๙๓...เดือนนี้ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุ ๔ แห่ง


พระธาตุในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละองค์มีความสวยงามมาก

                            ในเดือนนี้ได้ไปราชการทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโอกาสนมัสการพระธาตุในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละองค์มีความสวยงามมาก

 

พระธาตุดอยสุเทพ

                                  พระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ การประดิษฐานพระบรมธาตุเจดีย์บนเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองมีขึ้นราวปี พ.ศ.1916 สมัยพญากือนา (พ.ศ.1898-1928) ในยุคทองของล้านนา พระองค์ได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยมาเชียงใหม่ พระสุมนเถระจึงอัญเชิญพระบรมธาตุที่พบเมืองปางจามาด้วยพระบรมธาตุนี้ได้ทำปาฏิหาริย์แยกเป็นสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดบุปผาราม อีกองค์หนึ่งพญากือนาได้อาราธนาสถิตเหนือช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายที่ประดิษฐาน ช้างมงคลเดินขึ้นมาถึงยอดดอยสุเทพ แล้วร้องสามครั้ง ทำทักษิณาวรรตสามรอบ และล้ม (ตาย) ลง ภายหลังอัญเชิญพระบรมธาตุลงมา พญากือนาให้ขุดหลุมประดิษฐานพระบรมธาตุและก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ต่อมาปี พ.ศ.2081 สมัยพระเจ้าเกษเกล้า ได้ก่อเป็นพระเจดีย์สูงใหญ่สีทองเช่นทุกวันนี้ มีความเชื่อว่าหากบูชาพระธาตุในทิศทั้งสี่แล้วจะทำให้มีสติปัญญาดี สมัยก่อนในวันวิสาขบูชามีประเพณีการขึ้นพระธาตุ โดยชาวบ้านจะเดินลัดเลาะป่าขึ้นสู่องค์พระธาตุ

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)สุวัณณะ เจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุงสุเทวะนามะทังนะระเทเวหิสัพพะปูชิตังอะหัง วันทามิ สัพพะ

 

พระธาตุหริภุญชัย
  
               “หริภุญไชยนคร” หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนแห่งล้านนาไทย มีประวัติความเป็นมาถึง 1,400 ปี และมีองค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง ทุก ๆ ปีเมื่อถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ หรือวันวิสาขบูชา ชาวพุทธในภาคเหนือส่วนใหญ่ก็จะรู้ว่า ช่วงนี้จะมีงาน “ประเพณีสรงน้ำองค์    พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย” หรืองาน “ประเพณีแปดเป็ง” ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 นี้ ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม เพราะเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจ้าหริภุญชัยจึงเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของคนจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ เจดีย์พระธาตุหริภุญชัยยังเป็นเจดีย์ประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดในปีระกา หรือปีไก่อีกด้วย
  
                พระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัย สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไชย ลำดับที่ 33 แห่งราชวงศ์จามเทวี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1440 ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยที่พระเจ้าอาทิตยราชทรงครองราชย์อยู่นั้น พระองค์ทรงดำริให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรไว้เป็นการเฉลิมพระเกียรติแล้วจึงปลูกสร้างหอจันฑาคารที่ลงพระบังคน (ถ่ายทุกข์หนักและเบา) ไว้ใกล้กับปราสาทนั้น แต่ทุกครั้งที่พระองค์จะเสด็จลงพระบังคนที่หอนั้น อีกาที่ทำหน้าที่เฝ้ารักษาพระธาตุไว้มักจะบินมารบกวนเป็นที่น่ารำคาญอยู่เสมอ พระเจ้าอาทิตยราชจึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ช่วยกันทำบ่วงคล้องจับอีกาตัวนั้นแล้วนำไปขังไว้กับทารกแรกเกิดเป็นเวลา 7 ปี จนเมื่อทารกนั้นเติบโตขึ้นและสามารถพูดคุยกับอีกาได้ จึงได้ทรงทราบว่า “สถานที่ที่พระองค์ได้ทรงสร้างหอจันฑาคารนั้น เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ อุรังคธาตุแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีตกาลพญากาเผือกผู้เป็นอัยกาของข้าพเจ้านี้ได้สั่งให้เป็นผู้เฝ้ารักษาสถานที่นี้คอยป้องกันไม่ให้ผู้คนและสัตว์มาทำสกปรก” เมื่อพระเจ้าอาทิตยราชได้ยินดังนั้นจึงโปรดให้รื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหลายแล้วสร้างพระบรมธาตุขึ้นโดยจัดงานสมโภชพระบรมธาตุตลอด 7 วัน 7 คืน ปัจจุบันองค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยนับเป็นจอมเจดีย์หนึ่งในจำนวน 8 องค์ของประเทศไทยที่มีอายุถึง 1,400 ปี

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)สุวัณณะเจติยัง หะริ ภุญชะยัฎฐังวะระโมลีธารัง อุรัฎฐิ เสฎฐัง สะหาอังคุลิฎฐิงกัจจายะเน นะ ฐิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง

 

 


 

 

วัดพระธาตุลำปางหลวง

                        เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่
                       พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้าน ภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุน เป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศ ปรากฏอยู่
                      วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเปนที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย
เมื่อหันหน้าเข้าหาวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ.2044 เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.25 เมตร สูง 1.25 เมตร

                      ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น

                      กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปีมาแล้ว

                      วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. 1275 พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้

 

                      พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น

นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12 ตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-17.00 น.

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรังปะติฎฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะคุตตา อุตตะราภิทัยยา นะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง ฐะเปติ มะหา ฐาเนเจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย

 

พระธาตุหนองสามหมื่น หรือ พระธาตุบ้านแก้ง

 

 
พระธาตุสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ 32.70 เมตร สูงถึงยอดประมาณ 45.30 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบ ได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งพระธาตุสามหมื่น แต่เดิมก็เคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดใหญ่ เมืองหนึ่งอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ด้วยปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดิน และโคกเนิน โบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรก ในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 พระธาตุสามหมื่นและบริเวณโดยรอบ แห่งนี้จึงนับว่ามีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่ง

 

                                                            ขอให้ทุกท่านโชคดี

คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ ครั้ง
อิติปิ โส ภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง,

ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง,

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธวิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต,

โลกะวิทู,อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,

สัตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
                                      อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอ ยอ กร บวร วันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนะ ประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุม สุมามาลย์ ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิมอันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิ น้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้ พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้นมีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาด กลางนั้นไซร้มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหักตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อยประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนานทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณสีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมธาตุทั้งหลายเหล่านี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกร อมรินทร์ พรหมภิรมย์พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวา กับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบนอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น เสด็จอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้สถิตอยู่เมืองนาคสถาน

 

 แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือเมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นขา ทันตา ทั้งหลาย เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการกวัสสิกะฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาท ธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
กายนทนธนํ พระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ปตฺโต บาตร อยู่เมืองอนุราชสิงหฬทวีปลังกา อุทกสาฏกํ ผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร จิวรํ ผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย หรนี สมุกเหล็กไฟอยู่เมืองตักสิลา วาสีสูจิฆรํ มีดโกนแลกล่องเข็มประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ จมมํ หนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐ ถวิกา ตลกบาตรแลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกศธาตุ ประดิษฐาน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ กาสายะวัตถัง ผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมา สุวณฺณโฑณํ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตน มไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เห็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา

ครั้นกาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษสังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำคิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศกเวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะสด็จไปสู่สถานที่สันนิบาต มิทันนานทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัญฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาสทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์ เทวะนิกร อมรฤษีสิทธิ์ พิทยาธร กินนร นาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้นแผ่นพสุธา สตฺตาหํ ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุงโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสรีระธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก พระพุทธศาสนาก็บรรจบครบจำนวนถ้วนห้าพันพรรษา
อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง

หมายเลขบันทึก: 271360เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

หวัดดีวันหยุดค่ะพี่บ่าวช่างใหญ่

พี่บ่าวสบายดีนะคะ ห่างหายไปนานเลย

ไปแอ่วเมืองเหนือมานี่เองคะ  ...

ชอบพระธาตุทั้งสามด้วยความแตกต่าง

ประทับใจ และหลงใหล มนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรมค่ะ

ให้พี่บ่าวมีความสุข ทุกวี่วันนะคะ ผักสวนครัวพี่บ่าวคงงอกงามดี

สวัสดีครับน้องปู

            โดนรถขวัดเอาหลาย ๆ รอบ ทำเอาเดี้ยงไปเหมือนกันน้องเหอ

             ได้ไปนมัสการพระธาตุนับว่าเป็นบุญอย่างสูงแล้ว

              ผักสวนครัวงอกงามดีจ้านนะน้อง

                                          โชคดีครับ

สวัสดีค่ะ

  • ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
  • ขอขอบคุณสำหรับความสำคัญที่น่ารู้นะคะ

สวัสดีค่ะ

มานมัสการพระบรมสารริกธาตุ

"อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง"

  • มาร่วมอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
  • พระธาตุทั้งสี่ชาวเหนือต่างก็เลื่อมใสให้ความศรัทธากันมากค่ะ
  • ถ้ามีโอกาส ก็อย่าลืมมานมัสการพระธาตุดอยกองมูด้วยนะคะ

สวัสดีครับครูคิม

              นานหลายปีแล้วที่ไม่ได้ไปภาคเหนือ ไปเที่ยวนี้คุ้มเลยครับ...แถมไปจังหวัดชัยภูมิด้วย...สรุปแล้วปีนี้...ผมไปราชการที่ตาก สระแก้ว กระบี่ ชัยภูมิและเชียงใหม่....แต่ละแห่งได้ไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง...ถือเป็นช่วงหนึ่งของชีวิตที่โชคดีครับ

                                         โชคดีครับผม

  • สวัสดีครับ
  • มาเที่ยวด้วยคนนะครับ
  • สุขกายสบายใจนะครับ

ขอบพระคุณกำลังหาอยู่พอดี ครับ  พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุของผม  ยังไม่เคยไปกราบสักที่ ต้องไปให้ได้  ขอบพระคุณมากมาก  โชคดีครับ

 

สวัสดีครับหมอรุ่ง

           ผมได้ไปนมัสการพระธาตุแต่ละแห่งต้องอ่านป้ายกัน บางแห่งก็สั้นบางแห่งก็ยาวครับ ตอนนี้ผมเลยสนใจที่จะหาพระธาตุมาบูชาครับ...รู้สึกสงบดี...ตอนนี้ก็มีแบบจำลองและรูปถ่ายหลายองค์แล้ว

                                       โชคดีครับผม

สวัสดีครับคุณศน.เอื้องแซะ

                   

           พระธาตุดอยกองมูผมไปนมัสการท่านมาสามครั้งแล้วครับ แต่ก็ยังอยากจะไปกราบนมัสการท่านอีกครับ

                                          โชคดีครับผม

สวัสดีครับ นายช่างใหญ่

  • น่ายินดีมากครับ เวลาไปไหนๆให้เวลากับตัวเอง ได้แวะท่องเที่ยว เยี่ยมชม ธรรมชาติ วัดวาอาราม
  • พระธาตุแรกกับที่ 3 ผมไปมาแล้วครับ  ขี่ม้าด้วยหรือเปล่า
  • ขอบคูณมากครับ

สวัสดีครับคุณคนพลัดถิ่น

              เมืองไทยมีของดีของศักสิทธิ์มากมาย....เราต้องช่วยกันสืบทอดไว้ให้ลูกหลานเหลนได้นมัสการและภูมิใจเหมือนดังที่เราเองยังรู้สึกปลื้มที่ปู่ย่าตายายได้รักษาไว้ให้เราครับ

                                                   โชคดีครับผม

สวัสดีครับท่านผอ.ประจักษ์

               พระธาตุลำปางหลวงสวยงามมากที่สุดครับ...มีร่องรอยของการสืบทอดมานานแสนนานครับ...ท่านต้องไปให้ได้นะครับแล้วจะรู้สึกเหมือนผมครับ

              ส่วนของผมพระธาตุดอยสุเทพครับ...นมัสการท่านแล้วครับ

                                             โชคดีครับผม

       

สวัสดีครับคุณเกษตรยะลา

              อูย....เห็นแล้วสงสารเขาครับ...เดี๋ยวเกิดชาติหน้าต้องให้เขาขี่คืนหล่าว เลยงดครับ...อิอิ

                                                โชคดีครับผม

สวัสดีครับหมอรุ่ง

            แล้ววันนี้ผมก็ได้พระธาตุมาบูชาที่บ้านจริง ๆ ถือเป็นสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิต

"อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง"

                                           โชคดีครับผม

  • ไม่ได้เข้ามาเยี่ยม
  • กลับมา  หายรถขวัดหรือยัง  อิอิ
  • มาเชิญพี่บ่าว
  • ไปอ่าน บทความซึ้งๆ
  • เพราะสงสารเมีย
  • http://gotoknow.org/blog/patimmananya/272092

สวัสดีครับคุณสาวสวยมวยไทย

                    วันนี้ไปวัดทำบุญ ฟังพระเทศนา...แล้วครับ...ที่วัดโพธิ์ทัยมณี จังหวัดเพชรบุรีครับ

                                รับบุญด้วยนะครับ...สาธุ

สวัสดีครับ

มีรายละเอียดดีมากครับ อ่านไปด้วย สวดคาถาบูชาไปด้วย

ภาพก็สวย ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณเปลวเทียน

                รับบุญไปด้วยนะครับ...สาธุ

                                    ขอให้โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท