วงน้ำ SHA ที่ท่าบ่อ
รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

ภูมิปัญญาชาวบ้านกับกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก


 

ตาลองเป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกคนหนึ่งที่นักกายภาพบำบัดพร้อมทีมออกเยี่ยมผู้พิการ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมถึงบ้าน ด้วยอาการเส้นเลือดสมองตีบ  เมื่อ  2 เดือนก่อน ขาซีกซ้ายอ่อนแรง  ช่วยเหลือตนเองไม่ได้  ขาดกำลังใจ  สภาพจิตใจอยู่ในภาวะซึมเศร้า  แต่ตาลองเป็นผู้ป่วยที่โชคดีมากที่สุดคนหนึ่ง  ที่ผู้ป่วยหลายๆคนอาจไม่ได้รับ  ก็คือการดูแลใจใส่  จากญาติและคนรอบข้างเป็นอย่างดี 

 

ลูกชายได้ดัดแปลงอุปกรณ์ภายในบ้านมาเป็นอุปกรณ์ห้อยแขวนช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายหรือที่เราเรียกว่า  suspension   ซึ่งเป็นอุปกรณ์ฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด   โดยการนำเอาล้อรถจักรยานเก่าๆมาทำเป็นรอกร้อยเชือก  จุดหมุนอยู่ในแนวระดับข้อไหล่และสะโพก เพื่อใช้ในการออกกำลังกายแขนและขา 

 

                " เห็นแล้วน่าภาคภูมิใจ แทนตาลองจริงๆ ที่มีคนรอบข้างคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นอย่างดี "

 

 นอกจากนี้นักกายภาพได้เข้าไปช่วยในเรื่องแนะนำการปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เข้ากับสภาพผู้ป่วย  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนจากฟูกนอนราบมาเป็นที่นอนเตียงสูง เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย ฝึกลุกนั่ง และฝึกยืน  สร้างความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยให้กับญาติ  แนะนำทักษะการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพกับผู้ป่วยที่สามารถทำได้  อีกทั้งได้สร้างขวัญและกำลังใจกับผู้ป่วย   เพื่อให้พยายามดูแลตัวเอง ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตให้ได้มากที่สุดตามอัตภาพได้

"  สิ่งสำคัญที่สุด คือญาติละคนรอบข้างเป็นแรงผลักดันในการฟื้นฟูผู้ป่วย "

 

                       

 

เรียบเรียงโดย : นางสาวธินิดา  ผาอำนาจ

                         นักกายภาพบำบัด

                         โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

 

 

หมายเลขบันทึก: 270113เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มาให้กำลังใจคนทำงานครับ
  • คนที่ป่วย
  • หลายคนต้องการกำลังใจนะครับ
  • ดีใจที่ทีมท่าบ่อของป้าแดง
  • ทำงานดีมากๆๆ
  • น่าชื่นชมครับ
  • แต่คิดถึงป้าแดง

ล้อรถจักรยานเก่าๆมาทำเป็นรอกร้อยเชือก  จุดหมุนอยู่ในแนวระดับข้อไหล่และสะโพก เพื่อใช้ในการออกกำลังกายแขนและขา

เก่งจริงๆค่ะ ลูกกตัญญูนะคะ

เรื่องเล่าการเสริมพลังผู้ป่วยและญาติ

เด็กหนุ่มอนาคตไกลจบด้านคอมพิวเตอร์ทำงานที่กรุงเทพฯแต่แล้วหลังจากทำงานได้ไม่ถึงปีก็ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดสมองตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2549และย้ายกลับมารักษาที่โรงพยาบาลเชียงคำเมื่อกุมภาพันธ์ 2549ฉันได้รับการส่งต่อ case จากหน่วยงานในโรงพยาบาลให้ไปช่วยดูแลเด็กหนุ่มคนนั้น ซึ่งนอนเป็นอัมพาต ช่วยตัวเองไม่ได้จึงนัดทีมดูแลต่อเนื่อง ที่บ้าน ซึ่งมีนักกายภาพบำบัด คุณหมอและน้องพยาบาลประจำสถานีอนามัย เข้าไปเยี่ยมดูแลที่บ้านเมื่อทีมเราไปถึงบ้าน ก็ได้พบกับเด็กหนุ่มที่นอนอยู่บนแคร่ไม้ไผ่แขนและขาสองข้างยังมีอาการอ่อนแรง ไม่มีแผลกดทับตามร่างกายมีแม่และพ่อคอยดูแลอยู่ใกล้ๆซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นพ่อเลี้ยงและรักเด็กหนุ่มนั้นเหมือนลูกแท้ๆไม่เคยรังเกียจแม้ต้องดูแลในเรื่องการขับถ่าย การฝึกทำกายภาพบำบัด รวมถึงในเรื่องการทำอาหารการกินฉันรู้สึกชื่นชมในน้ำใจและความใส่ใจของพ่อคนนี้มาก ในการปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมเราเป็นอย่างดีและสามารถดัดแปลงอุปกรณ์พื้นบ้านมาช่วยในการฝึกบริหารกล้ามเนื้อและการทำราวจับยึดโดยใช้ไม้ไผ่มาดัดแปลงเป็นราวฝึกการเดินให้ลูกชาย ส่วนแม่มีอาการเครียด นอนไม่หลับบ่อยๆต้องอาศัยยาคลายเครียดช่วยเนื่องจากลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นความหวังต้องมาเป็นอัมพาตช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และสามีต้องทำงานเหนื่อยดูแลทั้งตนเองและลูกชาย ทีมเยี่ยมบ้านได้ไปช่วยดูแลใส่ใจทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ครอบครัวนี้แม้จะช่วยเหลือครอบครัวนี้ไม่ได้ตลอดเวลาแต่ก็ทำให้เด็กหนุ่มและครอบครัว มีกำลังใจ และ แรงใจในการฝึกทำกายภาพบำบัดและการรับประทานยาต่อเนื่องโดยทีมเราวางแผนการเยี่ยมบ้านครอบครัวนี้เดือนละ2-3 ครั้งในช่วงแรกและเยี่ยมห่างขึ้นเป็นเดือนละครั้งในช่วงหลังๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจและวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย พ่อเลี้ยงบอกเราว่า“ถ้าได้รับความรู้และการฝึกปฏิบัติอย่างนี้ผมคงดูแลลูกผมได้เป็นอย่างดี”มีอยู่ครั้งหนึ่งทางทีมเราได้ชวนคุณหมอฟันไปช่วยดูแลฟันให้ถึงบ้าน เนื่องจากเด็กหนุ่มทานยากันชักเป็นเวลานานและยามีผลข้างเคียงทำให้เหงือกและฟันสึก มีเลือดออกตามไรฟัน คนในครอบครัวของผู้ป่วยพูดว่า “รู้สึกซึ้งในน้ำใจของหมอมากแม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแต่ก็ช่วยเหลือครอบครัวของเราเป็นอย่างมากและจะปฏิบัติตามคำแนะนำที่ให้เป็นอย่างดี”เกือบหนึ่งปีที่ได้เข้าไปช่วยดูแลเด็กหนุ่มและครอบครัวนี้ที่บ้านอาการของอัมพาต อ่อนแรง ดีขึ้นตามลำดับจากที่ไม่สามารถลุกนั่งได้ก็มีพัฒนาการจนสามารถเดินได้และเริ่มฝึกการอ่าน การเขียนหนังสือ เด็กหนุ่มบอกกับทีมเราว่า“ผมอยากทำงานช่วยพ่อและแม่ มีงานอะไรให้ผมช่วยบอกได้นะครับ” เมื่อเขาสามารถทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเองความรู้สึกมีคุณค่าก็กลับมาสู่จิตใจของเขาอีกครั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆสิ่งหลายๆอย่างขึ้นมา เขาสามารถเปิดเพลงจากคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเหลืองานในชุมชนโดยทุกคนในชุมชนให้การยอมรับในความสามารถและมองเขาอย่างชื่นชม ส่วนพ่อเลี้ยงได้มีจิตอาสามาสมัครเป็นอาสาสมัครดูแลผู้พิการที่บ้านของชุมชนได้เข้ารับการอบรมเป็นอาสาสมัครดูแลผู้พิการที่บ้านโดยทางกลุ่มงานเวชกรรมสังคมร่วมกับกลุ่มงานกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลได้จัดขึ้นโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช. เขตพื้นที่เชียงใหม่ ได้จัดอบรมขึ้นเมื่อ เดือนกรกฎาคม 2551ระหว่างการอบรมได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้พิการ พ่อเลี้ยงได้เล่าถึงการดูแลลูกชายให้กลุ่มฟังจากน้ำเสียงที่เขาพูด ฉันได้เห็นความภาคภูมิใจในตนเองของเขาที่สามารถให้การดูแลจนลูกชายสามารถลุกมาเดินได้อีกครั้งและบอกกับทางทีมเราว่า“ถ้าอยากให้ไปช่วยดูแลผู้พิการคนอื่นๆก็บอกผมได้นะครับผมเต็มใจจะช่วยเหลือหมอทุกอย่างเลย”จากคำพูดของเด็กหนุ่ม พ่อเลี้ยง ทำให้ฉันเรียนรู้ว่าการให้..มีความสุขใจยิ่งกว่าการรับ..และเช่นกัน ถ้าพวกเราชาวสาธารณสุขได้ทำงานอย่างไม่หวังผลตอบแทนทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานที่ทำแล้วสิ่งที่ได้รับกลับมาจะทำให้เราเกิดความสุขใจ อิ่มใจอีกทั้งผู้ป่วยที่เราดูแลก็มีสุขภาพที่ดีขึ้นความสุขตรงนี้เราไม่ต้องซื้อหาด้วยเงินแต่อย่างใดจากเรื่องเล่านี้.....อยากให้ทุกคนทำงานโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเราไม่อาจช่วยผู้ป่วยได้ทั้งหมดแต่เราสามารถเสริมพลังให้กับผู้ป่วยและญาติในการดูแลอย่างมีองค์ความรู้และมีทักษะที่ถูกต้องให้ผู้ดูแลเกิดความมั่นใจในการดูแลญาติของเขาเพราะคนที่เขาดูแลอยู่คือญาติที่เขารักที่สุดแล้วเราก็จะได้เห็นการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

เรียบเรียงโดย นางดวงดาว ปิงสุแสน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเชียงคำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท