รสช.ตันหยงลุโละ
ค่ายเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน 2548 รสช.48

ดุอาอฺที่ไม่อาจจะละทิ้ง


ดุอาอฺที่ไม่อาจจะละทิ้ง

 
 
ดุอาอฺที่ไม่อาจจะละทิ้ง
 
 

عــن مُعَاذِ بْنِ جَبَلٍ رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَخَذَ بِيَدِهِ وَقَالَ : يَا مُعَاذُ ! وَاللَّهِ  إِنِّي لَأُحِبُّكَ ، فَقَالَ : أُوصِيكَ يَا مُعَاذُ : لَا تَدَعَنَّ فِي دُبُرِ كُلِّ صَلَاةٍ  تَقُولُ : اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ 

رواه أبو داود (1522قال النووي في "الأذكار" (ص/103): إسناده صحيح . وقال الحافظ ابن حجر في "بلوغ المرام" (ص/96): إسناده قوي. وصححه الألباني في "صحيح أبي داود".

 

จากมุอาซ รอดิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้จับมือเขาแล้วกล่าวว่า โอ้มุอาซ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺแท้จริง ฉันรักท่าน ฉันจะขอสั่งเสียต่อท่าน โอ้มุอาซ ท่านจงอย่าละทิ้งการกล่าวสิ่งนี้หลังละหมาดทุกครั้ง

اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ

 โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือข้า ให้ข้าได้อยู่ในการรำลึกถึงท่านเสมอ และอยู่ในการขอบคุณต่อท่าน และอยู่ในสภาพการทำอิบาดะฮฺต่อท่านอย่างสมบูรณ์งดงามเสมอ” บันทึกโดย อบูดาวูด

 

สิ่งที่ได้รับจากฮะดิษ

       1.   การจับมือ แล้วกล่าว คำว่า แท้จริงฉันรักท่าน เป็นแสดงถึงความสำคัญของสิ่งที่พูดต่อไปว่ามีความสำคัญมาก และติดตามด้วยคำว่า ฉันขอสั่งเสียแก่ท่าน เสมือนคำแนะนำหรือเป็นคำสั่งใช้ที่ฝากให้ปฏิบัติต่อไปนี้ มาจากใจจริงด้วยความรัก ที่ผู้รับควรปฏิบัติอย่างจริงจังและเคร่งครัดอย่างมาก

       2.   ดุอาอฺดังกล่าวเป็นดุอาอฺที่มีองค์ประกอบที่ครอบคลุมเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของการทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮู วะตะอาลาอัน ได้แก่

  a.    การขอความช่วยเหลือให้ตนเองอยู่ในสภาพของบ่าวของพระองค์ ผู้ที่รำลึกต่อพระองค์อยู่ตลอดเวลา

  b.   ขอความช่วยเหลือให้ตนเองเป็นบ่าวที่รู้จักบุญคุณของพระองค์ สำนึกในความโปรดปรานอันมากมายทที่พระองค์ทรงประทานให้ อยู่สภาพของการขอบคุณต่อพระองค์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ หรือภายในจิตใจก็ตาม

  c.    และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือให้ตนเองเป็นบ่าวผู้ทำหน้าที่ของการเป็นบ่าวหรืออิบาดะฮฺต่อพระองค์อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด นั่นคือหลักอิบาดะฮสำคัญ สู่ “อัลอิฮฺซาน” ดังที่ท่านนบี บอกให้บรรดาผู้ศรัทธาปฏิบัติอิบาดะฮฺเสมือนว่าเขาเห็นอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าเขาไม่เห็นอัลลอฮฺแต่ก็ให้ตระหนักว่า แท้จริง อัลลอฮฺ ก็เห็นการกระทำของเขาทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา

        3.   ท่านนบีย์สอนให้กล่าวหลังการละหมาดทุกครั้ง หมายถึง ในช่วงหลังการละหมาดสิ้นสุดลง หรือ ช่วงท้ายสุดของการละหมาด (ก่อนให้สลามซึ่งเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญที่เน้นให้ผู้ศรัทธาขอดุอาอฺให้มาก

        4.   ดุอาอฺดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับการวงวอนและจำนนตนเองต่ออัลลอฮฺในสำนวนหนึ่งของฟาติฮะฮฺที่ว่า

إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ

ความว่า “แด่ท่านเท่านั้นที่เราจะขออิบาดะฮฺ และแด่ท่านเท่านั้นที่เราจะขอความช่วยเหลือ” อัลฟาติฮะฮฺ 5

เราจะทำหน้าที่ของการเป็นทาสหรือบ่าวอย่างดีและสมบูรณ์ต่ออัลลอฮฺให้มากที่สุด แต่เนื่องเพราะเรามีข้อบกพร่อง และไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสมบูรณ์ เราจึงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ให้พระองค์ประทานความสามารถและช่วยเหลือให้เราทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ได้อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 270451เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท