายก็จะเกิดการตอบสนองทันที Watson ให้แนวความคิดว่า การแสดงออกที่เรียกว่า พฤติกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นจิตของบุคคลนั้น ฉะนั้นเมื่อต้องการศึกษาเรื่องจิต ก็ควรศึกษาเรื่องพฤติกรรม

                4. กลุ่มจิตวิเคราะห์

                ผู้นำกลุ่ม คือ ชิกมัน ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความคิดหลักอยู่ว่า จิตมีลักษณะเป็นพลังงาน เรียกว่า พลังจิต มีหน้าที่ควบการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายทั้งหมด พลังจิตมี 3 ลักษณะ คือ จิดสำนึก จิตระหว่างรู้สำนึกกับไร้สำนึก และจิตไร้สำนึก หลายคนบอกว่า....ฟอร์ยคือ เจ้าของ ทฤษฎสำเร็จความใคร่ด้วยบยตนเองคนหนึ่ง

                พลังจิตนั้น ฟรอยด์เชื่อว่ามีอยู่จำกัด ทฤษฎีคงรูปของพลังงานมีเนื้อหาอยู่ว่าพลังจิตนั้นคงที่ไม่มีทางทำลายหรือสร้างขึ้นมาใหม่ มนุษย์เราพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวของเราขณะนี้ประกอบไปด้วยกรดำเนินงานของระบบโครงสร้างของจิต 3 ระบบ คือ

Id Ego และ Superego

                อิด(Id) เป็นความต้องการพื้นฐานของคนที่มีมาแต่กำเนิด เป็นไปโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ทั้งสัญชาตญาณแห่งการดำรงพันธุ์ เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการความรัก ความอบอุ่น ฯลฯ และสัญชาตญาณแห่งการทำลาย เช่น ความต้องการทำลายผู้อื่น ความต้องการทำลายตัวเอง ความต้องการตามสัญชาตญาณต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดขึ้นเพื่อที่จะสนองความพึงพอใจตามหลักแห่งความพอใจ และเมื่อมีความต้องการดังกล่าว มนุษย์ก็จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความต้องการเหล่านั้น

                อีโก้(Ego) เป็นพลังที่ควบคุมความต้องการของ อิด (Id) ให้เป็นไปตามหลักความจริง สอดคล้องกับสังคมโดยทั่วไป อีโก้ (Ego) จะเป็นตัวกำหนดเป้าหมายของการตอบสนองของ อิด (Id) อีโก้ (Ego) มีลักษณะที่สอดคล้องกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไป เช่น ความต้องการอาหาร (เป็นความต้องกาของ อิด) ก็จะไปง้อหรือขอ แต่ไม่ใช่ขโมยหรือปล้น

                ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นพลังที่ถูกกำหนดโดยการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์และศาสนา เกี่ยวกับความดี ความชั่ว คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมักจะขัดกับหลักความเป็นจริง และขัดต่อความต้องการโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) จึงเป็นพลังที่คอยควบคุมให้ อีโก้ (Ego) กำหนดเป้าหมายและลักษณะของการตอบสนองให้เป็นไปตามวัฒนธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ในเวลาเดียวกันก็จะควบคุม อิด (Id) ให้มีความต้องการในสิ่งที่ไม่ผิดหลักวัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมของังคมด้วย

                ฟรอยด์ ชาวออสเตรียนตั้งจิตวิทยาสาขาวิเคราะห์ขึ้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์และบำบัดความบกพร่องทางจิต ในปี ค.ศ. 1890 เขาเริ่มศึกษาถึงการทำงานของระบบประสาท สรุปว่าระบบประสาทมีอิทธิพลต่อการทำงานของจิตใจมาก เขาได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องจิตไร้สำนึก

                การศึกษาจิตวิทยานั้น ควรที่จะศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั้นคือศึกษาจิตใจในรูปของการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะปรับตัวให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มหน้าที่ของจิตเน้นในเรื่องพฤติกรรมและการปรับตัว  

                                จิตเป็นสิ่งไม่มีตัวตน มองไม่เห็น ถ้าต้องการจะทราบจิตของใครก็ต้องศึกษาจากพฤติกรรมของคนคนนั้น เพราะพฤติกรรมก็คือการแสดงออกของจิต ซึ่งเราสามารถสังเกต หรือใช้เครื่องมือวัดได้ การศึกษาเช่นนี้นับว่าเป็นแนวความคิดของการบุกเบิกให้จิตวิทยามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเลิกวิธีการศึกษาแบบนั่งคิดขีดเขียนอยู่กับโต๊ะ มาเป็นการศึกษาโดยมีการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกแล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาแปลความหมายอย่างมีระเบียบขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบางท่านยกย่องว่า บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่ ที่แท้จริง และท่านผู้นี้เองได้ให้นิยามว่า (จิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม) ซึ่งนิยมใช้กันอยู่เวลานี้

<span style="font-size: 14pt; font-family: Angsan

หมายเลขบันทึก: 271565เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 02:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วน่าสนใจมากครับท่านอาจารย์

อยากทราบว่าวิชาจิตวิทยาให้คำอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ไว้อย่างไรครับ ขอความรู้ด้วยครับ

ขอบคุณคร้าอาจารย์

หนูขอเอาข้อมูลนี้ไปทำรายงานน่ะค่ะ

เป็นข้อมูลที่ดีครับ.ไว้ศึกษาเวลาทดสอบความคิดของบุคคลรอบข้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท