วงน้ำ SHA ที่ท่าบ่อ
รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

กายภาพบำบัดสู่ชุมชน


 

ประวัติการเจ็บป่วย 

เมื่อ 10 ปีก่อน ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ  แทงก์น้ำหล่นทับ กระดูกสันหลังหัก ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ   ทำให้ขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง  หลังจากนั้นเริ่มเดินเองไม่ได้

 

ปัญหาที่พบ

  • - กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อสะโพกทั้งสองข้างฝ่อลีบ
  • - ปวดที่กล้ามเนื้อต้นขา
  • - ขาซ้ายไม่มีความรู้สึก
  • - ปลายเท้าทั้งสองข้างผิดรูปบิดเข้าด้านใน
  • - เดินไม่ได้ (ผู้ป่วยไม่กล้าเดิน กลัวล้ม)
  • - ข้อเข่าเริ่มเป็นแผล เนื่องจากเคลื่อนย้ายตนเองด้วยการเดินเข่า

ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  และสามารถนั่งเย็บบนจักรได้

 

การรักษา

  • - สอนการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและสะโพก
  • - สอนท่ายืดกล้ามเนื้อขา
  • - ฝึกยืนโดยเกาะรถเข็น
  • - ฝึกเดินโดยการเกาะรถเข็นเดิน ผู้ป่วยสามารถเดินได้แต่ต้องให้ญาติเฝ้าระวังความปลอดภัย
  • - แนะนำให้ทำสนับเข่าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่ข้อเข่า
  • - แนะนำให้ไปโรงเรียนฝึกอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

-      แนะนำผู้ป่วยให้มารับอุปกรณ์ช่วยเดินสี่ขา (walker)

 

                 " คุณหมอ วันนี้ดิฉันอยากมาขอเครื่องค้ำเดินสี่ขา  ให้วาสนา ลูกสาว ที่คุณหมอไปช่วยสอนฝึกเดิน  เขาก็เริ่มเดิน โดยเกาะรถเข็นเดินทุกเช้า  จึงอยากได้ไม้ไปหัดเดิน น่ะค่ะ   ถ้ารู้ว่าขอได้  คงไม่ขอนานแล้วจ้า "

           

                นั่นคือเสียงป้าวัยสี่สิบกว่าๆที่เดินเข้ามาขอ walker ที่ห้องกายภาพบำบัด  หลังจากที่เคยออกเยี่ยมผู้ป่วยเมื่อ2 สัปดาห์ก่อน

                นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ  จะได้ตระหนักถึงการสร้างความเข้าใจในสิทธิผู้พิการกับผู้ป่วยให้มากขึ้น

               

                จากการเริ่มโครงการ  นอกจากการรักษา  ป้องกัน  ส่งเสริม  ฟื้นฟู  ทีมออกเยี่ยมผู้พิการได้พยายาม  สำรวจหาผู้พิการที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์เป็นผู้พิการตามกฎหมายให้มาขึ้นทะเบียน หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วแต่สมุดผู้พิการหมดอายุ  แนะนำให้มาต่ออายุสมุดผู้พิการ  เพื่อให้ได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย  เช่น การขออุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ  ตามสภาพผู้ป่วยหรือช่วยให้ผู้พิการได้รับการสนับสนุนเบี้ยยังชีพ  จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น  อีกทั้งคอยให้คำแนะนำในการฝึกอาชีพที่ศูนย์พัฒนาอาชีพเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงาน  สร้างรายได้ในครอบครัวหรือเด็กพิการที่ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนศึกษาพิเศษ 

               

                ทั้งนี้มุ่งหมายให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้ป่วยจะสามารถทำได้

            

 

เรียบเรียงโดย : นางสาวธินิดา  ผาอำนาจ

                          นักกายภาพบำบัด

                          โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

 

หมายเลขบันทึก: 270128เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชื่นชม วงน้ำ SHA ท่าบ่อ

ป้าแดง น้องก้อย คุณเกสร

สู้ ๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ชาท่าบ่อค่ะจากชาวารินชำราบ

มาเรียนรู้เรื่อง กายภาพบำบัดค่ะ

ไม่สามารถเอารูปลงได้ (ใครรู้บอกวิธีด้วยค่ะ)

เป็นรูป walker ที่ทำด้วยท่อ PVC ที่มีสภาพชำรุดแล้ว

อย่าว่าผู้ป่วยเลยที่ไม่รู้สิทธิ ขนาดเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไปเยี่ยมตั้งหลายรอบ

ยังไม่แนะนำให้ไปขอใหม่เลย

วันนั้นเราก็เลยบอกว่า อย่างนี้เอาสมุดประจำตัวคนพิการไปขอใหม่ได้แล้ว

ใช้ต่อไปเดี๋ยวเดินสะดุดหกล้ม เป็นแผล หรือถ้าเลวร้ายที่สุดคือคือกระดูกหัก

ซึ่งเรามักพบในผู้ป่วยอัมพาตที่สามารถเดินได้ แต่ไม่มีญาติดูแลตลอดเวลา

เพราะฉะนั้นการเดินได้ ต้องเดินได้อย่างปลอดภัยด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท