มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในระดับไร่นา


เตรียมความพร้อมก่อนทำการวิจัย

            ในปี 2552 นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มอบหมายให้ผู้เขียนรับผิดชอบงานวิจัยภายใต้การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง นับว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายและน่าเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เริ่มดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้

  • เริ่มจากการระดมความคิดกับหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ในระดับจังหวัด เพื่อคัดเลือกศูนย์เรียนรู้ฯ ที่จะทำการศึกษาวิจัย ในที่สุดก็มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าควรเลือกศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านคลองอ้อม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี เพราะศูนย์ฯ แห่งนี้มีการดำเนินการแบบบูรณาการและถือว่าประสบผลสำเร็จสามารถเป็นแบบอย่างได้ในระดับหนึ่ง  การบูรณาการของศูนย์แห่งนี้ก็คือบูรณาการหลายกิจกรรมเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และศูนย์เรียนรู้ฯ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/blog/sansanee/236720        

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านคลองอ้อม

  • จากนั้นหาแนวร่วม เป็นทีมวิจัย โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ทุกคน ( 5 คน) เป็นทีมวิจัย และให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในอำเภอปราณบุรีแสดงความจำนงค์เข้าร่วมเป็นทีมวิจัยซึ่งมีผู้ร่วมทีมวิจัยจากอำเภอปราณบุรี อีก 5 คน
  • ประชุมทีมวิจัยเพื่อเตรียมงาน ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ซึ่งสรุปผลการประชุม ได้ดังนี้

        1. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมวิจัย โดย นายศักดา  วงษ์สนิท หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย  นายอาคมเด็ดรักษ์ทิพย์  เกษตรอำเภอปราณบุรี เป็นที่ปรึกษาการวิจัย ส่วนเจ้าหน้าที่ในทีมก็เป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูล  ซึ่งวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม เป็นผู้ให้ข้อมูลและร่วมดำเนินการ

นายศักดา  วงษ์สนิท  หัวหน้าทีมวิจัย

        2. กำหนดรูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการเก็บข้อมูลมีทั้งการเก็บข้อมูลมือสอง และการ Focus Group

        3. วิเคราะห์สถานการณ์และปัญหา เพื่อกำหนดหัวข้อการวิจัย โดยปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัย คือ " จะทำอย่างไรให้วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงที่มีประสิทธฺภาพ"  จึงกำหนดหัวข้อการวิจัย ว่า " การเพิ่มประสิทธฺภาพการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ปี 2552 กรณีศึกษา : วงิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์"

        4. กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้

            1) เพื่อศึกษาสภาพการปลูกผักของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงของวิสาหกิขชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

            3) เพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านคลองอ้อม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         5. กำหนดแผนการปฏิบัติงาน  ดังนี้

            1) จัดเวทีเรียนรู้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองอ้อม ครั้งที่ 1 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม วิเคราะห์สถานการณ์ของกลุ่มเพื่อหาปัญหาและความคาดหวังของกลุ่ม จากนั้นกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อนำแนวทางไปปฏิบัติ

            2) จัดเวทีเรียนรู้ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เพื่อสังเกตการณ์ดูความก้าวหน้าจากการนำแนวทางไปปฏิบัติ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่พบ

            3) ประชุมทีมวิจัยและผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ในวันที่ 29 มิถุนายน 2552 เพื่อสรุปข้อค้นพบจากการวิจัย และแนวทางพัฒนา 

            4) จัดพิมพ์ผลงานการวิจัยเผยแพร่ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 สิงหาคม 2552

            ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยได้ดำเนินการตามแผน และจะนำผลการจัดเวทีครั้งที่ 1 มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อไปค่ะ   

หมายเลขบันทึก: 269024เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

  • เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการส่งเสรืมและพัฒนา
  • ดีกว่าทำไปหน้า..ไม่เหลียวแลหลัง
  • ขอบคูณมากครับ

P

  • ทำการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกร
  • ตีโจทย์ให้แตก เก็บข้อมูล และหาแนวทางพัฒนา
  • นำไปส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรต่อไป
  • ขอบคุณค่ะ พี่เกษตรยะลา

เป็นกระบวนการที่น่าสนใจครับ แวะมาเยี่ยม

ผมกำลังทำวิจ้ยและพัฒนากิจกรรม กศน.ในพื้นที่ในหมู่บ้านนำร่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เหมือนกัน งานวิจัยของท่านน่าสนใจมาก กรุณาเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง อยากเห็นสิ่งที่เป็นนวัตกรรมในงานวิจัยด้านนี้ครับ ขอให้ท่านประสบความสำเร็จครับ

P

สวัสดีค่ะอาจารย์กู้เกียรติ  ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณอดิสอน
  • ตอนนี้ขั้นตอนการทำงานวิจัยชิ้นนี้ อยู่ในขั้นสุดท้ายคือสรุปและพิมพ์เป็นรูปเล่มค่ะ จะนำเสนอกระบวนการตามลำดับในครั้งต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท