สรุปบทเรียนบนถนนพระเครื่อง: จากพระเก๊ราคาของแท้ ถึงพระแท้ราคาของเก๊


การมีพี่เลี้ยงที่ดี ทำให้ผมเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยการผสมผสานความรู้ที่มีอยู่เดิมด้าน ดิน หิน แร่ และโลหะ เข้ากับองค์ความรู้ ศิลปะ ยุคสมัย ทรัพยากร และภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ที่ทำให้มีลักษณะพระพุทธรูป มากมายหลายแบบ ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการพินิจพิจารณา

ตั้งแต่ผมเข้ามาศึกษาระบบตลาดพระเครื่อง ที่เกิดจากความสนใจด้านการเรียนรู้จากของเก่า

ทั้งด้านสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

ทำให้ผมต้องเรียนรู้มากมาย โดยมี “ท่านเซียนใหญ่” คอยเป็นพี่เลี้ยง ชี้แนะ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

การมีพี่เลี้ยงที่ดี ทำให้ผมเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยการผสมผสานความรู้ที่มีอยู่เดิมด้าน ดิน หิน แร่ และโลหะ เข้ากับองค์ความรู้ ศิลปะ ยุคสมัย ทรัพยากร และภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ที่ทำให้มีลักษณะพระพุทธรูป มากมายหลายแบบ ที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการพินิจพิจารณา ว่า

·        อะไรแท้ อะไรปลอม

·        อะไรเก่า อะไรใหม่

·        อะไรธรรมชาติ อะไรทำขึ้น

·        อะไรหาง่าย อะไรหายาก

·        อะไรทำง่าย อะไรทำยาก

·        อะไรราคาสูง อะไรราคาต่ำ

การมีหรือไม่มีความรู้ต่างๆดังกล่าว ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มของผู้ค้า (ให้เช่า) และ ผู้ซื้อ (เช่า) เป็นตลาดระดับต่างๆ ตั้งแต่

·        ตลาดแลกพระตามบ้าน

·        ตลาดมือต้น

·        ตลาดมือกลาง

·        ตลาดมือปลาย และ

·        ตลาดใหญ่ที่ท่าพระจันทร์

หลักการทำกำไร ก็ดังที่ผมใช้ชื่อเรื่องครับ

·        ราคาซื้อเข้า ต้องเป็นราคาของเก๊ หรือ ใกล้เคียง ตามสำนวนว่า “แค่ชอบ”

·        ราคาจำหน่าย ต้องเป็นราคาของแท้ แบบรับประกันแท้ล้านเปอร์เซ็นต์

ตามแต่ระดับของตลาดมือต้น จนถึงมือปลาย ที่ทำให้ราคาหลากหลายมาก

·        ตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน จนถึงหลักล้าน

ดังนั้นคนที่ความรู้ไม่พอ ก็มักจะโดน “พระเก๊ราคาของแท้” ที่บางทีก็พูดแบบปลอบใจว่าเป็น “ค่าลงทะเบียนเรียน”

เมื่อ “โดน” และค่อยๆเรียนรู้ด้านแยกแยะ ของแท้ออกจากของเก๊ ก็จะค่อยๆเปลี่ยนผ่านมาเป็น “พระแท้ราคามือกลาง” ที่ได้ของแท้ แต่ราคาค่อนข้างสูง เป็นหลักพันปลายๆ หรือหลักหมื่น

เมื่อพัฒนาระบบความรู้ขึ้นไปอีก และรู้เชิงคนขายพระในเชิงพุทธพานิช ที่รู้ว่าพระชนิดใด พิมพ์ใด สภาพแบบไหน ควรจะราคาเท่าใด ในแต่ละระดับของตลาด ก็จะเริ่มเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ “พระแท้ราคามือต้น ที่ราคาจะเป็นหลักร้อยปลายๆ หรือ หลักพันต้นๆ

สำหรับความรู้ขั้นสูงที่ผมได้แอบสังเกตเซียนเข้าตลาด เขาจะใช้ความรู้แบบรอบด้าน จะทำให้ได้ซื้อพระในระดับ “พระแท้ราคาของเก๊” ที่ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักร้อยต้นๆ

ผมทราบมาว่า ความรู้รอบด้านที่สำคัญคือ

1.   ดูความเก่าของพระตามประเภท และสภาพของวัสดุที่ประกอบอยู่

2.   ดูพิมพ์ ว่าถูกต้องหรือไม่

3.   ดุตำหนิว่ามีครบหรือไม่

4.   ดูความสมบูรณ์ขององค์พระ มีซ่อม มีบิ่น มีร้าวหรือไม่

5.   รู้ราคาแต่ละระดับของตลาด ตามระดับความสมบูรณ์ของพระ

 

ตอนนี้กำลังพัฒนาตัวเอง ด้าน ความรู้รอบด้าน และสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เน้นพระกรุเนื้อดินที่ตรงกับชุดความรู้ที่ผมมีอยู่เดิม เนื้อชินกำลังค่อยๆเรียน เพราะเป็นระบบความรู้ที่ซับซ้อนมากครับ

หมายเลขบันทึก: 271559เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าสนใจมากครับ

เรื่องพระนี้ต้องศึกเรียยนรู้กันอย่างละอียดรอบคอบ

ขอบคูณมากครับ

ต้องทำไปเรียนไปครับ จึงจะชัดและเป็นการเรียนที่เกิดได้ในชีวิตจริง

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างมากเลยค่ะ ว่าต้องค่อยๆเรียนรู้และเรียนที่ละอย่างจริงๆ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์จริงๆค่ะ ที่เสียสละเวลามาแบ่งปันความรู้ให้แบบนี้

  • เข้ามาลงชื่อเยี่ยม...

เจริญพร

พัชรินทร์ ศรช.ท่าหินโงม

พระคือสัญญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ผู้เลื่อมใสและศรัทธาย่อมมีแต่ความเจริญ

นี่แหละคือวิบากกรรมของผู้ให้เช่าพระ มักจะเผชิญชตากรรมแบบแปลกๆ

คงเป็นเวรที่เขาก่อนะครับ

ดูเหมือนว่า

ใครก็ตามที่ใช้ "พระ" เป็นสินค้า จะเผชิญชะตากรรมอันนี้ครับ

นี่คืออีกข้อสังเกต และขอให้ผู้ทำการดังกล่าวพึงระวัง

ไม่ทันชาตินี้ ก็ชาติหน้า

สาธุ

อยากเรียนแต่ไม่มีค่าลงทะเบียนนี่ทำไงดีครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท