การวิเคราะห์ปัญหา


                             การวิเคราะห์ปัญหา

 

ในการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด      [1]การให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหานั้น  จะต้องมีแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้พัฒนาโปรแกรมต้องพิจาณาให้ได้ว่า   จะต้องทำการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาอะไร   ถ้าหากวิเคราะห์ปัญหาผิดพลาด  เมื่อทำการเขียนโปรแกรมแล้วได้ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน       องค์ประกอบในการวิเคราะห์มีอยู่ 3 องค์ประกอบ

              1.1   การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
              1.2   การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
              1.3   การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก

ตัวอย่างที่1.1

 

แสดงการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของการหาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม 5 จำนวน ได้แก่ 6   5   13  

 

 

(1)

การระบุข้อมูลเข้า

 

ในที่นี้โจทย์กำหนดให้หาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม 3  จำนวน ดังนั้น ข้อมูลเข้าได้แก่จำนวน 6  5 และ 13

(2)

การระบุข้อมูลออก

 

จากโจทย์สิ่งที่เป็นคำตอบของปัญหา คือค่าเฉลี่ย (x) ของจำนวนทั้งห้า

(3)

การกำหนดวิธีการประมวลผล

 

จากสิ่งที่โจทย์ต้องการ "ค่าเฉลี่ย" หมายถึง ผลรวมของจำนวนทั้ง 3 หารด้วย 3 ดังนั้น ขั้นตอนของการประมวลผลประกอบด้วย

 

3.1

รับค่าจำนวนทั้ง 3 จำนวน 

3.2

นำจำนวนเต็มทั้ง 3 มาบวกเข้าด้วยกัน

3.3

นำผลลัพธ์จากข้อ 3.2 มาหารด้วย 3

 

ตัวอย่างที่1. 2

 

แสดงการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

จากสูตร พื้นที่ = 0.5 x ฐาน x สูง

 

 

(1)

การระบุข้อมูลเข้า

 

จากโจทย์ข้อมูลเข้า ได้แก่

1.1

ค่าความยาวของฐาน

1.2

ค่าความสูง

(2)

การระบุข้อมูลออก

 

พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม

(3)

การกำหนดวิธีการประมวลผล

 

สิ่งที่ต้องการคือพื้นของรูปสามเหลี่ยม เราสามารถสรุปขั้นตอนของการประมวลผลได้ดังนี้

3.1

รับค่าความยาวของฐาน และค่าความสูง

3.2

คำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม = 0.5 x ฐาน x สูง

                          ที่มา http:\\203.154.140.4/ebook/files/menu/ls6.htm



[1] รศ. ธีระวัฒน์  ประกอบผล, คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ( กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย, 2552), หน้า 5

หมายเลขบันทึก: 269983เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุรครับ แล้วจะลองดู

จะลองใช้ดูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท