บทความเรื่อง "กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การ"


กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้ง

       บทความเรื่อง "กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การ"

ผู้เขียนบทความ  :  ณรงค์วิทย์  แสนทอง                

           ปัญหาความขัดแย้งในองค์การที่เป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริหารระดับสูง คือ ความขัดแย้งระหว่าง

ผู้บริหารที่มีตำแหน่งรองลงมาจากผู้บริหารระดับสูง  การที่จะแก้ไขปัญหาโดยการปลดออกเป็นไปได้ยาก

เพราะการปลดผู้บริหารคนใดคนหนึ่งออกอาจส่งผลกระทบต่อองค์การอย่างมาก

           แนวทางในการบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์กร มีดังนี้

            1. อย่าอินไปกับตัวของปัญหา แต่จงหาสาเหตุ   ดูจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่แท้จริงเกิดจากอะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุ เมื่อได้สาเหตุที่แท้จริงแล้ว ก็กำหนดมาตรการในการแก้ไข

            2. ยุให้แตก แล้วค่อยประสาน บางครั้งความขัดแย้งของผู้บริหารบางคู่ บางกลุ่ม เข้าลักษณะเหมือน "ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ" ก็ควรปล่อยให้ทะเลาะกัน แล้วค่อยเข้าไปช่วยประสาน

            3. ใช้สถานการณ์เป็นเครื่องมือ  การแก้ไขปัญหา บางครั้งต้องรอจังหวะ หรือเหตุการณ์บางอย่างเข้ามาช่วย เช่น ให้ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการอาศัยจังหวะที่คู่กรณีคนใดคนหนึ่งประสบความลำบากในชีวิต ในฐานะผู้บริหารระดับสูงอาจจะชวนคู่กรณีอีกฝ่ายไปเยี่ยม หรือมอบหมายให้เป็นตัวแทนผู้บริหารไปเยี่ยม

            4. เทคนิคการสลายพลัง คือ การสลายพลังความขัดแย้งจากคนแต่ละคน โดยเริ่มจากคนที่ไม่ได้ขัดแย้ง แต่ทำตัวอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ชวนผู้บริหารที่เป็นสมาชิกของอีกฝ่ายหนึ่งไปทำงานต่างจังหวัดร่วมกับผู้บริหารอีกฝ่ายหนึ่ง  ทำให้ทั้งสองซึ่งไม่ได้เป็นคู่อริโดยตรง เริ่มมีการพูดคุยร่วมกิจกรรมกันมากขึ้นและเริ่มยอมรับผู้บริหารฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น ใช้วิธีนี้ค่อย ๆ เก็บไปทีละคน สุดท้ายก็จะถูกสลายให้เหลือน้อยลง

             5. ทำหน้าที่เป็นเบรก เมื่ออุณหภูมิเริ่มสูง  ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่เพียงคอยแตะเบรก ในกรณีที่เริ่มมีความรุนแรงของความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ส่วนความขัดแย้งในระดับปกติก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

             6. ยืมมือที่สาม  บางครั้งคู่กรณีอาจจะคิดว่าผู้บริหารระดับสูงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ผู้บริหารอาจจะต้องขอยืมมือบุคคลภายนอกที่เรียกว่า ที่ปรึกษา มาช่วยบริหารความขัดแย้ง

             7. ทำการตลาดกับคนรอบข้าง  ถ้าจะบริหารความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารภายในองค์การ อาจต้องมองกว้างไปถึงชีวิตครอบครัวของผู้บริหารที่มีความขัดแย้ง เช่น คู่สมรส บุตร บุพการี

             บทสรุป  ความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารในองค์การไม่สามารถห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถ

บริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้สร้างพลังไปในทิศทางที่ต้องการ สามารถควบคุมระดับของความขัดแย้งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้

             บทความนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคนในหน่วยงาน คือ สามารถนำแนวทางทั้ง 7 แนวทาง ไปบริหารความขัดแย้งในหน่วยงานได้ ทั้งระดับผู้บริหาร และบุคลากรในหน่วยงาน เพราะแต่ละวิธีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบุคลากรระดับปฏิบัติได้  และถ้าการบริหารความขัดแย้งได้ผล ก็จะทำให้การพัฒนาหน่วยงานได้รับความร่วมมือจากทุกระดับ  และงานทุกอย่างก็จะประสบผลสำเร็จ

ที่มา : http://www.hrcenter.co.th

คำสำคัญ (Tags): #hr
หมายเลขบันทึก: 269027เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การบริหารความขัดแย้งในหน่วยงาน กุ้งนางคิดว่าความเด็ดขาดของผู้บริหารก็ช่วยได้นะคะ เราลองนึกถึงเด็กนักเรียนถ้าครูห้ามเด็ดขาดไม่ให้มีการทะเลาะกัน โดยมีมาตรการที่จริงจังเด็กก็จะเกิดความกลัวไม่กล้าทะเลาะกัน ดังนั้นคนในหน่วยงานก็เช่นกัน เคยได้ยินไหมคะ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง

ผู้บริหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหน่วยงานของตนเอง เพื่อจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีและบุคลากรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การบริหารความขัดแย้ง ขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญ การให้โอกาสและความเท่าเทียมกันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆในองค์กรได้

เป็นการง่ายนะครับที่จะวิ่งให้ชนะด้วยตัวเองเพียงลำพัง แต่การที่จะไปให้ถึงฝั่งแห่งชัยชนะด้วยทีมนี่สิยากยิ่งกว่า

ขอขอบคุณสำหรับบทความครับ

มีดอกไม้มอบให้

ขอบคุณ สำหรับความคิดเห็นของทุกท่าน และขอบคุณน้องกรุงที่มอบดอกไม้ให้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท