โครงการ SMEs ธุรกิจศิลปกรรมและการออกแบบ


โครงการ SMEs ธุรกิจศิลปกรรมและการออกแบบ

แบบเสนอขอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม  ปีงบประมาณ 2552

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

แผนงาน    บริการวิชาการแก่สังคม  

 

1.              ชื่อโครงการ

การพัฒนาบัณทิตตกงาน / ผู้ประกอบการ  สู่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME  

 (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม )

 

ชื่อผู้ร่วมโครงการ

เบอร์โทรติดต่อ / e-mail:

1.      ผศ. ถาวร                  ฝั้นชมภู

2.       นายอนุชา                แก้วหลวง

3.       ผศ. ตระกูลพันธ์    พัชรเมธา

4.       นายสิทธิโรจน์        เลิศอนันต์พิพัฒน์

5.       รศ.วิชิต                    ชมทวีวิรุตม์

6.       ผศ. สุรพล               มโนวงศ์

7.       ผศ.ประกรณ์           วิไล

8.       นายธรรมนูญ          นิลวรรณ

 

                084-1768272

                084-3645603

                081-3664588

                086-6562662

                081-2871014

                086-1953345

                089-7599044

                081-9520819

2. หน่วยงานต้นสังกัด คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

 

3. งบประมาณ                    80,000           บาท    

 

4. ระยะเวลาที่ดำเนินการ วันเริ่มต้นโครงการเดือน  เมษายน   2552  วันสิ้นสุดโครงการเดือนสิงหาคม 2552

 

5. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์

o    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10           ประเด็น ด้านสังคม

o    กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ภาคเหนือ 8 จังหวัด                               ประเด็น สร้างเอกลักษ์งานหัตถกรรม

o    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา/หน่วยงาน         ประเด็นที่ 1    ยุทธ์ศาสตร์ที่  4

    5.1 ความสอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษา  

         สกอ. ข้อ   5.1 ,5.2, 5.3 ,5.4  /  สมศ. ข้อ.3.1,3.2,3.4

 

 

 

6. ลักษณะของโครงการ : เป็นโครงการบริการวิชาการแก่สังคม

o    การให้ความรู้ (เช่น การนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ใหม่ๆ ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่ผู้รับบริการ)

o    การให้ความเข้าใจ (เช่น การรณรงค์ให้ผู้รับบริการเข้าใจในองค์ความรู้ การรับเอาเทคโนโลยีไปใช้)

o    การให้คำปรึกษา (เช่น การให้คำปรึกษาด้านเทคนิค ด้านวิชาชีพ การวางแผนต่างๆ ให้แก่ผู้รับบริการ)

o    การถ่ายทอดเทคโนโลยี (เช่น การจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม การให้บริการ โดยมุ่งหวังเพื่อผู้รับบริการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน)   

 

7. หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลเรื่องบัณฑิตที่จบการศึกษาออกไปเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ผันแปร      ทำให้การจ้างงานลดน้อยลง    อัตราว่างงานสูง     นักศึกษาบางส่วนที่มีฐานะดี ก็อาจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น    แต่ก็มีนักศึกษาบางส่วนไม่น้อยต้องทำงานหาเลี้ยงตนเอง    และครอบครัว      จึงเป็นเรื่องที่ลำบากในการที่จะหางานทำในสถานการณ์เช่นนี้  

บัณฑิตที่จบการศึกษาไปจากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปีกาศึกษา 2551 นี้  มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการ และทักษะฝีมือในทางศิลปกรรม  /  การออกแบบประยุกต์ศิลป์ / งานหัตถอุตสาหกรรม /  และงานสถาปัตยกรรม  ในการเรียนการสอนในระบบที่ผ่านมานอกเหนือจากการเรียน และฝึกงานในห้องเรียน และโรงงานแล้ว  นักศึกษาปีสุดท้ายยังได้มีโอกาส ไปฝึกงานตามสถานที่จริง     และเป็นผู้ช่วยวิทยากรลงพื้นที่ให้แก่อาจารย์ตามโครงการบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน   อยู่ในหลายๆโครงการในแต่ละปีการศึกษา   อีกทั้งนักศึกษาส่วนมากยังจะสามารถหารายได้พิเศษ ด้วยการใช้วิชาชีพที่ตนเรียนมา ด้วยการทำงานพิเศษ  จากโรงงาน บริษัท ผู้ประกอบการ   ห้างร้าน  องค์กร  และหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่ประจักแก่สังคม ชุมชน

 ในสถานการณ์ที่บัณฑิตที่จบการศึกษาไปยังไม่ได้ประกอบอาชีพ ระหว่างรองาน คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เล็งเห็นประเด็นในการเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพให้แก่บัณฑิตเหล่านี้ ด้วยการเติม ความรู้   ในด้านการประกอบอาชีพด้วยตนเอง     ด้วยการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ SME วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากทักษะที่ตนเองได้สะสมประสบการณ์การเรียนรู้มา คืองานศิลปะ งานหัตถกรรม    นำมาเติมด้านการสร้างสรรค์งาน (creating designing)    การพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์   (products  development  and  the  package)   การพัฒนาเครื่องหมายการค้าสู่ตลาด (trademark development in the market)    กระบวนการทางการตลาด    (marketing)   การติดต่อธุรกิจการค้า (Commerce)       การนำเสนอสินค้าสู่ผู้บริโภค ในทางโฆษณาประชาสัมพันธ์   (advertisement and public relations)   การทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ของตนเอง  (the experiment produces the products of oneself )     นอกจากนี้ ยังเพิ่มกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นเข้าสมทบด้วย

จากเหตุผลดังกล่าว คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์  จึงทำโครงการที่จะให้นักศึกษาที่จบออกมาเหล่านั้น ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยใช้ ศักยภาพในตัวนักศึกษาเอง  ด้วยการใช้วิชาชีพ  ทักษะ  พรสวรรค์  ทางศิลปะและการออกแบบ มาต่อเติมความรู้ความสามารถ สู่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME เตรียมพร้อมที่จะ ใช้ความรู้มาพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนเพื่อสร้างความเข็มแข็งแก่ชุมชน      และหารายได้ให้แก่ตนเอง เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพด้วยตนเอง อีกทางเลือก     ในระหว่างเกิดภาวการณ์ว่างงานขึ้นในขณะนี้

 

8. วัตถุประสงค์

1. เพื่อช่วยเหลือบัณฑิตที่ว่างงานให้มีความรู้ในด้านผู้ประกอบการธุรกิจ SME

2. เพื่อให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ให้มีความรู้ในด้านผู้ประกอบการธุรกิจ SME

3. เพื่อการบริการวิชาการสู่สังคม

 

9. ความสอดคล้องกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย

o    มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน (โปรดระบุรายละเอียด)

นำศาสตร์วิชา ระหว่างสาขา หลักสูตรมาบรูณาการเชื่อมโยงสู่ถึงปัจจัย กระบวนการในการ

                        งานประกอบธุรกิจ   SME

o         มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการวิจัย (โปรดระบุรายละเอียด)

ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิชาชีพสู่ชุมชน ผู้ประกอบการ และเติมความรู้กับ บัณฑิตที่ว่างงาน

o         มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (โปรดระบุรายละเอียด)

 

10. กลุ่มเป้าหมาย

1.  กลุ่มบัณทิต ที่ว่างงาน

2.  กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในชุมชน    ท้องถิ่น 

 

หมายเลขบันทึก: 269400เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความเห็นเดิม ...งานเสร็จแล้วนำรูปมาแบ่งปันให้ดูกับบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท