บุคคลที่สมบูรณ์แบบ


/บุคคลที่สมบูรณ์แบบ จึงควรมีลักษณะและทักษะของผู้มีสติปัญญา (IQ = Intelligence Quatine) และมีความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์สูง (Emotional Quatine)ผศ.ดร.เพชรสุดา เพชรใส/ม.ราชภัฏเทพสตรี

          I.EQ  ย่อมาจาก  Intelligence  Emotional  Quatine  หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า  ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์  ปัจจุบันสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวิทยาการ  เศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อมมากมาย  สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความวุ่นวาย  สับสน  ปัญหา  และวิกฤตการณ์ต่างๆ การที่บุคคลจะอยู่ในสภาวะปัจจุบันได้อย่างมีความสุข  ทั้งสุขกาย และสุขใจ  แข็งแกร่งยืนหยัดในโลกนี้ได้  จำเป็นต้องมีทั้งสติปัญญา  ความสามารถในการบริหารจัดการกับอารมณ์ให้เหมาะสมด้วย  มิฉะนั้นจะอยู่ในภาวการณ์ที่เรียกได้ว่า  มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดแพ้ภัยต่ออารมณ์และความรู้สึกของตนเอง

          ดังนั้น บุคคลที่สมบูรณ์แบบ จึงควรมีลักษณะและทักษะของผู้มีสติปัญญา  (IQ = Intelligence  Quatine)  และมีความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์สูง  (Emotional  Quatine)  ดังนี้

          1.  มีทักษะในการใช้ความคิดความเข้าใจประกอบด้วย

                  1.1  คิดโดยภาพรวม  ลุ่มลึกและมีวิสัยทัศน์  กว้างไกล  ไม่หยุดความคิด  คิดอย่างมีเหตุผล  หมายความว่า  เป็นผู้มีความคิดมากมายเป็นอเนกนัย  โดยคิดอย่างมีหลักการมีความเป็นไปได้และไม่มัวแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

              1.2  รู้จักปรับปรุงยืดหยุ่น  - ไม่ว้าวุ่นเป็นคนตรงจนเกินไป  หมายความว่า  ทำงานโดยมีเป้าหมาย  ยึดนโยบายหลักของหน่วยงานไม่ยึดติดกับกฎระเบียบจนเกินไป  รู้จักคิด  ปรับ  - ประยุกต์  ยืดหยุ่น  คิดออกนอกกรอบได้  แต่อย่าออกนอกกรอบจนมากเกินไป  เกิดความแตกแยกไม่เป็นระเบียบ

              1.3  คิดและทำงานเชิงรุก - ไม่ขลุกหยุดอยู่กับที  หมายความว่าทำงานเชิงรุก  เผชิญความจริง  เท้าติดดินไม่ตั้งรับอยู่กับที่หรืออยู่บนหอคอยงาช้าง

              1.4  คิดป้องกันดีกว่าเกิดปัญหา - ไม่วัวหายล้อมคอก  หมายความว่า  การทำงาน  ทุกอย่างควรคิดหาวิธีป้องกัน  มิให้เกิดปัญหา  ดีกว่าปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วจึงหาวิธีการแก้ไข  ที่ปลายเหตุ  ดังสุภาษิตที่กล่าวว่า  กันไว้  ดีกว่าแก้  ถ้าแย่แล้วจะแก้ไม่ทัน

            2.  ทำงานให้ประสบผลสำเร็จเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

                  2.1  กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับ - ไม่อยู่กับกระบวนดั้งเดิม  หมายความว่า  การทำงานต้องรู้จักวิธีการปรับเปลี่ยน  การวางแผน  การจัดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  ไม่ยึดมั่นความคิดเดิม

              2.2  สร้างเครื่องมือไว้ให้ชัด - ไม่หัดนั่งดูเทียน  หมายความว่า  การบริหารราชการแนวใหม่เน้นมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  วัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม  จะต้องมีการสร้างเครื่องมือที่เป็นรูปแบบ  มีตัวชี้วัด มีการติดตามและประเมินผล

              2.3  ไม่เช้าชามเย็นชาม  กำหนดเวลาแล้วเสร็จไว้ให้มั่น  หมายความว่า  งานทุกงาน  ที่ทำจะต้องมีเวลาแล้วเสร็จไว้  เพื่อให้ผู้ดำเนินการเกิดความรู้สึกรับผิดชอบ  ที่จะต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเวลาไม่ใช่ทำงานเรื่อยๆ เฉื่อยๆ ไปวันๆ

              2.4  อุทิศเวลา  ไม่แสวงหาประโยชน์แก่ตน  หมายความว่า  ควรอุทิศเวลาอย่างเต็มที่ให้แก่งาน  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  มุ่งผลส่วนรวมไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์ของตน

          3.  มีการบริหารทรัพยากร  อย่างคุ้มค่า

                  3.1  คำนึกถึงการลงทุน  - ไม่คุ้มทุนไม่ทำ  หมายความว่า  อะไรที่ทำแล้วไม่คุ้มทุนก็เลิกทำ

              3.2  บริหารการใช้เงินแบบประหยัด  ไม่หัดเป็นหนี้เขา  หมายความว่า  บริการทรัพยากรอย่างประหยัด เช่น  การประชุมไม่ควรจัดในโรงแรมหรูๆ

              3.3  มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ส่วนรวม)  ไม่ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน  หมายความว่า ช่วยกันประหยัดทรัพย์สินของส่วนรวม/  ราชการให้ทำเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์สินของตนเอง  ต้องรู้จักดูแล  บำรุงรักษา  อย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น  ถนอมใช้ด้วยความระมัดระวัง  ไม่ตึงตังให้แตกหัก

          4.  มีทักษะในการสื่อสาร

              4.1  ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็น  ไม่ล้าหลังไดโนเสาร์  หมายความว่า  รู้จักนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ปฏิบัติหน้าที่  เพื่อความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

              4.2  รู้จักพูดให้ได้ผล  ไม่ทำตนเป็นเบื้อใบ้  หมายความว่า ต้องพูดว่าสร้างสัมพันธภาพสื่อสารทางบวก  พูดแต่สิ่งดีๆ

              4.3  อดทนต่อถ้อยคำ  ไม่จำคำมาต่อกร  หมายความว่ามีความอดทนต่อการตำหนิ  วิพากษ์  วิจารณ์  ไม่ต่อล้อต่อเถียง  ยอมรับฟังและนำไปพิจารณาปรับปรุง

              4.4  แถลงเรื่องลึกได้  ไม่ตอบง่ายโดยไม่ศึกษา  หมายความว่า  มีนิสัยชอบศึกษาหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอ

          5.  มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้

              5.1  ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ผิดคิดคอรัปชั่น  หมายความว่า  ทำงานด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  ไม่เรียกและรับสินบน

              5.2  พร้อมรับผิด  ตรวจสอบได้  หมายความว่า  ไม่ปัดและโยนความผิดให้ผู้อื่น  ทำงานอย่างโปร่งใส  ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

              5.3  สร้างศรัทธา  เงินตราไม่รับ  หมายความว่า  สร้างศรัทธาให้เกิดกับผู้อื่น

              5.4  ไม่เป็นอภิสิทธิ์ชน  เป็นคนของรัฐและประชาชน  หมายความว่าระลึกอยู่เสมอว่า  เราเป็นผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน

          6.  มีจริยธรรมที่ดีงาม

              6.1  มีศีลธรรม  - พฤติกรรมเป็นแบบอย่าง  หมายความว่า มีศีลธรรม  ประพฤติตนเหมาะสมตามกาลเทศะ  วาจาสุภาพ   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  และไม่ประพฤติเสื่อมเสีย

              6.2  คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  - อย่าฉลาดเอาแต่ได้  หมายความว่า  คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวฝ่ายเดียว

              6.3  ร่วมทำกิจกรรม - ขจัดจิตคิดเห็นแก่ตัว  หมายความว่าร่วมแรงร่วมใจกันทำงานโดยไม่เกี่ยงงาน

              6.4  ตระหนักถึงครอบครัว  - ไม่พึงมั่วด้านโลกีย์  หมายความว่า  ตระหนักถึงความสำคัญและศักดิ์ศรี  ของสถาบันครอบครัว  ไม่ทำให้ครอบครัวแตกร้าว

              6.5  ไม่ก่อกรรมทำมลภาวะ -พิทักษ์ รักษา  หมายความว่า  ดูแล พิทักษ์  รักษา  ทรัพยากร ดิน  น้ำ ป่าไม้ อากาศ ช่วยกันใช้น้ำมันรถไร้สารตะกั่ว  ปลูกต้อนไม้  ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ฯลฯ

          7.  มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน

              7.1  รู้จริง  รู้ลึก รู้กว้าง  รู้ดีชั่ว  ไม่รู้อย่างงูๆ ปลาๆ หมายความว่า  มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพของตนอย่างชนิด  รู้จริง  รู้กว้าง  รู้ไกล  ไม่รู้เพียงผิวเผิน

              7.2  ทำงานวางแผนได้  - ไม่ทำตามอำเภอใจ  หมายความว่า  ไม่ทำงานโดยไม่มีเป้าหมายและไม่มีแผนงาน

              7.3  อธิบายชี้แจงได้ -ไม่ผลักใสให้ผู้อื่นรับ  หมายความว่า  สามารถอธิบายชี้แจงงานที่ตนรับผิดชอบได้  ไม่หลบหน้าหรือผลักใสให้ผู้อื่น

              7.4  สร้างองค์ความรู้ใหม่ - ไม่ใส่ใจแต่ของเดิม  หมายความว่า ต้องหาวิธีการทำงานใหม่ๆ ทันสมัย  มีกระบวนการที่ชัดเจน  กระชับไม่เยิ่นยื้อ  และมีประสิทธิภาพ  ไม่ยึดติดกับวิธีการแบบเดิมๆ

            8.  มียุทธวิธีในการแก้ปัญหา

              8.1  ยิ้มรับสู้ปัญหา  - ไม่เบือนหน้าหนีหายใช้อารมณ์ขุ่นมัว  หมายความว่า มีปัญหาต้องยิ้มสู้เผชิญกับปัญหา  ไม่หนีปัญหา  รู้จักควบคุมอารมณ์

              8.2  แก้ปัญหาด้วยสติปัญญา -ไม่รอช้าหาคนช่วย หมายความว่า  มีสติ  สมาธิ ใจเย็น  รอบคอบ  สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ไม่รีรอให้คนอื่นมาช่วยแก้ไขปัญหา

              8.3  พบปัญหาก็เรียนรู้แก้ -ไม่ยอมแพ้วิ่งหาแพะ  หมายความว่า เพื่อพบปัญหาจะเรียนรู้วิธีการแก้ไข  ไม่มัวเสียเวลาตามหาตัวคนผิด

              8.4  เห็นปัญหาเป็นวิกฤตและโอกาส -ไม่ขลาดเป็นอุปสรรค  หมายความว่า  มองว่า ปัญหาคือ โอกาสที่เราจะได้แสดงความสามารถ  ไม่มองปัญหาเป็นอุปสรรค

          9.  มีทักษะในการทำงานเป็นทีม

              9.1  มีมนุษยสัมพันธ์  - ไม่แบ่งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า  หมายความว่า  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

              9.2  ร่วมคิดร่วมทำ  - ไม่ทำตนโดดเด่นเดี่ยว  หมายความว่า  ร่วมคิด  ร่วมทำงานกับผู้อื่น  ในลักษณะที่เป็นทีมงาน  ร่วมกันรับผิดชอบงานไม่เอาดีแต่ผู้เดียว

              9.3  รู้จักแบ่งบันความรู้  - ไม่ใช่ตัวรู้แต่ผู้เดียว  หมายความว่า ไม่ปกปิด  หวงความรู้ เผื่อแผ่ความรู้  ให้เพื่อร่วมงานไม่รู้คนเดียว  ไม่เก่งคนเดียว

              9.4  ให้อภัยเมื่อพลาดพลั้ง -ไม่โยนโทษให้แก่กัน หมายความว่า  การทำงานร่วมกันเมื่อมีการพลาดพลั้ง ก็ไม่ถือโทษให้อภัยซึ่งกันและกัน

          10.  รู้จักตนและผู้อื่น

              10.1  ยอมรับความเป็นจริง - ไม่อ้างอิงเพ้อฝัน หมายความว่า ยอมรับลักษณะพฤติกรรม  บุคลิกภาพ ความสามารถทั้งด้านดี และไม่ดี  และระบุอารมณ์ตนเองได้ดี  เข้าใจอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดความรู้  ดังนั้น  ได้แยกแยะระหว่างความรู้สึกและพฤติกรรมการกระทำได้

              10.2  รู้จักผู้อื่น -หยิบยื่นไมตรีให้  หมายความว่า มีความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของคน  ความต้องการของคน  มีมนุษยสัมพันธ์  ทำความเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น

              10.3  สามารถทำให้ผู้อื่นเป็นสุข  - สนุกรอบรู้  หมายความว่า  สร้างบรรยากาศ  อบอุ่นใจ  เวลาอยู่ร่วมกับผู้อื่น

              10.4  มองตนมีคุณค่า -รู้ค่าความเป็นคน  หมายความว่า  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  รักตนเอง  ไม่หมกมุ่นกับความทุกข์  ไม่วิตกกังวลหรือกลัวสิ่งต่างๆ โดยไม่มีเหตุผล

              10.5  รู้สึกดีต่อตนเอง -ไม่หวั่นเกรง  วิตก  หมายความว่า  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  รักตนเอง  ไม่มกมุ่นกับความทุกข์  ไม่วิตกกังวล  หรือกลัวสิ่งต่างๆ โดยไม่มีเหตุผล

          11.  บริหารจัดการความเครียดได้

              11.1  รู้จักควบคุมอารมณ์ -ไม่ทับถมซ้ำเติม  หมายความว่า  รู้จักอารมณ์ของตนเอง  อดทน อดกลั้นในการแสดงอารมณ์ที่ไม่ดี  ไม่เหมาะสม  เช่น อารมณ์โกรธ

หมายเลขบันทึก: 268857เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี ท่านพระครูฯ

ถ้าบริหารจัดการความเครียดได้

ก็สามารถทำให้ผู้อื่นมีความสุขด้วย

กราบมนัสการ

ได้แนวคิดและความรู้มากมายที่ดี

เป็นเนื้อนาบุญ ส่วนหนึ่งของชาวพุทธครับ

พระครูนิวิฐธุราทร

เรียน พระมงคล ถีราวุฒิ

เจริญพร คุณไพทูล

  • ขอบคุณ...ที่เข้ามาเยี่ยมชมและทักทาย
  • ขอบใจ...ที่ให้คำแนะนำและร่วมแสดงความคิดเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท