รสช.ตันหยงลุโละ
ค่ายเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน 2548 รสช.48

ความดีที่แตกต่าง....


ความดีที่แตกต่าง....

 

 

 

ความดีที่แตกต่าง.... PDF พิมพ์ อีเมล์

ความดีที่แตกต่าง....
จุดเริ่มต้นการสมานฉันท์ในสังคม

 Sample Image

โดย  อัล อัค

 

            ผมไม่ปฏิเสธคำกล่าวที่ว่า ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี แต่ประเด็นที่ผมเห็นต่างออกไปก็คือ คำว่า ดี ในแต่ละศาสนาไม่เหมือนกันเสมอไป     

 

การที่แนวคิดสมัยใหม่พยายามสร้างค่านิยมว่า ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี โดยเพิกเฉยต่อการอธิบายต่อคำว่า “ดี” นั้นมีมุมมองที่แตกต่างกัน อาจคิดว่าสามารถทำให้คนไม่ทะเลาะกันในเรื่องศาสนาได้ มันอาจใช้ได้กับพวกที่วางศาสนาบนแนวคิด “เซ็คคิวลาร์” หรือการถือว่าศาสนาเป็นพึ่งทางใจของชีวิตส่วนตัว แต่มันไม่ได้ส่งผลอย่างที่คิดนี้ต่อศาสนิกที่ปฏิบัติตามศาสนาต่างๆได้เสมอไป เพราะแนวคิดนี้มีข้อบกพร่องอย่างน้อยสองประการ

ประการแรกศาสนิกที่ปฏิบัติตามศาสนาต่างๆนั้น มักคิดว่าศาสนาที่ตัวถืออยู่ย่อมดีกว่าศาสนาอื่นเสมอ (ก็แน่ละถ้ามันก็งั้นๆเหมือนกัน แล้วเขาจะเลือกนับถือศาสนานั้นๆไปทำไมกัน) อีกทั้งตัวคำสอนของศาสนาทั้งหลายนั้นก็มัก ฟันธง อยู่เสมอว่า สิ่งที่เป็นความดีในเนื้อหาของศาสนานั้นเป็น สัจธรรม นั่นก็หมายความว่า มันเป็น ความดี ที่เหนือกว่าความดีในลัทธิอื่นๆ ฉะนั้น แนวคิดที่ว่าถูกขยายออกจากประโยคที่ว่า ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี มาเป็น ดี เหมือนๆกันนั้น ขัดแย้งกับธรรมชาติของศาสนาทั้งหลาย

ประการที่สอง คำว่า “ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี มักจะนำไปสู่การละเมิดระหว่างศาสนาต่างๆอย่างแพร่หลาย อันเนื่องจากแนวคิดนี้ทำให้เผลอคิดไปว่าความดีของทุกศาสนาก็เหมือนศาสนาตัวเอง ทำให้เกิดการกำหนด “มาตรฐาน ของความดี โดยใช้ศาสนาที่ตนนับถือเป็นที่ตั้ง แล้วนำไปสู่การละเมิดศาสนาอื่นๆ ดังนั้น แทนที่จะสังคมที่วางอยู่บนแนวคิดนี้จะดำรงอยู่อย่างสมานฉันท์ กลับกลายเป็นสังคมที่ก้าวร้าวรุกรานกันตลอดเวลาSample Image

            มีคนตั้งข้อสังเกตว่า สังคมมุสลิมในยุคแห่งความรุ่งโรจน์ ทั้งในแบกแดดและเสปน(อันดาลุส) คนที่นับถือศาสนาต่างไปจากมุสลิมสามารถดำรงอยู่อย่างอิสระ ไม่ใช่เพียงแค่สามารถปฏิบัติตามพิธีกรรมของพวกเขาได้เท่านั้น แต่ยังสามารถจัดระบอบกฎหมายของพวกเขา เพื่อใช้ในสังคมเล็กที่อยู่ท่ามกลางมุสลิมได้อีกด้วย

            มีการตั้งคำถามว่า ทำไมอิสลามที่ถูกมองว่าเริ่มต้นการนำเสนอศาสนาด้วยการแสดงความเป็นสัจธรรม หรืออีกนัยหนึ่งย่อมตีความได้ในทางกลับกันว่า ศาสนาอื่นๆนั้นย่อมไม่ใช่สัจธรรม แต่กลับสามารถสร้างความสมานฉันท์ในสังคมได้ ดังนักประวัติศาสตร์เองก็รู้สึกฉงนที่ชาวยิวสามารถอยู่ในโลกมุสลิมได้อย่างสงบสุขในเมืองใหญ่ๆของโลกมุสลิมในอดีตกาล

ผมคิดว่าแนวคิดที่มุสลิมรับมาจากอัลกุรอานถูกนำไปใช้กำหนดท่าทีที่มีต่อชนกลุ่มน้อยที่มิใช่มุสลิมหรือได้สร้างแบบของความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับผู้มิใช่มุสลิม เป็นแนวคิดที่ไม่ได้มาจากประโยคที่ว่า ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี(แล้วความดีก็เหมือนๆกัน) แต่เป็นแนวคิดที่ว่า ทุกศาสนาสอนความดีที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นแนวคิดที่ถูกขยายออกมาก็คือ ศาสนาของพวกท่านก็คือของพวกท่าน ศาสนาของฉันก็คือของฉัน(ความหมายจากอัลกุรอานจากซูเราะฮฺกาฟิรูน)

นั่นเป็นแนวคิดที่ให้คนต่างศาสนิกอาศัยอยู่ใน มาตรฐาน ของตน ทุกฝ่ายก็มิสิทธิคิดได้เต็มที่ว่า ความดีที่ตนยึดอยู่นั้นคือ สัจธรรม แต่เป็นสัจธรรมที่มีข้อตกลงร่วมกันว่า ต้องไม่ก้าวร้าวและไม่ละเมิดระหว่างกัน

            การอยู่ร่วมกันแบบสมานฉันท์จึงต้องเริ่มจากแนวคิด ทุกศาสนาสอนความดีที่ต่างกันและจะนำไปสู่การเรียนรู้ ความต่างกัน” เพื่อให้คนแต่ละความเชื่อรู้จักขอบเขตในการปฏิบัติระหว่างกันได้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างความต่างกันที่ไปกันคนละเรื่องและเห็นได้ชัดก็คือ วัตถุรูปเคารพต่างๆที่ศาสนาทั้งหลายมักถือว่าการบูชาคือความดีชั้นสูง แต่อิสลามกลับถือว่าการบูชาวัตถุหรือสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากพระเจ้าที่แท้จริง แม้จะถูกประดิษฐ์ในนามอิสลามหรือเป็นบุคคลระดับศาสนทูตก็ตาม ถือว่าเป็นความเลวร้ายจนทำให้เขาคนนั้นไม่สามารถดำรงความเป็นมุสลิมอยู่ได้อีกต่อไป

เช่นเดียวกัน ความเชื่อเรื่องพระเจ้าก็เป็นสิ่งที่แต่ละศาสนามองต่างกัน ศาสนาหนึ่งมองว่าผู้ที่เชื่อพระเจ้าเป็นความหลง แต่อีกศาสนาหนึ่งกลับเชื่อพระเจ้าหลายองค์เป็นความดีงาม อีกศาสนาหนึ่งอาจเห็นว่าการเชื่อพระเจ้าที่อยู่ในรูปมนุษย์เป็นความเลวร้ายโดยแท้ และอีกศาสนาก็อาจมองการปฏิเสธพระเจ้าเป็นรากฐานของความชั่วร้ายของมนุษย์

เห็นได้ว่า การเชื่อพระเจ้าเพียงประเด็นเดียว ก็มีการมอง ความดี ที่แตกต่างกันไปคนละเรื่อง ชนิดที่ไม่อาจหาศาสนาใดที่สอดคล้องกับศาสนาใดได้ แม้แต่ศาสนาที่เชื่อพระเจ้าหนึ่งเดียว เช่น อิสลามกับคริสต์ ก็มีบทอภิปรายกันในเรื่องพระเจ้าที่เผ็ดร้อนไม่น้อย หรือศาสนาที่ไม่อ้างอิงถึงพระเจ้า เช่น พุทธกับเชน ก็มีการวิพากษ์ระหว่างกันตั้งแต่ในอดีตกาล แม้แต่แนวคิดที่ปฏิเสธพระเจ้าหลายสายในโลกตะวันตกก็ปฏิเสธในมุมมองที่ขัดแย้งกันไม่น้อย

ความแตกต่างในการให้ความหมายต่อ ความดี เหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำความเข้าใจกัน เพื่อให้รู้จักขอบเขตระหว่างกัน ต้องรู้จักอดกลั้นทางความเชื่อ รวมไปถึงกลุ่มเผยแพร่ศาสนาต่างๆก็ต้องคำนึงถึงขอบเขตเหล่านี้ และควรนำเสนอศาสนาของตนในเชิงของ การสนทนาแลกเปลี่ยน มากกว่าการก้าวร้าวที่เลยเถิด ดังเมื่อสิบกว่าปีก่อนผมเคยพบการ์ตูนเผยแผ่ศาสนาของศาสนาหนึ่ง เมื่อเปิดอ่านดูก็เป็นภาพที่เล่าถึงคนที่ไม่เชื่อในศาสนานั้น แต่เมื่ออ่านไปตอนสุดท้าย ก็พบว่าในนรกของผู้ที่ไม่เชื่อนั้นมีศาสดาที่ศาสนาอื่นเคารพอยู่ อย่างพระพุทธเจ้ากับนบีมุฮัมมัดอยู่ด้วย(เป็นภาพการ์ตูน) ผมอ่านแล้วลมออกหูเลย...(ไม่ทราบว่าใครเคยเห็นบ้าง)

แม้แต่การวาดภาพการ์ตูนล้อเลียนท่านนบีมุฮัมมัดในปัจจุบัน ก็ถือว่าเป็นการจงใจละเลยความจริงที่ว่า ทุกศาสนาสอนความดีที่ต่างกัน เราจึงได้เห็นว่า พวกนักคิดตะวันตกพากัน มึน ว่าทำไมมุสลิมต้องมีปฏิกิริยาที่รุนแรงนัก ก็แค่วาดภาพล้อเลียนเท่านั้นเอง แต่เขาไม่ทราบความจริงว่าในอิสลามแค่วาดภาพปกติของศาสดาทั้งหลายก็ถือว่าเป็นความชั่วที่หนSample Imageักที่สุดอย่างหนึ่งแล้ว
การให้เกียรติศาสดาของศาสนาหนึ่งอาจต้องนำภาพศาสดานั้นๆมาติดไว้ที่บ้านเพื่อบูชา แต่ในอิสลามหากทำเช่นนั้นเท่ากับเขาได้สูญเสียสภาพของความเป็นมุสลิมไปแล้ว นี่คือ 
ความดีที่ต่างกัน

การวาดภาพล้อเลียนศาสดาของศาสนาต่างๆ อาจทำให้ขำขันสำหรับศาสนิกนั้น หรืออาจให้ทำให้คนที่เคร่งครัดรู้สึกฉุนนิดหน่อย แต่ในอิสลามการทำเช่นนั้นมีความหมายเดียวกับการ 
ย่ำยี

ความรู้สึกของผู้คนที่แตกต่างกันในเรื่องความดีและสิ่งที่ตัวเองเคารพนี้เองที่อัลกุรอานไม่อนุญาติให้มีการ 
ด่า ว่าสิ่งเคารพของศาสนาอื่นๆ แม้ในเนื้อหาของคำสอนอิสลามจะปฏิเสธสิ่งเคารพนั้นอย่างเด็ดขาดก็ตาม

ประเด็นการสมานฉันท์ในสังคมจึงไม่ใช่การหลอมละลายความดีทั้งหมดให้เป็นแบบเดียว แต่เป็นการยอมรับให้มีความต่างกันของความดี ซึ่งการยอมรับความต่างกันนี้มิได้หมายความว่า คนหนึ่งจะต้องสลายความเป็นสัจธรรมที่เขายึดถืออยู่ และมิได้หมายความว่า เขาจะเออออหอหมกไปกับความดีของศาสนาอื่นๆด้วย

………………………………..

หมายเลขบันทึก: 270450เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท