อาเซียน : มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ความเจริญของยุคหินใหม่ ยุคโลหะ ในเอเชียตะวันออกเฉัยงใต้


มนุษย์สมัยก่อนประวัติสาสตร์ ความเจริญของยุคหินใหม่ ยุคโลหะ ในเอเชียตะวันออกเฉัยงใต้


          การศึกษาประวัติศาสตร์ใน S.E.A. ได้อาศัยหลักฐานของนักโบราณคดีเป็นหลัก นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้จัดแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน S.E.A. เป็น ๔ ระยะตามรูปแบบของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบ คือ
          ยุคหินเก่า ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว
          ยุคหินกลาง ประมาณ ๑๐,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว
          ยุคหินใหม่ ประมาณ ๔,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
          ยุคโลหะ ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วลงมา
          ในที่นี้จะกล่าวถึง ยุคหินใหม่และยุคโลหะ

ยุคหินใหม่ ช่วงราว ๔,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ลงมา
          เป็นยุคเริ่มแรกของวัฒนธรรม SEA เนื่องจากมีเครื่องมีหินที่ขัดผิวจนเรียบ พวกออสโตรนีเซียที่อยุ่ตอนใต้ของประเทศจีนอพยพลงมาใน SEA ซึ่งมี ๒ ระยะ คือ 
          ๑. พวกมาเลย์สมัยเก่า
          ๒. พวกมาเลย์ใหม่
          ลักษณะการทำมาหากิน เริ่มมีปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ประเภท วัว หมู ไก่ จัดได้ว่าเป็นสังคมผลิตอาหารเองควบคู่ไปกับการล่าสัตว์และการเก็บของป่า นับว่าเป็นยุคแห่งการปฏิวัติเกษตรกรรม
          เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ มีการทำและใช้เครื่องมือรูปหัวขวานที่ขัดฝนจนเรียบรูปเหลี่ยม มีขวานปลายมน สิ่วหิน มีการใช้ภาชนะดินเผาหลายรูปทรง มีทั้งผิวเรียบ ผิวขรุขระ ลายเชือกทาบ เริ่มมีการใช้สีเขียนลายบนภาชนะ มีวิธีการตกแต่งแตกต่างกันซึ่งค้นพบกระจัดกระจายในตามภูมิภาคต่าง ๆ ใน S.E.A. แสดงถึงมีความแตกต่างทางความคิด ค่านิยมประเพณี มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชน
แบบแผนที่พักอาศัย เป็นชุมชนแบบอุตสาหกรรมไม่ใหญ่นัก แต่ละชุมชนมีอิสระจากกัน ปกครองตนเองโดยหัวหน้าแต่ละกลุ่มลักาณะแบบพ่อปกครองลูก มีการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์แบบสัมพันธ์กับที่อยู่อาศัยที่สร้างแบบถาวร เช่นการเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ที่พักอาศัย
          ความเชื่อ ประพณี เชื่อในวิญญาณภูติ ผี ต่าง ๆ เชื่อว่าพลังชีวิตหรือวิญญาณอยู่ในพืชผลที่ปลูก เช่นเทพเจ้าผู้หญิงที่เรียกว่า แม่โพสพที่อยู่ในไร่นา มีพิธีกรรมต่าง ๆ ตลอดจนกฏข้อห้ามหลายอย่างในการปฏิบัติเพาะปลูกเก็บเกี่ยว มีการสร้างอนุสาวรีย์หินใหญ่ เพื่อปกป้องคนตายและชุมชน
ด้านศิลปกรรม พบภาพวาดตามถ้ำต่าง ๆ ทั่ว SEA มีทั้งรูปสัตว์บกและสัตว์น้ำ และรูปทรงเลขาคณิต  

ยุคเหล็ก ช่วงราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วลงมา
          จัดเป็นยุคประวัติศาสตร์ เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินตกไป มีการใช้โลหะจำพวกสำริดและเหล็กเข้ามาแทนที่
          ลักษณะการทำมาหากิน เป็นสังคมเกษตรกรรมแต่มีการพัฒนาขึ้น เริ่มมีการเลี้ยงควาย ใช้ควายเป็นแรงงานในการไถนา รู้จักการทำชลประทาน และการเดินเรือ หลักฐานการติต่อค้าขายระหว่างรัฐพบมากในยุคสมัยนี้
          เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ มีการพัฒนาทางด้านโลหะกรรม
           - 2,700 – 2,500 ปีมาแล้ว มีการทำสำริดขึ้นใช้ ส่วนผสมจะมีความแตกต่างกันแต่ละชุมชน

           - 2,500 – 2,300 ปีมาแล้ว มีการใช้เหล็กทำอาวุธ
           - รู้จักการย้อมผ้าด้วยเปลือกไม้ เรียกว่าผ้าบาติก
          แบบแผนที่พักอาศัย สร้างบ้านเรือนแบบถาวรอยู่กันเป็นหมู่บ้าน มีชุมชนมากขึ้น กระจายตั้งอยู่ในตามพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน ชุมชนที่ใหญ่กว่าจะเป็นศูนย์กลาง ระบบทางสังคมค่อนข้างทับซ้อนกันมากขึ้น ชุมชนในแต่ละภูมิภาคมีความสัมพันธ์กันด้วยการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะในยุดนี้ได้มีการติดต่อค้าขายกับทางต่างชาติ ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบเช่น พบกลองมโหระทึกสำริด แบบวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนามและวัฒนธรรมในมณฑล กวางสีของจีน พบลูกปัดหิน ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่กัน
          ความเชื่อ ประเพณี ยังมีการนับถือภูตผีปีศาจเหมือนกับวัฒนธรรมหินใหม่ มีการตั้งศาลที่เป็นสิงสถิตวิญญาณไว้ในที่สูง มีการนับถือยอดเขา มีพิธีการฝังศพคนตายลงในโอ่งซึ่งจะใช้กับศพเด็ก ส่วนผู้ใหญ่จะมีการทุบเศษเครื่องปั้นดินเผารองพื้นก่อนนำศพวาง มีการใส่เครื่องประดับให้ศพตามแต่ฐานะทางสังคมและความมั่งคั่ง ซึ่งทำให้ทราบว่า คนในยุคสมัยนี้เชื่อเรื่องโลกหน้า และหรือ โลกหลังความตาย
ด้านภาษา มีภาษาพูดเป็นของตนเองแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น พวกที่อยู่ตามริมฝั่งทะเลจะมีความเจริญมากกว่าพวกที่อยู่ตอนในแผ่นดินใหญ่


          วัฒนธรรมสำคัญที่อยู่ในยุคสมัยนี้คือ
          วัฒนธรรมดองซอน เรียกชื่อตามเมืองที่ขุดค้นพบคือเมืองดองซอน ในเวียดนามเหนือ ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง ๕๐๐ – ๑๐๐ B.C. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบเช่น กลองมโหระทึกทำด้วยสำริด อาวุธที่ทำด้วยสำริดเช่น ขวาน หอก หัวลูกศร เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับสำริด ผู้สร้างวัฒธรรมดองซอนคือ พวกมาเลย์ใหม่ คือพวกที่อยู่บริเวณแหลมมาลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย และพวกโลเหยอะที่อาศัยบริเวณปากแม่น้ำแดง
           วัฒนธรรมหินใหญ่ มีการนำเอาการนำเอาหินมาใช้ในการก่อสร้าง เช่นโต๊ะหิน รูปหินจำหลัก การสร้างสถาปัตยกรรมใหญ่ เช่นปราสาทหินในกัมพูชา

          ต่อมาในภายหลัง หลังจากที่มีการขุดค้นพบหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่บ้านเชียง จึงทำให้มีการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ใหม่คือ
          ยุคหิน ราว ๕๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์เป็นธาตุของธรรมชาติ เข้าป่า ล่าสัตว์ ทำเครื่องมือหินอย่างหยาบ ๆ
          ยุคไม้ ราว ๔๒,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เช่นธนู กับดักสัตว์ เนื่องจากมีป่าไม้มาก
          ยุคผลึก ราว ๒๒,๕๐๐ – ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักทำเครื่องมือหินขัด เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ทำเครื่องปั้นดินเผา
          ยุคแห่งการขยายตัว เริ่มพร้อม ๆ กับยุคผลึก รู้จักการเดินเรือ มีการขยับขยายโยกย้ายถิ่นฐานไปยังถิ่นที่อุดมสมบูรณ์
          ยุคแห่งการทำสงคราม ราว ๕๐๐ ปี B.C. – สงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นสลับซับซ้อนขึ้น รวมตัวกันเป็นอาณาจักร จึงมีการขัดแย้งกันทำสงครามระหว่างกัน

 

ปล. การเปลี่ยนผ่านขอแต่ละยุคในแต่ละประเทศย่อมไม่เท่ากัน บทความนี้เพียงแต่บอกภาพรวมเท่านั้นครับ

 

วาทิน ศานติ์ สันติ 

หมายเลขบันทึก: 271230เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ข้ามาอ่านสาระงาม ๆ ความรู้ดี ๆ ขอให้มีสุขในช่วงเข้าพรรษานะครับ

อยากรู้พิธีกรรมความเชื่อ และเหตุผลด้วยครับว่าทำไมถึงรู้ว่ามีจริงกับความเชื่อนั้น

ขอบคุณคะที่ให้ความรูกับหนู

บทนี้ให้ความรู้มากเลยทีเดียว

ถามไรหน่อย ยุคแห่งความเจริญในประวัติศาสตร์คือไร

แล้วถ้ามี มีกียุคและมีอะไรบ้าง อาจารย์ถาม

งงงงงงงงงงงงงงงงงมากกกกกกกกกกกกกกกกก

^

^

คำถามนี้ตอบยากครับ ยุคเจริญ ยุคเสื่อม เกิดตายวนเวียนเป็นวัตถจักร

อย่างเช่น ยุคกลางในยุโรป เสื่อม

ยุครู้แจ้งเจริญ

มันพูดยากและหลายยุคนะครับ

ทำไมหนูคลิก

เอเชียตะวันออก

แต่มัน

เป็น

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

งงงงงงงเลย

เบื่อแล้ว

จะหางานก็หาไม่เจอ

หาเจอแล้ว!!!

ขอบคุณคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท