สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

การทัศนศึกษาดูงานปาล์มน้ำมัน


ต้อนรับเกษตรกรจังหวัดปัตตานีดูงานปาล์มน้ำมัน

การทัศนศึกษาดูงาน สวนปาล์มน้ำมัน

 วันพฤหัสบดีที่18 มิถุนายน 2552 เวลา15.00 น.

ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานี

และแปลงเรียนรู้เกษตรกร ของนายสหัส  พรหมสงฆ์  ม.6 บ้านคลองนา  ต.ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์ 

..............................................

                ด้วยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี  ได้ขอความอนุเคราะห์ในการทัศนศึกษาดูงาน ด้านการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบและครบวงจร   โดยได้นำเกษตรกรรุ่นใหม่  ซึ่งได้สมัครเข้าร่วมโครงการ การเรียนรู้ หลักสูตร การผลิตปาล์มน้ำมันครบวงจร  จำนวน 48 ราย  มีวัตถุประสงค์  เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในแปลงปลูกของตนเอง  ตลอดถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่สมาชิกที่จะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพ  ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี ยังขาดประสบการณ์ในการผลิตปาล์มน้ำมันในทุกด้าน

                ทางสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้มอบหมายให้ นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  และนายธเรศ   ไข่มุกข์    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ   ให้การต้อนรับคณะจากสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี  ภายใต้การนำทีมของคุณสมบูรณ์  แก้วเลี่ยม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ซึ่งได้ออกเดินทางจากอำเภอสายบุรี  จังหวัดปัตตานี  เวลา 07.30 น. มายังศูนย์วิจัยสุราษฏร์ธานี  (รับประทานอาหารกลางวันที่ อำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช)  เพื่อศึกษาดูงาน เกี่ยวกับ การผลิตกล้าปาล์มน้ำมัน  โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานี  ให้ความรู้ในเรื่อง ต่างๆ ดังนี้

1.       การผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน    มีแปลงแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์   ทำการผสมเป็นเวลา 6 เดือน

ทำการสับเมล็ด  และแยกเอาเปลือกผลออก

2.       การเลือกซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

2.1   เลือกซื้อจากแปลงเพาะกล้าที่จดทะเบียนเป็นผู้เพาะชำเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

2.2   เลือกจากแหล่งผลิตพันธุ์ที่ถูกหลักวิชาการเชื่อถือได้

2.3   เลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า

2.4   เลือกต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 เดือน ขึ้นไป

2.5   โคนต้นมีความอวบ  สมบูรณ์แข็งแรง

2.6   ต้นกล้าที่เพาะในแปลงเพาะที่ไม่มีน้ำท่วมขัง  ไม่มีโรคแมลงทำลาย

2.7   ขอหนังสือสัญญาซื้อขาย  หรือใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน

3.       จุดรับทลายปาล์มน้ำมัน   โดยจะทำการปลิดเมล็ด ให้เป็นเมล็ดเดี่ยว ทำการพักไว้เป็นเวลา 2 วัน

4.       ขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์   ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้  การสับทะลายปาล์มน้ำมัน, การทำความสะอาด

การผึ่งเมล็ด 2-3 วัน , นำเข้าห้อง PRE-HEAR , การเข้าห้องเพาะ, เมล็ดเริ่มงอก  และเมล็ดที่สมบูรณ์

5.       ห้องเพาะเมล็ดพันธุ์

6.       แปลงเพาะกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

             การผลิตเมล็ดพันธุ์               

แปลงต้นแม่พันธุ์

เวลา 16.30 น.  เดินทางไปยังแปลงเรียนรู้เกษตรกร  ม.6 บ้านคลองนา ต.ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์  

โดยมีนายสหัส  พรหมสงฆ์  ประธานเครือข่ายคัทเตอร์ปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฏร์ธานี  ให้การต้อนรับ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ในเรื่อง การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน  ดังนี้

(คุณสหัส  พรหมสงฆ์  ได้เตรียมเอกสาร การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน / ยางพารา ให้ประสบความสำเร็จ

ตามเทคนิคมาเลเซีย  พร้อมนำผลไม้สละ   น้ำดื่ม   มาให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน ดังกล่าว)

                1. การจัดการแปลง   หากเป็นสวนเดิมจะต้องทำการล้มไม้ให้หมด 100 %  หากเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง จะต้องทำการขุดคูรอบแปลง  

                2. การจัดหาพันธุ์   จะต้องมีการสอบถามเพื่อนๆ  เจ้าหน้าที่เกษตร   และจะต้องมีหนังสือรับรองต้นพันธุ์

                3. มีการสังเกตลักษณะของต้นปาล์มที่ไม่ควรซื้อ หรือนำไปปลูก  ได้แก่ ใบม้วน  ใบบิด  ใบชิดใบห่าง

                4. การปลูก  ระยะปลูกที่เหมาะสม 9 x 9 x 9  เมตร

                                - ปลูกพร้อมลวดตาข่าย

                                - ปลูกโดยการตัดใต้ถุงดำ อย่าให้ถุงขาด  และใช้ยาฟูราดาน  ยอดบริเวณโคนต้น

                5. การดูแลรักษา 

                                - การให้น้ำ  ปาล์มต้องการน้ำ วันละ  200-300 ลิตร

                                - การใส่ปุ๋ย   หลักการใส่ปุ๋ย ใส่ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง  (เดือนละ 1 ครั้ง , หรือใส่ทุกเดือน)

ต้องมีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อช่วยปรับโครงสร้างของดิน  และดินจะต้องมีความชื้นด้วยก่อนการใส่ปุ๋ย

                                - การตัดแต่งทางใบ  ปาล์มอายุ 4 ปี ลงมาไม่ต้องตัดแต่งทางใบ

                6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต  ห้ามตัดปาล์มดิบจำหน่าย   เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จจะต้องส่งลานเท ภายใน 12 ชั่วโมง

เพื่อที่ลานเทจะทำการส่งให้โรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

                 ให้ความรู้ เรื่อง การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน

ร่วมถ่ายรูปหมู่

เวลา 06.30 น.  เดินทางไปพักค้างคืนที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี   และมีกำหนดการเดินทางไปยังจังหวัดกระบี่ ในวันที่ 19  มิถุนายน 2552   เพื่อศึกษาดูงานการรับซื้อปาล์มน้ำมันของสหกรณ์นิคมอ่าวลึก  และศึกษาดูงานโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ  โรงกลั่นและการผลิตไบโอดีเซล ของชุมนุมสหกรณ์ ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด อ.อ่าวลึก  จ.กระบี่  ก่อนที่จะเดินทางกลับจังหวัดปัตตานี

 

       นายสิทธิชัย   ช่วยสงค์

                                                                                นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

                                                                                  สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

                                                                                   โทร. 08-9963-3078 ,  0-7737-9013

                                                                                                     18 มิถุนายน 2552

 

 

หมายเลขบันทึก: 269095เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมสนในเรื่องการปลูกปาล์มมากครับ ขอบคุณเรื่องราวดีดีจากคุณครับ

  • คนอยู่ ใกล้ ยังไม่ได้เข้า ไปดูเลย
  • ใกล้เกลือ กินด่าง
  • จะต้องไปให้ได้สักครั้งหนึ่ง ครับ

* ขอบคุณนะ!!!ครับ

* ยินดีต้อนรับ ในการเรียนรู้ด้วยกัน

* จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน ความรู้ใหม่ ครับ

ปุ๋ยใส่ปาล์มใช้สูตรไหนบ้าง

ปาล์มอายุ 2-3 ปีใช้สูตรไหน

ปาล์มอาย 4 ปีขึ้นไปใช้สูตรไหน

*การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ ปีละ 2-3 ครั้ง

*สูตรปุ๋ย 1.แอมโมเนียมซัลเฟต(21-0-0)

ปีที่1-3 อัตรา 3 กก./ต้น/ปี

ปีที่ 4 ขึ้นไป อัตรา 5 กก./ต้น/ปี

2.ร๊อคฟอสเฟต(0-3-0)

ทุกปี อัตรา 3 กก./ต้น/ปี

3.โพแทสเซียมคลอไรค์(0-0-60)

ทุกปี อัตรา 3 กก./ต้น/ปี

4.กีเซอร์ไรค์ (26% Mg)

ทุกปี อัตรา 1 กก./ต้น/ปี

5.โบรอน

ทุกปี อัตรา 80-100 กรัม/ต้น/ปี

* ก่อนใส่ปุ๋ยกำจัดวัชพืช หลีกเลี่ยงการใส่ปุ่ยเมื่อฝนแล้งหรือฝนตกหนัก

สุดยอดครับ พี่บ่าวเรา ข้อมูลดี สุดๆ ว่างๆ ก็ส่งมาให้ชมกันอีกนะครับ แล้วผมจะคอยดูอยู่ครับ

การใส่ปุ๋ยปาล์มของคุณสหัส

ปาล์มอายุ 0-1 ปี ใส่ 15-15-6-4

อายุ 1-3 ปี ใส่ 12-12-17-2-B และ 0-0-60

อายุ 3 ปี ขึ้นไป ใส่ 12-12-17-2-B ,12-6-22-3,0-0-60,13.5Mgo-5B

วิธีใช้ขึ้นอยู่กับสภาพต้นเป็นหลัก ไม่มีสูตรไหนตายตัว

และจะต้องเป็นโพแทสเซียมไนเตรท เพื่อลดการสูญเสียของปุ๋ยและไม่ทำให้ดินเป็นกรด

สายพันธุ์ปาล์มน้ำมันสวนคุณสหัส คือ D x P AVROS ของบริษัท Golden Hope จากประเทศมาเลเซีย ระยะปลูก 10x10x10 เมตร

* ขอบคุณ ...คุณสาโรจน์ นะครับ

* ได้ข้อมูล..ดีดีแยอะครับ โดยเฉพาะพันธุ์ปาล์มและปุ๋ย

* มีโอกาส...มาร่วมแลกเปลี่ยนใหม่นะครับ

* ขอบคุณอีกครั้ง..ครับ

ปาล์ม5ปีใส่สูตรไหนคับ

ปาล์มน้ำมัน 5 ปีใส่ปุ๋ยสูตร กรณีปาล์มขาดคอ12-12-17+2MgO+B

กรณีปาล์มดก ใส่สูตร 12-6-22+3MgOหรือ 12-2-28+B

ผมสนใจปลูกปาล์มมาก อยู่ อ.สทิงพระ เป็นที่นา กำลังขุดยกร่อง จะซื้อพันธ์ปาล์มมาปลูก ไม่รู้ซื้อพันธ์ไหน และซื้อที่ไหนดี ที่คุณสิทธิ์ชัย มีจำหน่ายไหมคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท