Talents of facilitator: การเลือกใช้ชุดข้อมูลในการดำเนินงานให้ "ถูกโรค"


ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมีทักษะในการใช้ชุดข้อมูลให้ "ถูกโรค" ได้นั้น ต้องอาศัยการจัดการความรู้ที่มีอยู่ภายในตัวเอง (Tacit knowledge) บวกกับการวิเคราะห์สถานการณ์รอบข้าง มองทุกสิ่งอย่างมีความเชื่อมโยงกัน ด้วยกระบวนท่า System Thinking และที่สำคัญ คิดอย่างเดียวย่อมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ต้องทำด้วย

Talents of facilitator: การเลือกใช้ชุดข้อมูลในการดำเนินงานให้ "ถูกโรค[1]"

หลวงเสก

 

 

          ต่อเนื่องจากเมื่อวาน ที่ได้ไปเป็นผู้ช่วยริมขอบสนาม เวทีจัดการความรู้ของท่าน อ.วัลลา ตันติโยทัย ยังมันส์ในอารมณ์[2]ไม่หาย วันนี้จึงได้ติดตามไปยังกลุ่มย่อยอีกครั้ง และประเด็นในแลกเปลี่ยนในวันนี้คือ การออกแบบตัววัดสมรรถนะ (Competency) ซึ่งหัวข้อในกลุ่มย่อย ที่ผมไปแอบอิงอยู่นั้นคือ "การเลือกใช้ชุดข้อมูลในการดำเนินงาน"

 

          สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย นักพัฒนาที่มีประสบการณ์ทำงานชุมชนมากว่าสิบปี แกนนำชาวบ้านในชุมชน หมออนามัยที่มีใจรักงานชุมชน และกระผม "ผู้ฟังที่เต็มไปด้วยความสงสัย"

         

          ก่อนการแลกเปลี่ยนจะเริ่มขึ้น ผมได้ขออนุญาตกลุ่ม เท้าความถึงเหตุที่มาของหัวข้อนี้ว่า การเลือกใช้ชุดข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเกิดการหยุดคิด เปลี่ยนพฤติกรรม และนำในสู่ความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาร่วม ดังนั้นการเลือกใช้ข้อมูลก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการทำงานพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะส่วนตัว เป็นพรสวรรค์เฉพาะบุคคล แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถที่จะช่วยกันถอดออกมาเพื่อแบ่งในให้กับผู้ที่อยากมีพรแสวง

 

          การแลกเปลี่ยนดำเนินไปอย่างเข้มข้น แต่ละท่านยกตัวอย่างประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ทั้งประสบการณ์จากการทำแผนแม่บทชุมชน การทำงานภายใต้การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และอีกหลายๆ กรณี เล่นเอาผมฟังจนหูห้อย[3] (ไม่ได้โดนใครดึงหูนะครับ)  จนสรุปสุดท้าย หลังจากถอดวลีแล้วช่วยกันตบให้เข้าที่ได้ใจความ การเลือกใช้ชุดข้อมูลในการดำเนินงานให้ "ถูกโรค" พอจะสรุปได้ดังนี้

 

          "มีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน และข้อมูลมือสอง รวบรวม เรียบเรียก จำแนก จัดระบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ กำหนดประเด็นความสำคัญเร่งด่วน มีกระบวนการทวนสอบข้อมูล เรียนรู้และตัดสินใจร่วมกันของชุมชนเพื่อกำหนดแผนงาน จัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ มีการใช้ชุดข้อมูลที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ ใช้ชุดข้อมูลจากภายในและภายนอกสอบทานการใช้แผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์"

 

          ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมีทักษะในการใช้ชุดข้อมูลให้ "ถูกโรค" ได้นั้น ต้องอาศัยการจัดการความรู้ที่มีอยู่ภายในตัวเอง (Tacit knowledge) บวกกับการวิเคราะห์สถานการณ์รอบข้าง มองทุกสิ่งอย่างมีความเชื่อมโยงกัน ด้วยกระบวนท่า System Thinking และที่สำคัญ คิดอย่างเดียวย่อมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ต้องทำด้วย

 


[1] ภาษาถิ่นใต้ หมายถึง เหมาะสมมาก เข้ากันได้เป็นอย่างดี

[2] ศัพท์แสลง ภาษาวัยรุ่น หมายถึง ตื่นเต้น

[3] หมายถึง ฟังแบบนิ่งสนิท ไร้ปฏิกิริยาตอบโต้  สันนิษฐานว่า มีที่มาจาก พฤติกรรมของสุนัข ที่เวลาเจ้าของว่ากล่าว จะนิ่งฟัง ทำหูห้อย หน้าสลดเรียกร้องความสงสาร

หมายเลขบันทึก: 271336เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท