Coaching เรื่องดีที่ทำยาก


        การสอนงานถือเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้องถ่ายทอดความรู้ทักษะการทำงานแก่ลูกทีมของตน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานและต่อยอดคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง  แต่จากการสำรวจความเห็นของพนักงานในองค์กร  มักพบว่าการสอนงานในลักษณะที่หัวหน้างานถ่ายทอดความร้ให้กับลูกน้องนั้นมีการดำเนินงานค่อนข้างน้อย  ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุ เช่น  หัวหน้างานไม่มีเวลา  ลูกน้องไม่เชื่อถือผู้สอน  ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นความจำเป็น  และอื่นๆอีกสารพัด 

       ปัญหาในการสอนงานที่ทำยากมีอยู่ 2 ประการ คือ

       1  หัวหน้างานไม่ได้วิเคราะห์ค่านิยมหรือแรงจูงใจของพนักงาน  เพื่อกระตุ้นให้พนักงานต้องการการสอนงานเพื่อพัฒนาความรู้และเพิ่มเติมทักษะ

       2  หัวหน้างานไม่ได้คำนึงถึงความถนัดในการรับรู้ของพนักงานว่าแตกต่างกัน  ซึ่งความถนัดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แบ่งได้ 3 แบบ คือ 1 ถนัดรับรู้จากการเห็น   2 การรับรู้จากการฟัง การได้ยิน 3 ถนัดรับรู้จากการลงมือปฏิบัติ

      ปัญหาการสอนงานอาจเกิดจากผู้สอนใช้วิธีสอนที่ตนเองถนัด เช่น ผู้สอนถนัดรับรู้จากการฟัง ก็จะสอนงานแบบพูดอธิบาย ในขณะที่พนักงานเป็นผู้ถนัดการรับรู้ด้วยการเห็นก็อาจเข้าใจไม่ชัดเจน การสอนงานครั้งนั้นก็ขากประสิทธิภาพ ทั้งที่ต่างฝ่ายมีความตั้งใจดีในการเรียนรู้และการสอนงาน

      การสอนงานเป็นเรื่องที่ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้สอน กล่าวคือ จะทำให้ผู้สอนขวนขวายความรู้และเทคนิคต่างๆอยู่ตลอดเวลา  เป็นประโยชน์ต่อพนักงานในการยกระดับความรู้ในงานให้สูงขึ้น และองค์กรก็จะได้ประโยชน์จากความรู้ของบุคลากร ทำให้องค์กรเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน  

     ข้อคิดเห็นจากการอ่านบทความ การสอนงานเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ซึ่งทั้งผู้สอนงานและผู้เรียนรู้จำเป็นต้องรู้จักตนเองโดยถ่องแท้ เพื่อให้การสอนงานและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ที่มา จารุนันท์  อิทธิอาวัชกุล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 269435เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ
  • การเป็นโค้ช ยากจริงๆที่จะเข้าหาแต่ละคน
  • บางคนแค่บอก ก็รับรู้ ทำได้ บางคน ต้องทำให้ดูครั้งเดียว หลายครั้ง จึงทำได้
  • แต่ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน ตามความถนัดของแต่ละคนเป็นสิ่งที่ควรคำนึงด้วย การทำให้เขามีส่วนร่วมจะทำให้เขาภาคภูมิใจ และยั่งยืนในการปฏิบัติ
  • ขอบคุณค่ะ

เป็นบทความที่ดีจะนำไปใช้บ้างค่ะ หาบทความดี ๆ น่าใจอย่างนี้มาให้อ่านอีกนะค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท