บริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


บริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักการบริหารงานแบบรวมศูนย์  

                สิ่งสำคัญในที่นี้ที่จะคำนึงถึงในการออกแบบโครงสร้างใหม่คือ  โครงสร้างมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศขององค์กร กล่าวคือ  บุคคลที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ จะเป็นแก่นแท้ของพฤติกรรมองค์กร   ดังนั้น พฤติกรรมของบุคลากรในวิทยาเขตจึงประกอบด้วย พฤติกรรมร่วมระดับเขตการศึกษา  พฤติกรรมร่วมของคณะแต่ละคณะ  และพฤติกรรมรายบุคคล   ประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่การบริหารแบบรวมศูนย์ได้ คือ หากเราพบว่า  

                 1) พฤติกรรมร่วมด้านใดในแต่ละส่วนงานเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และจะนำไปสู่ความเป็นเอกลักษณ์ในเชิงลบนั้น การแก้ปัญหาโดยการนำมาหลอมพฤติกรรมใหม่ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการนำมารวมกันนั้นถือว่าเป็นหนทางหนึ่งที่ควรกระทำ แต่ที่สำคัญคือ ผู้บริหารควรมีการกำกับและแน่ใจว่า วัฒธรรมใหม่ พฤติกรรมใหม่ เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ได้ปรากฏขึ้นจริง ๆ รวมถึงเราควรเข้าใจว่าในองค์กรของเรามีวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ดี ๆแฝงอยู่ แล้วควรพัฒนาให้เกิดขึ้น 

                2)  การเกลี่ยอัตรากำลัง ทั้งนี้หากว่าอัตรากำลังส่วนใดที่มีเกินกว่าภาระงาน ก็สามารถนำมารวมกันและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้และการทำงานสามารถควบคุมให้จบภายในจุดบริการที่เดียวกัน

               

กรณีหรือต้นตอแห่งการเปลี่ยนแปลง  แนวคิดความจริงสู่ความจริงเกี่ยวการทับซ้อนของศาสตร์ และแนวทางการแก้ไขจาก ปัจจุบัน วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  กำลังจะก้าวเข้าสู่วิถีใหม่ คือ การปรับโครงสร้างทางวิชาการ ซึ่ง เปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจากกรณีที่สอง (ผู้บริหารตระหนักที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง )  ทำให้โจทย์ (ปัญหาหรือที่มาของการเปลี่ยนแปลง) หรือข้อคำถามที่เกิดขึ้นจึงต้องมีคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างแจ้งชัด มีที่มาที่ไปหรือมีสาเหตุของการเกิดสภาพการณ์นี้    ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจและตระหนักรู้ว่าโจทย์ที่ให้มาสอดคล้องกับโจทย์ที่บุคลากรภายในวิทยาเขตรับรู้มากน้อยเพียงใดและอย่างไร   อันจะนำไปสู่การหลอมกระบวนการรับรู้ และตระหนักรู้ตรงกันและถูกต้องมากที่สุด 

ดังนั้น  ในที่นี้ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะหาคำตอบจากโจทย์ต่าง ๆ  เนื่องจากข้าพเจ้ามีความเชื่อตามแนวคิดของ Peter Senge   ในเรื่อง   The Fifth Discipline ที่ว่า   การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ไม่ได้อาศัยผู้นำเพียงอย่างเดียว แต่การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจากระดับปัจเจกบุคคลด้วย”   ซึ่งนั่นหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงนอกจากอาศัยทีมในการเปลี่ยนแปลงแล้ว  อีกมุมหนึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ของสมาชิกในองค์กรที่มีความอยากอันเกิดจากการระเบิดจากข้างในเช่นกันค่ะ   ดังนั้น   ข้าพเจ้าจึงใช้   Share.psu.ac.th  แห่งนี้ เพื่อมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้รู้ และ/หรือผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการจรรโลงองค์กร   และถือว่ากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เป็นเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนกรอบความคิดของแต่ละบุคคล  อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ ความตั้งใจที่จะเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่างจริงจัง  และจริงใจ ซึ่งจะส่งผลต่อวิถีชีวิต  แนวคิด และนำไปเผยแพร่ต่อให้กับผู้ส่วนเกี่ยวข้องได้  และประการสุดท้ายคือ มองเห็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Share vision) ก่อนที่จะไปทำอะไรดี ๆ ให้กับองค์กรต่อไป

 ฉะนั้น รายละเอียดที่ข้าพเจ้าจะพูดถึงต่อไป คือการพยายามหารากเหง้าของปัญหาว่าทำไมถึงเกิดปัญหาในการทับกันของศาสตร์  ทั้งนี้เพื่อนำมาสู้การเยียวยา และพัฒนา วิทยาเขตได้สมเหตุสมผลยิ่งขึ้น ตลอดจนจะได้คำตอบหลักว่า การ (ทับ) กันของศาสตร์เป็นคำตอบแรก และคำตอบสุดท้ายของการปรับโครงสร้างทางวิชาการของวิทยาเขต สุราษฎร์ธานีหรือไม่ อย่างไร ?    โดยมีรายละเอียดแต่ละประเด็นคือ 1. ที่มาหรือเหตุผลในการจัดระบบโครงสร้างใหม่  จากเอกสารได้ระบุว่า  การพัฒนาโครงสร้างทางวิชาการในวิทยาเขตเป็นลักษณะการจำแนกโครงสร้างพื้นฐานและประยุกต์   ในขณะที่ทิศทางการพัฒนาสาขาวิชาในช่วงที่ผ่านมาของวิทยาเขต(กลับ)มุ่งเน้นศาสตร์เชิงประยุกต์    ทำให้ความต้องการทรัพยากรและอัตรากำลังมีลักษณะทับซ้อน ขาดการระดมทรัพยากรและการขยายพัฒนางานด้านต่าง ๆ ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่

            จากข้อความที่ได้เสนอไว้ข้างต้น  จะเห็นว่า  แผนที่กำหนดหรือคาดหวังให้เป็น กับการดำเนินงานที่แท้จริงแตกต่างกัน  ซึ่งนั่นหมายความว่า   ทั้งสองคณะในวิทยาเขตมุ่งไปทางศาสตร์ประยุกต์       ฉะนั้น จากเหตุการณ์นี้จึงต้องกลับไปทบทวนกระบวนการกำกับในอดีตและปัจจุบันว่า  ทำไมถึงปล่อยให้เกิดเหตุการณ์อย่างที่พูดถึง  และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำรู้หรือไม่อย่างไรเกี่ยวกับทิศทางศาสตร์ของตนและทิศทางการพัฒนาของเขตการศึกษา          

หมายเลขบันทึก: 269753เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาอ่านติดๆทุกหัวข้อ

เหนื่อยไม่ว่า ขอให้ได้อ่านได้เก็บคะ

ขอบคุณมากค่ะจะแวะไปเยี่ยมที่บล็อกนะค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ วันนี้มอบมังกรทองเป็นกำลังให้สังสัยหนูคงจะโชคดีในปีการศึกษานี้แน่ ฝากคิดถึงน้องม่อนด้วยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท